สมาคมดาราศาสตร์ไทย

คอรอต ดาวเทียมจิ๋วแต่แจ๋ว

คอรอต ดาวเทียมจิ๋วแต่แจ๋ว

30 ก.ค. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ใคร ๆ ก็มักบอกว่า ยิ่งใหญ่ยิ่งดี นักวิทยาศาสตร์ก็ชอบดาวเทียมดวงใหญ่ เพราะยิ่งใหญ่ก็มักมีความสามารถมาก แต่ดาวเทียมดวงจิ๋วชื่อ คอรอต (COROT) ของยุโรปกำลังจะพิสูจน์ว่าดาวเทียมเล็กก็อาจเก่งไม่แพ้ดาวเทียมใหญ่ได้ 

คอรอตเป็นดาวเทียมประเภทกล้องโทรทรรศน์อวกาศ มีความไวอย่างสุดยอด มีความสามารถในการตรวจจับความสว่างที่ผันแปรของดาวได้แม้เพียงน้อยนิด การแปรแสงของดาวเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์สนใจมาก เพราะอาจเกิดจากปรากฏการณ์พิเศษบางอย่าง เช่นเกิดจากดาวเคราะห์ผ่านหน้า เกิดจากจุดมืดขนาดใหญ่ผ่านหน้า หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของดาวเอง และภารกิจของคอรอตเองก็เป็นที่มาของชื่อนั่นเอง (COROT--COvection, ROtation, and planetary Transits) 

กล้องของคอรอตมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 27 เซนติเมตร มีมุมรับภาพ องศา คอรอตมีกล้องซีซีดีมุมกว้าง ตัว แต่ละตัวมีความละเอียด 2,048x2,048 พิกเซล สามารถสำรวจดาวได้มากกว่า 10,000 ดวงที่จางถึงอันดับ 15.5 และสามารถรับรู้ความสว่างที่เปลี่ยนไปเพียงหนึ่งในล้านได้ คอรอตจะสำรวจดาวครั้งละ 32 วินาที และสำรวจซ้ำทุก ชั่วโมง แต่ละครั้งจะสำรวจดาวได้หลายร้อยดวง คอรอตจะตรวจการผ่านหน้าของดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ทุกดวง แต่สำหรับดาวที่สว่างกว่าดวงอื่น ๆ จะสำรวจมากกว่าโดยเน้นไปที่การตรวจวัดการไหวสะเทือนของดาว 

คอรอตจะขึ้นสู่อวกาศในปลายปีนี้ และมีกำหนดอายุภารกิจ 2.5 ปี แต่อาจจะนานกว่านั้นมากก็ได้ 

ที่มา: