สมาคมดาราศาสตร์ไทย

กำเนิดดาวยักษ์

กำเนิดดาวยักษ์

7 ก.ค. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ยุโรปได้พบหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนว่า ดาวฤกษ์มวลสูงเกิดขึ้นจากการสะสมดาวทีละน้อย ไม่ใช่เกิดจากการชนและหลอมรวมกันของดาวฤกษ์ดวงเล็ก 

ดาวฤกษ์มวลสูงมีอายุสั้น ทำให้การศึกษากำเนิดของดาวฤกษ์จำพวกนี้ทำได้ยากเนื่องจากหาดาวฤกษ์มวลสูงที่ยังอยู่ช่วงต้นไม่ค่อยพบ โดยเฉพาะช่วงที่ยังเป็นดาวก่อนเกิด (protostar) ซึ่งดาวยังถูกห้อมล้อมด้วยม่านก๊าซและฝุ่นในช่วงที่ใกล้จะเป็นดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์ 

อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ได้พบบริเวณกำเนิดดาวแหล่งหนึ่งซึ่งเผยให้เห็นสภาพของดาวทารกที่เคยถูกซ่อนเร้นภายใต้ม่านฝุ่นมาก่อน แหล่งกำเนิดดาวนี้อยู่ห่างจากโลก 22,000 ปีแสงในแขนกระดูกงูเรือ (Carina arm) ของดาราจักรทางช้างเผือก เป็นส่วนหนึ่งของ NGC 3603 มีชื่อเรียกว่า ไออาร์เอส (IRS 9) ซึ่งฝังอยู่ในเมฆโมเลกุลเอ็มเอ็ม 

เป็นความบังเอิญที่เมฆโมเลกุลนี้อยู่ใกล้กับกระจุกดาวที่ประกอบด้วยดาวฤกษ์ร้อนแรงจำนวนหนึ่ง ซึ่งลมดาวจากดาวฤกษ์ในกระจุกดาวนี้ได้พัดให้เมฆที่ล้อมรอบดาวทารกในไออาร์เอส ปลิวออกไป 

นูร์นแบร์แกร์ หัวหน้าคณะสำรวจจากอีเอสโอได้สำรวจดาวในบริเวณนี้ในย่านความยาวคลื่นหลายย่าน ภาพอินฟราเรดใกล้จากกล้องอันตูขนาด 8.2 เมตรของกลุ่มกล้องวีแอลทีพิสูจน์ว่าดาวเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของ NGC 3603 ไม่ใช่ดาวที่อยู่ฉากด้านหน้า กล้องเอสทีของสวีเดน-อีเอสโอสำรวจในย่านมิลลิเมตร ช่วยในการหาการกระจายของบริเวณที่ก๊าซหนาแน่น และพบว่ารังสีเข้มข้นและลมดาวจากกระจุกดาวนี้ทำให้เกิดโพรงในก้อนเมฆไออาร์เอส ส่วนภาพอินฟราเรดกลางแสดงการกระจายของฝุ่นที่มีความร้อนปานกลางในบริเวณนี้ซึ่งยืนยันว่ากระบวนการกำเนิดดาวยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

นอกจากนี้ นูร์นแบร์แกร์ยังได้ศึกษารายละเอียดดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดสามดวงในไออาร์เอส ดาวทั้งสามนี้มีชื่อว่า ไออาร์เอส เอ, ไออาร์เอส บี และ ไออาร์เอส ซี แต่ละดวงมีอายุต่ำกว่า 100,000 ปีหรืออาจจะน้อยกว่า ไออาร์เอส เอ เป็นดวงที่สว่างที่สุด มีความส่องสว่างสัมบูรณ์ถึง 100,000 เท่าของดวงอาทิตย์ ส่วนอีกสองดวงก็มากกว่าดวงอาทิตย์ 1,000 เท่า ถึงแม้ว่าดาวทั้งสามจะมีอุณหภูมิสูงมาก (ราว 20,000 ถึง 22,000 องศาเซลเซียส) แต่ฝุ่นที่รายล้อมดาวทั้งสามนี้ก็มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำราว -20 ถึง องศาเซลเซียส 

การสำรวจนี้ยังยืนยันว่าดาวฤกษ์ที่มีมวลกว่า 10 มวลสุริยะเหล่านี้ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ มีการสะสมมวลเท่ากับโลก ดวงทุกปี หรือราว มวลสุริยะในรอบ 1,000 ปี ไม่พบดาวฤกษ์มวลปานกลางหรือมวลน้อยในบริเวณนี้เลย สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่แสดงว่า ดาวฤกษ์หนักอาจไม่ได้เกิดจากการชนและหลอมรวมกันของดาวดวงเล็กหลาย ๆ ดวงอย่างที่นักดาราศาสตร์หลายคนเคยสันนิษฐานไว้ เพราะอย่างน้อยดาวฤกษ์ในไออาร์เอส ก็มีการกำเนิดด้วยการสะสมพอกพูนมวลเช่นเดียวกับดาวฤกษ์มวลต่ำ 

ไออาร์เอส 9 เป็นกระจุกดาวฤกษ์ใน NGC 3603 ประกอบด้วยดาวฤกษ์มวลสูงล้วน ดาวในกระจุกนี้เป็นดาวแบบโอกับบี (OB star) ถ่ายโดยกล้องอันตูของกลุ่มกล้องวีแอลทีขององค์การอวกาศอยุโรป

ไออาร์เอส 9 เป็นกระจุกดาวฤกษ์ใน NGC 3603 ประกอบด้วยดาวฤกษ์มวลสูงล้วน ดาวในกระจุกนี้เป็นดาวแบบโอกับบี (OB star) ถ่ายโดยกล้องอันตูของกลุ่มกล้องวีแอลทีขององค์การอวกาศอยุโรป

ดาวก่อนเกิดมวลสูงเหล่านี้ปรกติจะมองไม่เห็นเนื่องจากถูกคลุมด้วยม่านฝุ่นอันหนาทึบ แต่ภาพนี้สามารถมองเห็นได้เนื่องจากลมดาวจากกระจุกดาวข้างเคียงได้พัดพาเอาฝุ่นออกไป ถ่ายโดยกล้องเยปันของวีแอลที

ดาวก่อนเกิดมวลสูงเหล่านี้ปรกติจะมองไม่เห็นเนื่องจากถูกคลุมด้วยม่านฝุ่นอันหนาทึบ แต่ภาพนี้สามารถมองเห็นได้เนื่องจากลมดาวจากกระจุกดาวข้างเคียงได้พัดพาเอาฝุ่นออกไป ถ่ายโดยกล้องเยปันของวีแอลที

ที่มา: