สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เรดาร์เผยโฉมดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145

เรดาร์เผยโฉมดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145

5 พ.ย. 2558
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ พฤศจิกายนที่ผ่านมา นาซาได้เผยภาพของดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145 ที่ถ่ายด้วยเรดาร์เป็นครั้งแรก ภาพนี้ได้จากการใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุบนพื้นโลกยิงสัญญาณใส่ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ในช่วงที่เข้าใกล้โลกที่สุดเมื่อวันที่ 31ตุลาคม ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลก 480,000 กิโลเมตร

ดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145 มีคาบการหมุนรอบตัวเองสามชั่วโมง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 600 เมตร ภาพจากเรดาร์เผยพื้นผิวที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ในภาพนี้แสดงว่ามีสัญฐานค่อนข้างกลม มีแอ่งบุ๋มที่เห็นได้ชัดหลายแห่ง มีจุดสว่างซึ่งอาจเป็นก้อนหินขนาดใหญ่ และยังมีสิ่งที่คล้ายสันเขาอีกด้วย ภาพนี้ต่างจากภาพที่ได้จากเรดาร์ของอาริซิโบที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ซึ่งอาจเป็นเพราะทั้งสองครั้งเก็บภาพในด้านที่ต่างกันที่เป็นผลมาจากการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์น้อย
 
การถ่ายภาพดาวเคราะห์น้อยด้วยเรดาร์ในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้จานสายอากาศดีเอสเอส-14 ขนาด 70 เมตรในโกลด์สโตน มลรัฐแคลิฟอร์เนียในการส่งคลื่นไมโครเวฟกำลังสูงไปยังดาวเคราะห์น้อย แล้วใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุกรีนแบงก์ขนาด 100 เมตรของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติในเวสต์เวอร์จิเนียรับสัญญาณที่สะท้อนกลับมา

ด้วยการทำงานร่วมกันของกล้องทั้งสอง ทำให้เราได้ภาพที่ให้รายละเอียดได้ถึง เมตรต่อพิกเซล นับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ซึ่งนักดาราศาสตร์จะใช้วิธีเดียวกันกับดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นที่จะผ่านเข้ามาใกล้โลกในอนาคต

ดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145 จะเข้ามาใกล้โลกครั้งถัดไปในเดือนกันยายน 2561 แต่ในครั้งนั้นจะมีระยะห่างมากถึง 38 ล้านกิโลเมตร 

เรดาร์เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากในการศึกษาขนาด รูปร่าง การหมุนรอบตัวเอง และลักษณะพื้นผิว ของดาวเคราะห์น้อย  รวมถึงการวัดการโคจรที่แม่นยำ ซึ่งการสำรวจด้วยวิธีอื่นทำไม่ได้หรือทำได้ไม่ดีเท่า

ดาวเคราะห์น้อย <wbr>2015 <wbr>ทีบี <wbr>145 <wbr>(2015 <wbr>TB145) <wbr>ถ่ายด้วยการใช้เรดาร์เมื่อวันที่ <wbr>31 <wbr>ตุลาคม <wbr>2558 <wbr>ระหว่างเวลา <wbr> <wbr>19:55 <wbr>- <wbr>20:08 <wbr>น. <wbr>ตามเวลาประเทศไทย.<br />

ดาวเคราะห์น้อย 2015 ทีบี 145 (2015 TB145) ถ่ายด้วยการใช้เรดาร์เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2558 ระหว่างเวลา  19:55 20:08 น. ตามเวลาประเทศไทย.
(จาก NASA/JPL-Caltech/GSSR/NRAO/AUI/NSF)

ที่มา: