สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เผยโฉมซีรีส

เผยโฉมซีรีส

17 ต.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อครั้งที่ จูเซปเป ปิแอซซี ค้นพบซีรีสเมื่อวันที่ มกราคม 1801 เขาคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ที่ตามทฤษฎีคาดไว้ว่าอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี แม้ว่าต่อมาจะทราบว่าเป็นเพียงดาวเคราะห์น้อย แต่ซีรีสก็เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดในแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก อย่างไรก็ตาม แม้เวลาจะผ่านมานานถึงสองศตวรรษแล้ว แต่นักดาราศาสตร์ก็ยังทราบเรื่องเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยดวงนี้น้อยมาก ภาพถ่ายซีรีสที่ดีที่สุดที่ถ่ายจากกล้องบนพื้นโลกทำได้เพียงแสดงภาพของวัตถุดวงกลมดวงหนึ่ง ไม่สามารถแสดงรายละเอียดได้มากไปกว่านี้

เมื่อปี 2538 คณะนักดาราศาสตร์นำโดย โจเอล ดับเบิลยู พาร์กเกอร์ จากสถาบันเซาท์เวสต์ ได้ถ่ายภาพซีรีสในด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต ซึ่งเป็นย่านความถี่กล้องฮับเบิลสามารถแยกความละเอียดได้สูงสุด เมื่อผนวกกับเทคนิคอะแดปทีฟออปติก ทำให้ฮับเบิลสามารถแยกแยะวัตถุที่มีขนาดเพียง 50 กิโลเมตรบนผิวซีรีสได้ ภาพที่ถ่ายได้ปรากฏแต้มสีคล้ำแต้มหนึ่งมีขนาดกว้างประมาณ 250 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ว่าเป็นหลุมอุกกาบาต หรือเป็นเพียงพื้นที่สีคล้ำ หรืออย่างอื่น ขณะนี้แต้มสีคล้ำนี้ได้ตั้งรับการตั้งชื่อแล้วว่า ปิแอซซี ตามชื่อของผู้ค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้

ตามรายงานการสำรวจในครั้งนี้ซึ่งจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Astronomical Journal ฉบับมกราคม 2002 กล่าวว่า การสำรวจในครั้งนี้ไม่เพียงแต่สามารถถ่ายภาพรายละเอียดบนพื้นผิวแล้ว ยังสามารถวัดขนาดของซีรีสได้แม่นยำยิ่งขึ้นว่า มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 950 กิโลเมตร ผิดพลาดไม่เกิน กิโลเมตร นอกจากนี้ยังสามารถยืนยันความหนาแน่นเฉลี่ยของซีรีสที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ว่ามีความหนาแน่น 2.6 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งสอดคล้องกับสเปกตรัมของดาวที่แสดงว่ามีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนและหินเป็นหลัก

ซีรีส ดาวเคราะน้อยดวงแรกที่รู้จักและเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุด ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต แสดงแต้มกลมสีคล้ำขนาด 250 กิโลเมตร มีชื่อว่า ปิแอซซี

ซีรีส ดาวเคราะน้อยดวงแรกที่รู้จักและเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุด ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในย่านความถี่อัลตราไวโอเลต แสดงแต้มกลมสีคล้ำขนาด 250 กิโลเมตร มีชื่อว่า ปิแอซซี

ที่มา: