สมาคมดาราศาสตร์ไทย

กิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร “330 ปีดาราศาสตร์ไทย 150 ปีสรรพคราสหว้ากอ 30 ปีเจ้าฟ้านักดาราศาสตร์”

ณ อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชื่อหว้ากอนี้ เป็นชื่อหมู่บ้าน ในตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ น้อยคนที่จะรู้จักหมู่บ้านนี้ โดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นหลังและปัจจุบัน หว้ากอ เป็นดินแดนที่เป็นอนุสรณ์สถานที่ได้จารึกพระนามพระมหากษัตริย์ไทย “คิงมงกุฎ” ไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ให้โด่งดังปรากฏไปทั่วโลก และนำพระเกียรติยศเกียรติประวัติมาสู่ประเทศไทย นำความภาคภูมิใจมาสู่ประชาชนชาวไทยตราบทุกวันนี้ โดยเป็นสถานที่ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดช เพื่อทรงพิสูจน์การคำนวณสถานที่และเวลาการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงได้อย่างถูกต้องชัดเจน ซึ่งพระองค์ทรงคำนวณล่วงหน้าไว้ถึง ปี จะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในวันอังคาร เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๓๐ ตรงกับวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๑๑ สุริยุปราคาเต็มดวงผ่านมา ณ บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อถึงวันและเวลาดังกล่าวแล้วก็เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงตามที่พระองค์ทรงคำนวณไว้ถูกต้อง โดยไม่คลาดเคลื่อน เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระองค์และวันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันนั้น เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทานนามสถานที่แห่งนี้ว่า “อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ” จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิก และประชาชนผู้สนใจ ไปทัศนะศึกษา นอนดูดาว สถานที่เป็นประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ไทยเมื่อ ๑๕๐ ปีมาแล้ว ครั้งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงคำนวณไว้ล่วงหน้าก่อน ปีจะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ที่หมู่บ้านหว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันเป็น อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ เป็นสถานศึกษาการเรียนรู้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และจะพาท่านไปชมพระราชวังพระนครคีรี ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดเกล้าให้สร้างเป็นพระราชวังฤดูร้อน สำหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาสมน หรือเขาคีรี ต่อมาทรงพระราชทานนามว่า “พระนครคีรี” เขาวัง หรืออุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของเมืองจังหวัดเพชรบุรี ชมหอชัชวาลเวียงชัย เดิมใช้เป็นกระโจมไฟข้างบนเป็นทรงโดมมีบันใดขึ้นไป ข้างล่างซึ่งมีประตูโค้ง ๔ ด้านตรงตำแหน่งของทิศทั้ง ๔ ทิศ เหนือ, ออก, ตก และใต้ พอดี และยังมีหมู่พระที่นั่ง หมู่หอต่างๆ ให้ชมกัน ตกกลางคืนมาสำรวจท้องฟ้าจริงสังเกตดาวเคราะห์ที่ปรากฏให้เห็น

อุทยานประวัติศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วันเสาร์ที่ 24 – อาทิตย์ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

กำหนดการเดินทาง

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม 2561 (ขึ้น ค่ำ เดือน 5)
06:30 น. – พร้อมกันมาลงทะเบียนที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (ขอให้ท่านทานอาหารเช้ามาก่อนให้เรียบร้อย)
07:00 น. – ออกเดินทางด้วยรถตู้จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย
09:30 น. – เดินทางถึงอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง)
11:00 น. – รับประทานอาหารกลางวัน ใกล้อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
13:00 น. – ถึงโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ
16:00 น. – รับประทานอาหารเย็น ร้านอาหารใกล้ๆ กัลปังหา รีสอร์ท
17:30 น. – เข้าที่พัก และพักผ่อนตามอัธยาศัย กัลปังหารีสอร์ท จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
18:00 น. – การบรรยายการดูดาวเบื้องต้น, การใช้แผนที่ดาว, การใช้กล้องโทรทรรศน์
19:00 น. – เตรียมตัวสำรวจท้องฟ้าจริง สังเกตกลุ่มดาวโดยใช้แผนที่ดาวดูด้วยตาเปล่าเป็นการเริ่มต้นการดูดาว ดาวศุกร์ พุธ ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ค้างคาวตก จระเข้ขึ้น เพอร์ซีอุส กระจุกดาวคู่ สารถี กลุ่มดาวจักรราศี แกะ วัว กระจุกดาวลูกไก่ คนคู่ ปู กระจุกดาวรวงผึ้ง สิงโต สามเหลี่ยมหน้าหนาว นายพราน หมาใหญ่ หมาเล็ก และเทห์ฟ้า
22:00 น. – พักรับประทานอาหารว่าง
23:00 น. – พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม 2561
04:00 น. – ตื่นมาดูดาวเคราะห์ ผ่านกล้องโทรทรรศน์ อังคาร พฤหัสบดี เสาร์ กลุ่มดาวจักรราศี หญิงสาว ตาชั่ง แมงป่อง คนยิงธนู แพะทะเล สามเหลี่ยมหน้าร้อน พิณ หงส์ นกอินทรีย์ และเทห์ฟ้า
08:00 น. – เตรียมตัวเก็บสัมภาระออกเดินทางจาก กัลปังหา เที่ยวชมอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ
08:30 น. – รับประทานอาหารเช้าที่ร้านอาหารในอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ
09:30 น. – เที่ยวชมในอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ
12:00 น. – รับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารในอุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ
13:00 น. – เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ หว้ากอ
16:00 น. – รับประทานอาหารเย็นระหว่างทาง เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
20:00 น. – ถึงกรุงเทพฯ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย


หมดเขตรับสมัครลงทะเบียนวันศุกร์ที่ มีนาคม 2561
รับจำนวน 16 คน )
อัตราค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมสัญจร
ประเภทที่พักห้องพัก อัตราค่าสมัครต่อท่าน (บาท) ค่าสมัครต่อท่าน(บาท)
ห้องพัก พัก คน) บุคคลทั่วไป 6,200.00 บาท สำหรับสมาชิกฯ 5,900.00 บาท
ห้องพัก พัก คน) บุคคลทั่วไป 6,575.00 บาท สำหรับสมาชิกฯ 6,275.00 บาท

สมัครเป็นกลุ่มตั้งแต่ คนขึ้นไป ลดลงท่านละ 100.- -

ค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมตามรายการข้างต้น โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่ารถตู้ปรับอากาศ 
2. ค่าอาหาร มื้อ 
3. ค่าที่พักโรงแรม (ห้องนอน คน) 
4. ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่
5. ค่าแผนที่ฟ้า ไฟฉายแดง และเอกสารของกิจกรรม
6. ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุการเดินทาง

สิ่งที่ต้องเตรียมนำติดตัวไป
1. เสื้อกันหนาว 
2. หมวกกันน้ำค้าง 
3. ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น
4. ยารักษาโรคประจำตัว 
5. ไฟฉายส่องทาง
6. ถุงนอนภาคสนาม (ถ้ามี) 
7. ยากันยุง
8. ร่มหรือหมวกติดไปด้วยเพราะกลางวันอากาศร้อน

หมายเหตุ
1. กำหนดการดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
2. ถ้าสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึง ท่าน สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิไม่จัดกิจกรรม (สมาคมฯ จะคืนค่าลงทะเบียนให้สมาชิก)
3. ในกรณีที่ท่านสมัครลงทะเบียนกิจกรรมสัญจรที่ชำระเงินแล้ว จะขอยกเลิกโปรดแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ สมาคมฯ ดังนี้
3.1 แจ้งภายในวันที่ มีนาคม 2561 คืนเงินค่าลงทะเบียนทั้งหมด
3.2 แจ้งภายในวันที่ มีนาคม 2561 สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่าย 50% ของค่าลงทะเบียน
3.3 แจ้งหลังวันที่ 10 มีนาคม สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนของค่าลงทะเบียน

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ 928 ชั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
โทร. 02-381-7409 02-381-7410 โทรสาร. 02-381-7410
หรือที่ E-mail: thaiastro@hotmail.com เว็บไซต์ http://tahiastro.nectec.or.th/
Facebook สมาคมดาราศาสตร์ไทย https://www.facebook.com/groups/thaiastro/
หรือ https://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety
หรือโทรที่ คุณสุกัญญา พึ่งผลงาม เจ้าหน้าที่สมาคมฯ มือถือ 086-889-1672 (Line)