สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อ "ดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต" เชิดชูเกียรติ อ.สิงห์โต ปุกหุต

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลตั้งชื่อ "ดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต" เชิดชูเกียรติ อ.สิงห์โต ปุกหุต

14 ก.พ. 2560
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet Center) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หรือไอเอยู เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลดาวเคราะห์น้อยรวมถึงวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะทั้งหมด ได้ประกาศในจดหมายข่าวดาวเคราะห์น้อยฉบับวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2017 ว่าได้ให้ชื่อสามัญแก่ดาวเคราะห์น้อยหมายเลข 6125 ว่า ดาวเคราะห์น้อย 6125 สิงห์โต (6125 Singto) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต เพื่อเป็นเกียรติแก่ นายสิงห์โต ปุกหุต ตามการเสนอโดยสมาคมดาราศาสตร์ไทย

นายสิงห์โต ปุกหุต เป็นนักดาราศาสตร์ไทยรุ่นบุกเบิก นักเขียน เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ อดีตนายกสมาคมดาราศาสตร์ไทยสองสมัย มีผลงานเขียนด้านดาราศาสตร์มากมาย เช่น พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทยประวัติดาราศาสตร์ ปรากฎการณ์ธรรมชาติ หนึ่งในนั้นคือหนังสือเรื่อง นิยายดาว เป็นหนังสือที่ติดรายชื่อ “หนังสือดี 100 เรื่องที่เด็กและเยาวชนไทยควรอ่าน” โดย สำนักกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกโดย เซะอิจิ อุเอะดะ และ ฮิโระชิ คะเนะดะ สองนักดาราศาสตร์ชาวญี่ปุ่นเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2532 เมื่อแรกค้นพบได้ชื่อชั่วคราวว่า 1989 ซีเอ็น (1989 CN) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.96 กิโลเมตร อันดับความสว่างสัมบูรณ์ 13.8 เป็นดาวเคราะห์น้อยแถบหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อยที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โคจรรอบดวงอาทิตย์ครบรอบทุก 1210 วัน (3.31 ปี) 

ดาวน์โหลดจดหมายข่าวจากศูนย์ดาวเคราะห์น้อย หมายเลข 103029




นายสิงห์โต ปุกหุต

นายสิงห์โต ปุกหุต

ภาพถ่ายดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต <wbr>(ขีดสั้นกลางภาพ) <wbr>ถ่ายโดยกล้อง <wbr>48 <wbr>นิ้วที่หอดูดาวพาโลมาร์ของโครงการดิจิทัลสกายเซอร์เวย์ <wbr>เมื่อวันที่ <wbr>1 <wbr>ธันวาคม <wbr>2494 <wbr>ดาวเคราะห์น้อยปรากฏเป็นขีดเนื่องจากเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน <wbr><br />
<br />

ภาพถ่ายดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต (ขีดสั้นกลางภาพ) ถ่ายโดยกล้อง 48 นิ้วที่หอดูดาวพาโลมาร์ของโครงการดิจิทัลสกายเซอร์เวย์ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2494 ดาวเคราะห์น้อยปรากฏเป็นขีดเนื่องจากเปิดหน้ากล้องเป็นเวลานาน 

วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต (วงสีขาว) เทียบกับดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ

วงโคจรของดาวเคราะห์น้อยสิงห์โต (วงสีขาว) เทียบกับดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ (จาก NameExoworlds)

ที่มา: