สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ดาราศาสตร์สำหรับสื่อมวลชน

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติและสมาคมดาราศาสตร์ไทย
จัดโดย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร่วมกับ สมาคมดาราศาสตร์ไทย
ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด - โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี
วันเสาร์ที่ 15 - วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550

1. ผู้รับผิดชอบโครงการ / วันสัมมนา / สถานที่

  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สมาคมดาราศาสตร์ไทย
  • วันเสาร์ที่ 15 - วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2550
  • ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด - โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี

2. ความสำคัญและที่มาของโครงการ

ในปัจจุบันข่าวสารทางด้านวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนนั่นคือ ข่าวปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์ซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชน เพื่อเฝ้าติดตามสังเกตปรากฏการณ์ดังกล่าว อาทิ สุริยุปราคา เต็มดวงในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2538 ฝนดาวตกสิงโต วันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ดาวอังคาร ใกล้โลก ฯลฯ สื่อมวลชนทุกแขนง โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศทุกสำนักร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนเป็นอย่างมาก ทำให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ (Scientific literacy) ขณะเดียวกันสื่อมวลชนเองมีความพยายามค้นคว้าแสวงหาความรู้จากองค์กรทางด้าน ดาราศาสตร์ อาทิ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สมาคมดาราศาสตร์ไทย และผู้เชี่ยวชาญทางด้านดาราศาสตร์เพื่อจัดทำข่าว บทความ รายการทางวิทยาศาสตร์และรายการอื่นๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญกระตุ้นให้ประชาชนมีวิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ไม่งมงายในความเชื่อที่ผิดๆ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และสมาคมดาราศาสตร์ไทย เพื่อการเผยแพร่ความรู้ทางดาราศาสตร์ให้กว้างขวางและนำไปสู่การพัฒนาดาราศาสตร์ของไทยให้ก้าวหน้าส่งผลต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไป ดังนั้นการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพนั่นคือ การจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "ดาราศาสตร์สำหรับสื่อมวลชน"

3. วัตถุประสงค์ของโครงการ

  • เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่ข่าวทางดาราศาสตร์อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และสื่อสารกับประชาชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
  • เพื่อหาแนวทางความร่วมมือระหว่างสถาบันทางดาราศาสตร์กับสื่อมวลชนในการผลิตนักข่าวสายดาราศาสตร์เป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ (Science Communication) อย่างดีเยี่ยม
  • เพื่อเกิดการกระตุ้นให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนสามารถค้นคว้าหาความรู้และรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

4. ผู้เข้าร่วมสัมมนา

  • สื่อมวลชนทุกแขนง ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ จากทุกสำนักที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำข่าว รายการ และบทความ จำนวน 40 คน (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)
  • คณะวิทยากร คณะวิทยากรภาคสนาม และคณะทำงานจำนวน 15 คน

5. ลักษณะการสัมมนา

  • การให้ความรู้พื้นฐานด้านดาราศาสตร์ที่ต้องใช้กับการจัดทำข่าวและบทความ
  • นำข่าวดาราศาสตร์จากสำนักข่าวต่างประเทศ และในประเทศมาศึกษาเพื่อวิเคราะห์ในด้านความรู้ทางดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนและถูกต้องซึ่งมีผลต่อการเขียนข่าว บทความอย่างเข้าใจง่ายและเผยแพร่สู่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สื่อมวลชนได้สังเกตการณ์ท้องฟ้าจริงในภาคสนามตอนกลางคืน และอภิปรายซักถาม

6. วิธีการประเมินผลโครงการ

  • สรุปผลการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการจากแบบสอบถามของผู้ร่วมสัมมนาในประเด็น ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
  • นำสรุปผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง แก้ไข และแนวทางในการพัฒนาบทบาทของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติและสมาคมดาราศาสตร์ไทย

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ

  • สื่อมวลชนที่เข้าร่วมสัมมนาได้รับประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความรู้ ความเข้าใจทางดาราศาสตร์
  • หนังสือพจนานุกรมศัพท์ดาราศาสตร์อังกฤษ - ไทยฯ รอบรู้ดูดาว คู่มือชมฟ้าสำหรับ คนไทย แผนที่ฟ้าและสื่อดาราศาสตร์เป็นประโยชน์ต่อสื่อมวลชน
  • สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และสมาคมดาราศาสตร์ไทยได้นำข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากสื่อมวลชน เพื่อพัฒนาแนวทางบทบาทขององค์กรในประเด็นการเผยแพร่ความรู้แก่สื่อมวลชนและประชาชน

8. งบประมาณจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

9. ระยะเวลาดำเนินโครงการ และสถานที่สัมมนา

  • ระยะเวลาดำเนินการวันเสาร์ที่ 15 - วันวันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน 2550
  • สถานที่ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและท่องเที่ยวเชิงนิเวศเจ็ดคด - โป่งก้อนเส้า จังหวัดสระบุรี รหัสไปรษณีย์ 18110 โทรศัพท์ 089 - 237 - 8659 โทรสาร 036 - 346 - 202