สมาคมดาราศาสตร์ไทย

กิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Stars Party “แอ่วเมืองน่าน” “กระซิบรัก ล่าทางช้างเผือก ”

อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน

สวัสดีครับท่านสมาชิกทุกท่านและท่านผู้สนใจ สมาคมดาราศาสตร์ไทยได้ห่างหายจากการจัดสัญจรไปนาน เนื่องจาก 1-2 ปีที่ผ่านมาเกิดโรคระบาด Covid 19 ไปทั่วโลกรวมทั้งไทยด้วย สถานการณ์ปัจจุบัน Covid 19 ลดน้อยลงแต่อย่าเพิ่งวางใจต้องคอยระวังป้องกันเอาไว้ด้วย ในช่วงหน้าหนาว ต้นเดือนมกราคม 2566  ท้องฟ้าโปร่งสดใส ลมหนาวเย็นพัดมาเป็นเดือนแห่งการท่องเที่ยวชมธรรมชาติขุนเขายอดดอย ไปสำรวจท้องฟ้า นอนดูดาว ทางช้างเผือก ดูดาวตก ค้นหาดาวชาละวันดาวฤกษ์ชื่อไทย รับลมชมวิวความหนาวเย็น และทะเลหมอกบนดอยสูงทางภาคเหนือ กิจกรรมครั้งนี้จะพาท่านไปท่องเที่ยวในตัวจังหวัดน่าน ชมสถานที่สำคัญและวัดต่างๆที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเช่น วัดภูมินทร์ วัดมิ่งเมือง วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ฯลฯ ที่พลาดไม่ได้ไปนอนดูดาว ล่าทางช้างเผือก  ถ่ายภาพทางช้างเผือกดีที่สุดของประเทศไทย   ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเหมาะกับการดูดาว ทางช้างเผือก ชมทะเลหมอกยามเช้าช่วงปลายฝนต้นหนาว  เห็นดาวเต็มท้องฟ้าระยิบระยับเหมือนท่านอยู่ท่ามกลางทะเลดาว เช้าเห็นทะเลหมอกและยังได้เห็นแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ได้อีกด้วยที่หนึ่ง

สมาคมดาราศาสตร์ไทย ขอเชิญชวนท่านสมาชิกสมาคมฯ และผู้สนใจร่วมเดินทางไปท่องเที่ยวกับกิจกรรมดาราศาสตร์สัญจร Star Party “แอ่วเมืองน่าน” ไปสัมผัสกับวิถีชีวิตคนเมืองน่าน ตามหา “ปู่ม่าน ย่าม่าน” (กระซิบรักบันลือโลก) ที่วัดภูมินทร์ เป็นภาพวาดจิตรกรรมบนฝาผนังในวิหารจัตุรมุกที่งดงาม สักการะศาลหลักเมืองที่ วัดมิ่งเมือง สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่วัดช้างค้ำวรวิหาร ชมพระยางาช้างดำ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน เป็นสมบัติล้ำค่าโบราณเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่าน เป็น Unseen แห่งเดียวในไทย สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง ที่วัดพระธาตุแช่แห้ง กินลมชมวิวรับลมหนาว นอนดูดาว ทางช้างเผือก ดาวตก ตามหาดาวชาละวันบนดอยสูง


พาท่านไปท่องเที่ยวไหว้พระตามวัดในตัวเมืองน่านเช่น สักการะศาลหลักเมืองที่                 วัดมิ่งเมือง เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเยือนเมืองน่าน วัดภูมินทร์ ชมภาพจิตรกรรมบนฝาผนัง “ปู่ม่าน ย่าม่าน” หรือภาพกระซิบรักบันลือโลก และภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การแต่งกายของผู้บ่าวผู้สาวชาวน่านสมัยโบราณ สักการะพระประธานจตุรพักตร์นาคสะดุ้งที่หันพระพักตร์ทั้ง ด้านภายในวิหารหลวงจัตุรมุกแห่งเดียวในเมืองน่าน วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร สักการะพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เพื่อเป็นสิริมงคล ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของไทยเป็นของโบราณเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองน่าน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  วัดศรีพันต้น เป็นวัดที่เก่าแก่วิหารสีทองระยิบระยับเมื่อถูกแสงอาทิตย์สวยงามแห่งหนึ่งในตัวเมืองน่าน และสถานที่สุดท้ายไปสักการะพระบรมธาตุที่ วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง (เป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ) “ปีกระต่าย” จะพาท่านไปที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน  ลงทะเบียนเข้าชม เก็บสัมภาระเข้าที่พักเต็นท์ของอุทยานฯ พักผ่อนตามอัธยาศัย เดินเที่ยวชม     “ผาชู้” อยู่ใกล้ที่ทำการซึ่งมีเสาธงชาติไทยอยู่บนยอดเขาผาชู้ จึงมีที่มา “สายธงชาติไทยที่ยาวที่สุดในประเทศไทย” ค่ำคืนวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566  (นอนเต็นท์ของอุทยานฯ) ทำกิจกรรมเรียนรู้การดูดาวเบื้องต้น, การใช้แผนที่ฟ้าแบบหมุนรุ่นชาละวัน, ดูดวงจันทร์เสี้ยวก่อนจะตกลับขอบฟ้า, สังเกตลักษณะของกลุ่มดาว, ชมทางช้างเผือก, วัตถุท้องฟ้ากระจุกดาว, วัตถุ ต่างๆ, ดาราจักรเพื่อนบ้านเช่น ดาราจักรแอนดรอมิดา, ดูดาวเคราะห์ผ่านกล้องโทรทรรศน์เช่น  ดาวเสาร์ที่มีวงแหวนสวยงาม, ดาวพฤหัสบดี พร้อมดวงจันทร์บริวาร ดวงใหญ่ และดาวอังคาร มาท่องเที่ยวที่จังหวัดแพร่ ที่วัดพระธาตุช่อแฮ ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่  ก่อนที่จะเดินทางกลับกรุงเทพฯ

กำหนดการเดินทาง

วันศุกร์ที่ วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566 (วันแรก)
20:00 น. – รับชุดตรวจ ATK โควิด 19  และส่งผลตรวจ ATK   ถ้าผลตรวจเป็นลบจึงจะสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้  ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย (มีอาหารว่างให้ทุกท่านก่อนออกเดินทาง)  และมีการตรวจ ATK  ก่อนออกเดินทางทุกท่าน รวมถึงเจ้าหน้าที่ และคนขับรถ
21:00 น. ออกเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP จากสมาคมดาราศาสตร์ไทย สู่จังหวัดน่าน

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 (วันที่ แรม ค่ำเดือน )
07:00 น. ถึงจังหวัดน่าน แวะในตัวเมืองน่านเพื่อมาทานอาหารเช้า ทำธุระส่วนตัวและพักผ่อนตามอัธยาศัย
08:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะศาลหลักเมืองหรือที่ชาวพื้นเมืองน่านเรียกว่า “เสามิ่ง” หรือเสามิ่งเมือง จึงเป็นที่มาเรียกว่า “วัดมิ่งเมือง” เพื่อเป็นสิริมงคลที่มาเยือนเมืองน่าน ชมพระอุโบสถล้านนาร่วมสมัยลวดลายปูนปั้นสีขาวอันวิจิตรอลังการสกุลช่างเชียงแสนโบราณ ในวิหารมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพตำนานประวัติเมืองน่าน
08:30 น. ออกเดินทางไปนมัสการพระจตุรพักตร์นาคสะดุ้ง พระประธานในวิหารหลวงจัตุรมุกที่หันพระพักตร์ออกทั้ง ด้าน ที่วัดภูมินทร์ เป็นพระพุทธรูปที่งดงามหนึ่งเดียวของไทย ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวง ภาพชาดกในพุทธศาสนา วิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่เด่นอยู่ภาพหนึ่งเป็นภาพของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกำลังกระซิบสนทนากัน จึงเป็นที่มาของภาพ “กระซิบรักบันลือโลก” ดังไปทั่วโลกจนถึงปัจจุบันนี้
09:00 น. ออกเดินทางไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่ วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร (อยู่ไม่ไกลจากวัดภูมินทร์) อยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน
09:30 น. – ออกเดินทางข้ามถนนฝั่งตรงข้ามไปที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ชมพระยางาช้างดำ หนึ่งเดียวของประเทศไทย เป็นของโบราณล้ำค่าที่เก่าแก่เป็น Unseen หาชมได้ยากเป็นสิ่งคู่บ้านคู่เมืองของเมืองน่าน ชมเกี่ยวกับชาติพันธุ์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพื้นเมืองภาคเหนือ รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยในจังหวัดน่าน และทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะของเมืองน่านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
10:00 น. – ออกเดินทางไปสักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง บ้านหนองเต่า 
 ต.ม่วงตึ๊ด อ.ภูเพียง จ.น่าน
10:20 น. ถึงวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง สักการะพระบรมธาตุแช่แห้งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของคนที่เกิดปีเถาะ (ปีกระต่าย) เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน องค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ได้มาจากกรุงสุโขทัย
11:00 น. – ออกเดินทางไปทานอาหารกลางวัน ร้านอาหารใกล้วัดพระธาตุฯ พักผ่อนตามอัธยาศัย
11:30 น. – ออกเดินทางไป ณ อุทยานแห่งชาติศรีน่าน ต.ศรีษะเกษ อ.นาน้อย จ.น่าน
14:30 น. ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติศรีน่าน ลงทะเบียนเข้าชม เดินชมผาชู้ ที่มีสายธงชาติที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชมวิวรอบๆ ที่ทำการอุทยานฯ จัดเก็บสัมภาระเข้าที่พักเต็นท์ของอุทยานให้เรียบร้อย พักผ่อนตามอัธยาศัย
15:30 น. – พร้อมกันที่ลานดูดาวใกล้ที่พักเตรียมอุปกรณ์ใช้การดูดาว เริ่มกิจกรรมการบรรยาย การดูดาวเบี้องต้น การขึ้นและตกของดวงดาว รู้จักทรงกลมท้องฟ้า การหาวิธีวัดมุมดาว การใช้แผนที่ดาวหรือแผนที่ฟ้าอย่างถูกวิธีที่ถูกต้อง การใช้กล้องโทรทรรศน์ กล้องสองตา (กล้องส่องทางไกล) ดูวัตถุท้องฟ้า สังเกตลักษณะกลุ่มดาวต่างๆ ที่สำคัญและกลุ่มดาวจักรราศี สังเกตลักษณะของทางช้างเผือก และเทคนิคการถ่ายภาพดาว และทางช้างเผือก
17:00 น. รับประทานอาหารเย็น พักผ่อนตามอัธยาศัย และเตรียมเครื่องนุ่มห่มกันหนาว ผ้าห่มหรือถุงนอน (ถ้ามี) อุปกรณ์เอกสารแผนที่ฟ้าและไฟฉายแดงเพื่อสำรวจท้องฟ้าจริง
18:00 น. – พร้อมกันมาสำรวจท้องฟ้าจริง ดวงดาวปรากฏให้เห็นค่ำคืนนี้ สังเกตกลุ่มดาวว่าคืนนี้มีกลุ่มดาวอะไรบ้าง ดูได้จากแผนที่ฟ้า ลองวัดมุมดาว ดูดาวเคราะห์ ดวงที่เห็น ดาวเสาร์พร้อมวงแหวนที่สวยงาม, ดาวพฤหัสบดี และดาวอังคาร วัตถุท้องฟ้าเช่น M31 ดาราจักรแอนดรอมิดา ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่สถานที่นี้, M1 เป็นซุปเปอร์โนวา, M42 เนบิวลาโอไรออน ก็สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกัน, ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ที่จัดเตรียมไปไว้ให้ชม
22:00 น. รับประทานอาหารว่าง กาแฟ, โอวัลติน ร้อนๆ ขนมปังคลายความหนาวกัน
23:00 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย หรือท่านใดที่ยังไม่ง่วงอยากดูดาวต่อหรือจะถ่ายภาพดาวตามอัธยาศัยเลยครับ มีวิทยากรคอยแนะนำทั้งคืน

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 (วันที่ 3)
04:00 น. ตื่นมาดูกลุ่มดาวตอนเช้าที่ขึ้นมาใหม่ก่อนที่แสงรุ่งอรุณสีทองจะมา สังเกตดาวฤกษ์ดวงแรกชื่อไทยในเอกภพคือ ดาวชาละวัน (47 Ursae Majoris) อยู่ในกลุ่มดาวหมีใหญ่ หรือกลุ่มดาวจระเข้ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่นี้ ชมทางช้างเผือกที่เปลี่ยนตำแหน่งไปตามการหมุนของโลก เช้ามืดยังเห็นดาวอังคารอยู่ดวงเดียว ตามล่าหาดาวเทียมกันจะมองเห็นได้ดีตอนเช้า และช่วงก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นมาสังเกตดูแสงจักรราศี (Zodiacal Light) ก่อนที่แสงรุ่งอรุณของดวงอาทิตย์ขึ้นขอบฟ้า รับลมไอเย็นบนสันเขา รอชมดวงอาทิตย์ขึ้นดวงโตพร้อมกับชมทะเลหมอก ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก พักผ่อนตามอัธยาศัย เตรียมเก็บสัมภาระส่วนตัวให้เรียบร้อย
07:00 น. รับทานอาหาเช้าพร้อมกันพักผ่อนตามอัธยาศัยเตรียมตัวออกเดินทางออกจากอุทยานฯ
08:00 น. – ออกเดินทางจากอุทยานฯ เดินทางไปท่องเที่ยวกันต่อที่จังหวัดแพร่ ที่วัดพระธาตุช่อแฮ
11:00 น. ถึงวัดพระธาตุช่อแฮ ต.ช่อแฮ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ศิลปะเชียงแสน เป็นพระธาตุประจำปีเกิดนักษัตรของผู้ที่เกิดปีขาล (ปีเสือ) เพื่อเป็นสิริมงคลก่อนเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
11:30 น. ออกเดินทางจากวัดพระธาตุช่อแฮ ไปทานอาหารกลางวัน
12:00 น. ถึงร้านอาหาร พักผ่อนตามอัธยาศัย
13:00 น. ออกเดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ
21:00 น. – ถึงกรุงเทพฯ ที่สมาคมดาราศาสตร์ไทย โดยสวัสดิภาพ  

หมดเขตรับสมัครลงทะเบียนวันจันทร์ที่ ธันวาคม 2565  (รับจำนวนจำกัด 25 ท่าน)  

อัตราค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมสัญจรครั้งนี้


ประเภทที่พักเต็นท์นอนของอุทยานฯอัตราค่าสมัครต่อท่าน(บาท) บุคคลทั่วไปอัตราค่าสมัครต่อท่าน(บาท) สำหรับสมาชิกฯ
เต็นท์นอน ท่านพร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน หมอน ถุงนอน ชุด7,250.- บาท6,950.- บาท
เต็นท์นอน ท่านพร้อมเครื่องนอน ที่รองนอน หมอน ถุงนอน ชุด7,450.- บาท7,150.- บาท
สมัครมาเป็นกลุ่ม คนขึ้นไปมีส่วนลด100 บาท


 ค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรมตามรายการข้างต้น มีค่าใช้จ่ายดังนี้

1. ค่าเดินทางด้วยรถตู้ปรับอากาศ VIP  2. ค่าอาหารรวม มื้อ  3. ค่าที่พักเต็นท์นอนอุทยานฯ
4. ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานฯ  5. ค่าแผนที่ฟ้า ไฟฉายแดง และเอกสารของกิจกรรม 6. ค่าเบี้ยประกันภัยการเดินทาง  7. ค่าบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน  8. ค่าชุดตรวจ ATK โควิด 19 

สิ่งที่ต้องเตรียมนำติดตัวไป

1.ของใช้ส่วนตัวจำเป็น  2. เสื้อกันหนาว  3. หมวกกันน้ำค้าง  4. ไฟฉายสำหรับส่องทาง  5. ยารักษาโรคจำเป็นติดตัวไปด้วย  6. ยากันยุงชนิดทาหรือชนิดสเปรย์ 7. ร่มพับได้หรือหมวกติดไปด้วยเพราะกลางวันอากาศร้อนตอนเดินทางท่องเที่ยว

หมายเหตุ  
1. กำหนดการดังกล่าวข้างต้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมตามเวลาเดินทางและสภาพอากาศของประเทศไทย 
2. ถ้าสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมไม่ถึงจำนวน 16 ท่าน ทางสมาคมฯ ขอสงวนสิทธิขอแจ้งยกเลิกจัดกิจกรรมครั้งนี้ (สมาคมฯ จะคืนเงินค่าลงทะเบียนให้กับสมาชิกทุกท่าน)
3. ในกรณีที่ท่านสมัครลงทะเบียนกิจกรรมสัญจรที่ชำระเงินแล้ว จะขอยกเลิกเดินทาง โปรดแจ้งต่อเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ดังนี้
3.1. กรุณาแจ้งภายในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 คืนเงินค่าลงทะเบียนให้ทั้งหมด 
3.2. แจ้งภายในวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่าย 50%ของค่าลงทะเบียน
3.3. ถ้าแจ้งภายหลังจากวันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม 2565 สมาคมฯ ขอสงวนสิทธิเก็บค่าใช้จ่ายเต็มจำนวนของค่าลงทะเบียนทั้งหมด
4. ถ้ากรณีผู้สมัครลงทะเบียนและชำระเงินแล้วไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถส่งตัวแทนมาร่วมกิจกรรมได้ โปรดแจ้งชื่อตัวแทนมายังเจ้าหน้าที่สมาคมฯ ให้ทราบก่อนวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565  ถือว่าท่านสละสิทธิ์
5. เพื่อมาตรการความปลอดภัยในการเดินทางสัญจรครั้งนี้ ต้องตรวจ ATK  และสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางและร่วมกิจกรรมในครั้งนี้


แผนที่สถานที่นัดพบ (ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

สมาคมดาราศาสตร์ไทย  เลขที่ 928 อาคาร ชั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110  โทร. 02-381-7409, 02-381-7410 โทรสาร 02-381-7410 หรือมือถือ 086 889 1672
คุณสุกัญญา  พึ่งผลงาม เจ้าหน้าที่สมาคมฯ หรือที่ E-mail thaiastro@hotmail.com
เว็บไซต์ http://thaiastro.nectec.or.th  
Facebook สมาคมดาราศาสตร์ไทย  https://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety
และ https://www.facebook.com/groups/thaiastro/