สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เผยโฉมเคอร์เบรอส

เผยโฉมเคอร์เบรอส

23 ต.ค. 2558
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วันนี้ นาซาได้เผยภาพล่าสุดของดวงจันทร์เคอร์เบรอสของดาวพลูโตจากยานนิวเฮอไรซอนส์ที่เพิ่งส่งกลับมาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นภาพดวงจันทร์ดวงสุดท้ายที่ส่งมาจากยาน เป็นอันว่าขณะนี้มีภาพถ่ายครอบครัวของดาวพลูโตครบทุกดวงแล้ว

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบในภาพที่ส่งมาในครั้งนี้คือ ดวงจันทร์เคอร์เบรอสมีความสว่างพื้นผิวมากกว่าที่เคยคาดไว้ นั่นหมายความว่าขนาดจริงของดวงจันทร์ย่อมเล็กกว่าที่คาดไว้ด้วย 

ภาพถ่ายของเคอร์เบรอสแสดงชัดว่าดวงจันทร์ดวงนี้มีรูปร่างเป็นสองตุ้มติดกันคล้ายนาฬิกาทราย ตุ้มหนึ่งใหญ่กว่ามีขนาด กิโลเมตร อีกตุ้มหนึ่งมีขนาด กิโลเมตร นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่ารูปร่างอันพิสดารของเคอร์เบรอสนี้น่าจะเกิดจากวัตถุสองดวงมาชนกันแล้วเกาะติดกัน คาดว่าวัตถุไคเปอร์จำนวนไม่น้อยก็น่าจะมีรูปร่างแบบนี้เหมือนกัน อัตราสะท้อนของเคอร์เบรอสใกล้เคียงกับดวงจันทร์เล็กดวงอื่นของพลูโต นั่นคือประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ซึ่งจัดว่าขาวมาก คาดว่าเป็นเพราะมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่

ก่อนที่ยานนิวเฮอไรซอนส์จะไปถึงพลูโต นักวิจัยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลสำรวจหามวลของเคอร์เบรอสโดยการวัดว่าดวงจันทร์นี้มีอิทธิพลอย่างไรต่อดวงจันทร์ข้างเคียง ผลพบว่าเคอร์เบรอสมีอิทธิพลสูงอย่างเหลือเชื่อทั้งที่มีแสงริบหรี่มาก ซึ่งพอจะสันนิษฐานได้ว่าเคอร์เบรอสมีขนาดใหญ่ มวลมาก และพื้นผิวปกคลุมด้วยวัสดุคล้ำ แต่สิ่งที่นิวเฮอไรซอนส์พบบอกว่าสิ่งที่เขาเชื่อนั้นผิด เคอร์เบรอสมีผิวขาว ดวงเล็ก 

"การสันนิษฐานของเราค่อนข้างจะแม่นยำสำหรับดวงจันทร์เล็กดวงอื่น แต่สำหรับเคอร์เบรอสกลับไม่ใช่" มาร์ก โชวอลเตอร์ จากสถาบันเซตีในเมานเทนวิว แคลิฟอร์เนีย ผู้ช่วยผู้สอบสวนของภารกิจนิวเฮอไรซอนส์กล่าว เชื่อว่าข้อมูลใหม่นี้จะนำไปสู่ความเข้าใจระบบบริวารของดาวพลูโตได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น
ภาพถ่ายดวงจันทร์เคอร์เบรอส <wbr>ถ่ายด้วยกล้องลอร์รี <wbr>(LORRI--Long <wbr>Range <wbr>Reconnaissance <wbr>Imager) <wbr>ของยานนิวเฮอร์ไรซอนส์เมื่อวันที่ <wbr>14 <wbr>กรกฎาคม <wbr>ก่อนที่ยานจะเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุดราว <wbr>1 <wbr>ชั่วโมง <wbr>ขณะที่ถ่ายยานอยู่ห่างจากเคอร์เบรอส <wbr>396,100 <wbr>กิโลเมตร <wbr><br />

ภาพถ่ายดวงจันทร์เคอร์เบรอส ถ่ายด้วยกล้องลอร์รี (LORRI--Long Range Reconnaissance Imager) ของยานนิวเฮอร์ไรซอนส์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ก่อนที่ยานจะเข้าใกล้ดาวพลูโตที่สุดราว ชั่วโมง ขณะที่ถ่ายยานอยู่ห่างจากเคอร์เบรอส 396,100 กิโลเมตร 
(จาก NASA/JHUAPL/SwRI)

ภาพถ่ายรวมบริวารของดาวพลูโต <wbr>แสดงด้วยสัดส่วนจริง <wbr>คารอนเป็นบริวารดวงเดียวที่มีสัณฐานกลม <wbr>มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง <wbr>1,212 <wbr>กิโลเมตร <wbr>ที่เหลืออีกสี่ดวงมีสัญฐานรีหรือทรงนาฬิกาทราย <wbr>นิกซ์และไฮดรามีขนาดใกล้เคียงกัน <wbr>มีขนาดด้านยาว <wbr>40 <wbr>กิโลเมตร <wbr>เคอร์เบรอสมีขนาดเล็กที่สุด <wbr>มีขนาดด้านยาว <wbr>10-12 <wbr>กิโลเมตร <wbr>ทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องลอร์รีของยานนิวเฮอไรซอนส์ <wbr><br />

ภาพถ่ายรวมบริวารของดาวพลูโต แสดงด้วยสัดส่วนจริง คารอนเป็นบริวารดวงเดียวที่มีสัณฐานกลม มีขนาดใหญ่ที่สุดด้วยเส้นผ่านศูนย์กลาง 1,212 กิโลเมตร ที่เหลืออีกสี่ดวงมีสัญฐานรีหรือทรงนาฬิกาทราย นิกซ์และไฮดรามีขนาดใกล้เคียงกัน มีขนาดด้านยาว 40 กิโลเมตร เคอร์เบรอสมีขนาดเล็กที่สุด มีขนาดด้านยาว 10-12 กิโลเมตร ทั้งหมดถ่ายด้วยกล้องลอร์รีของยานนิวเฮอไรซอนส์ 
(จาก NASA/JHUAPL/SwRI)

ที่มา: