จดหมายถึง thaiastro

alongkot Chaiupalar (p3626212@ns.eng.cmu.ac.th)
Subject: ดีจัง

ผมเข้ามาดูบ่อยๆ ด้วยหละ อยากให้มี bbs ของที่นี้ด้วยจะดีมาก

thaiastro

ขอบใจจ้าที่มาอุดหนุนบ่อย ๆ
เรื่อง bbs ถ้าทำก็ไม่รู้จะเอาอะไรใส่เข้าไปดี ตอนนี้อ่านเว็บไปก่อนแล้วกันนะครับ

ruajar@kku1.kku.ac.th

เรียน นายกสมาคมดาราศาสตร์ฯ
ผมได้ติดตามรายการของ TV ช่อง 9 ในเช้าวันพุธที่ 31 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นรายการที่ดีมาก หลังจากที่ผมได้รับชมรายการเกี่ยวกับดาราศาสตร์ทาง TV ช่อง 9 แล้ว ผมได้ติดตามและเปิดดูรายการที่ทางสมาคมฯ จัดทำ เป็น Web ใน Internet ผมมีข้อคิดเห็นดังนี้
1. ควรที่จะเพิ่มรายการที่สามารถเห็นเป็นภาพเคลื่อนไหวของดวงดาว หรือกลุ่มดวงดาว เช่นการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวง หมุนรอบดวงอาทิตย์ หรือการเคลื่อนที่ของดาวหางต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้โลก หรือกำลังพุ่งมายังโลก
2. ถ้าสามารถจำลองภาพ เหมือนที่ไปดูได้ด้วยตนเองที่ท้องฟ้าจำลองที่กรุงเทพมาไว้ใน Internet ก็จะเป็นการดีสำหรับผู้สนใจทั่วไป ตลอดจนนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในต่างจังหวัด ที่ไม่ต้องเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ก็สามารถรับชมและเห็นปรากฎการณ์ต่างๆ ในท้องฟ้าเหมือนคนกรุงเทพฯ
3. อยากที่จะให้ทางสมาคม ฯ จัดทำภาพเคลื่อนไหวการก่อกำเนิดของดวงดาวต่าง ๆ รวมทั้งดาวเคราะห์ ตั้งแต่การก่อตัวเป็นรูปกลุ่มก๊าซ
4. ปรากฏการณ์บนท้องฟ้าในปี 2541 ในแต่ละเดือนนั้นถ้ามีการอธิบาย หรือวิธีอ่านผลของปรากฏการณ์นั้นว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน ต่อดวงเมืองของบ้านเมืองอย่างไรก็จะดีครับ

นายเรืองชัย จรุงศิรวัฒน์
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 6
กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

thaiastro

เรียน คุณเรืองชัย
เนื่องจากเนื้อหาจดหมายของคุณเกี่ยวข้องกับเว็บเพจของสมาคมโดยตรง ผมซึ่งเป็นผู้ดูแลเว็บ จึงขอตอบแทนท่านนายกสมาคม ฯ ครับ

การจำลองภาพปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น มีอยู่แล้วครับในหน้า ปรากฏการณ์ท้องฟ้า ( https://thaiastro.nectec.or.th/jan98.html)เพจนี้ปรับปรุงรายเดือน ปรากฏการณ์ส่วนใหญ่ก็สามารถเห็นได้เหมือน ๆ กันทั่วประเทศอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเข้ามาดูในกรุงเทพ ฯ เลย จะว่าไปแล้วคนกรุงเทพ ฯ ต่างหากที่ถือว่าด้อยโอกาสที่สุดในด้านการดูดาวดูท้องฟ้า เพราะมีแสงรบกวนมาก จริงอยู่ที่ขณะนี้ในเพจปรากฏการณ์ท้องฟ้าจะหมายถึงการสังเกตการณ์จากกรุงเทพ ฯ เป็นหลัก ต่อไปจะพยายามให้รายละเอียดสำหรับต่างจังหวัดให้มากขึ้นครับ โดยเฉพาะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะที่

เรื่องภาพเคลื่อนไหวน่าสนใจดีครับ แต่คงต้องรออีกพอสมควร

ในหน้า "ปรากฏการณ์ท้องฟ้าเดือน 2541" นั้นเป็นสรุปปรากฏการณ์ครับ ส่วนรายละเอียดจะแสดงไว้ในหน้าปรากฏการณ์ท้องฟ้าในแต่ละเดือน

เรื่องดวงเมืองอะไรนั่นไม่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ครับ จึงไม่มีแสดงไว้


modx@email.ksc.net

สวัสดีครับ ผมสนใจเรื่องดาราศาสตร์ แต่ไม่ค่อยได้มีโอกาสดูอย่างจริงจังเท่าไหร่ ตอนนี้พอจะมีเงินเหลือเก็บอยู่บ้าง อยากจะซื้อกล้องดูดาว แต่ไม่ทราบวิธีการเลือกซื้อครับ เช่น ขนาดของเลนส์ เป็นต้น ไม่ทราบว่ามือสมัครเล่นที่เพิ่งเริ่มต้นเช่นผม ควรใช้เลนส์ขนาดความยาวเท่าไรจึงจะเหมาะสมครับ ที่สามารถดูได้ชัดครอบคลุมระบบสุริยะนี้ มียี่ห้ออะไรบ้าง ราคาประมาณเท่าไร หาซื้อได้ที่ใดบ้างที่ผู้ขายจะให้คำแนะนําได้ (ผมไปดูที่ศึกษาภัณฑ์ไม่แน่ใจ คนขายว่าจะแนะนำได้ครับ) รบกวนช่วยตอบกลับทาง e-mail address "modx@email.ksc.net" ขออภัยถ้าคำถามกว้างไปครับ ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

thaiastro

ถ้าคุณเพิ่งเริ่มต้น ขอแนะนำว่าควรใช้กล้องสองตาก่อน กล้องสองตาที่เหมาะกับการดูดาวคือ 7 x 35 ขึ้นไป หมายถึงขยาย 7 เท่า และหน้ากล้อง 35 มม. ถ้าจะให้ดีควรจะเป็น 10 x 50 กล้องคุณภาพปานกลางที่มีขนาดเท่านี้ ราคาแค่ 3,000 กว่าบาทเท่านั้น เห็นอะไรได้ตั้งหลายอย่าง เช่น กระจุกดาว เนบิวลา ทางช้างเผือก เห็นหลุมดวงจันทร์ วงแหวนดาวเสาร์ ดาวพฤหัสบดีพร้อมบริวาร 4 ดวง เห็นดาวศุกร์เป็นเสี้ยว เห็นกาแล็กซีต่าง ๆ มากมาย

หากต้องการกล้องโทรทรรศน์จริง ๆ แนะยากครับ เพราะกล้องมีหลายอย่าง แต่ละอย่างเหมาะกับการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันออกไป ที่คุณภาพ"ใช้ได้" จะมีราคาประมาณ หมื่นกว่าบาท ไม่แนะนำให้ซื้อกล้องดูดาวประเภทสามสี่พันบาทที่โฆษณาตามหนังสือพิมพ์ เพราะคุณภาพแย่มาก เปลืองเงินเปล่า ๆ ถ้างบไม่มากนักก็น่าจะซื้อกล้องแบบนิวโตเนียน (อ้วน ๆ สองด้านข้าง) หรือแบบดอบโซเนียน (เหมือนปืนครก) ถ้าเป็นแบบกล้องสะท้อนแสงแบบชมิดท์แคสซิเกรนก็แพงขึ้นมาหน่อย ยิ่งถ้ากล้องหักเหแสงตัวยาว ๆ ก็จะแพงมาก เรื่องความยาวโฟกัสส่วนใหญ่จะต่างกันไม่มาก ประมาณ 1,000-2,000 มม. เขามักเลือกกันที่เส้นผ่านศูนย์กลางหน้ากล้องมากกว่า ขอยกตัวอย่างราคากล้องชนิดต่าง ๆ จากโฆษณาของต่างประเทศ ดังนี้
กล้องดอบโซเนียน 6 นิ้ว ราคาราว 17,000 กว่า ๆ
กล้องนิวโตเนียน 6 นิ้ว ราคาราว 30,000 กว่า ๆ
กล้องชมิดท์ แคสซิเกรน 8 นิ้ว ราคาราว ๆ แสนกว่า ๆ
กล้องหักเหแสง 4 นิ้ว ราคาราว ๆ สามหมื่นกว่า ๆ

กล้องยี่ห้อดัง ๆ เช่น MEAD, CELESTRON, VIXEN, TELEVUE, ORION เมืองไทยเห็นมีขายแต่ CELESTRON กับ VIXEN

ในเมืองไทยเคยเห็นวางขายกล้องแบบชมิดท์แคสซิเกรน 8 นิ้ว ราคา 55,000 บาท (นานแล้ว) และกล้องหักเหแสงประมาณ 4 นิ้วแสนกว่า ๆ กล้องหักเหแสงตัวเล็ก ๆ หน้ากล้องประมาณ 2 นิ้ว ราคาเกือบสองหมื่น ถ้าคุณจะซื้อกล้องดูดาวก็ควรซื้อระดับนี้ขึ้นไป ถ้างบไม่ถึงขอให้ใช้กล้องสองตาครับ ไม่ แนะให้ซื้อกล้องโทรทรรศน์แบบ 3-4 พันเป็นอันขาด


Bruce Scott (scottb@istar.ca)

Sawatdee krap!,

I am interested in attaining more information on the Thai Astronomical Society. I used to live in Thailand, in jungwat Saraburi. I wish to still be a part of such a wonderful country.

If you have any updates with your organization I would appericiate if somebody would e-mail me back.

sudyot@rocketmail.com Kawp-koon krap,
Graham Scott
Merrickville, Ontario, Canada

thaiastro

Sawaddee Krab,
I'm sorry that the english webpage of TAS has not been available yet. It should be available this summer. However, if there are any activities in this period that I think may interest you, I'll let you know.

Best regards,
Wimut Wasalai.
The Thai Astronomical Society


jirapong chintanet (chang_chintanet@hotmail.com)

สวัสดีครับ ผมเพิ่งจะสมัครเป็นสมาชิกสมาคมดาราศาสตร์ไทยเมื่อวัน 4 ธ.ค. นี้เอง มีข้อสงสัยบางประการอยากจะรบกวนถามเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.อัตราขยายของกล้องโทรทรรศน์ (กล้องดูดาว) เขาดูกันอย่างไร เช่นเคยเห็นข้างๆเขียนว่า 700MM:60MM
2.อัตราขยายของกล้อง SLR ที่เขียนว่า 300 mm หรือ 50 mm หน่วยที่ใช้เหมือนหรือต่าง จากกล้องดูดาวอย่างไร
3.เวลาจะถ่ายรูปดาวผ่านกล้องดูดาว ต้องใช้กล้องดูดาวรุ่นที่สามารถประกอบกับกล้องถ่ายรูปได้ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ กล้องถ่ายรูปที่มีเลนส์ขยายสูง ๆ จะช่วยขยายภาพในกล้องดูดาวอีกหรือไม่
4.ที่สำคัญอยากซื้อกล้องดูดาวควรจะไปดูแถวไหนและแบบไหนที่พอจะใช้ได้ช่วยแนะ นำด้วยครับ (อย่าถือว่าเป็นการโฆษณาเลย)

ขอรบกวนถามเพียงแค่นี้ครับ

ขอบพระคุณมากครับ
จิรพงษ์ ชินธเนศ

thaiastro

1. ตัวเลขแรกคือ ความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุ ตัวเลขที่สองคือ เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุครับ ดังนั้นกล้องที่คุณเห็น มีความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุ 700 มม. และเส้นผ่านศูนย์กลาง 60 มม.

2. ตัวเลขนั้นเป็นความยาวโฟกัสของเลนส์หน่วยเป็นมิลลิเมตร ไม่ใช่กำลังขยายแต่อย่างใด

3. ใช่ครับ กล้องดูดาวส่วนใหญ่ก็สามารถต่อกับกล้องถ่ายรูปได้อยู่แล้วโดยอาศัยอุปกรณ์เสริม แต่เวลาเอากล้องถ่ายรูปไปต่อ กับกล้องดูดาวต้องถอดเอาเลนส์ของกล้องถ่ายรูปออกก่อนนะครับ คือเอาเฉพาะตัวกล้อง (บอดี้) ของกล้องไปต่อเฉย ๆ แล้วกล้องดูดาวก็จะทำหน้าที่เป็นเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ของกล้องถ่ายรูปไป ดังนั้นหากคุณมีเลนส์เทเลโฟโต้ของกล้องถ่ายรูปดี ๆ ความยาวโฟกัสมาก ๆ ก็สามารถเอาไปถ่ายรูปดาวได้เช่นกัน

4. ตามห้างใหญ่ ๆ หรือร้านถ่ายรูปใหญ่ ๆ ก็มีถมไปครับ หรือที่บริษัททีเอ็มแค เทรดดิ้งตามที่โฆษณาที่ปกหลังของทางช้างเผือกเป็นตัวแทนจำหน่ายกล้องดูดาวหลายยี่ห้อครับ

วิมุติ วสะหลาย


@kku1.kku.ac.th.@kku.ac.th

Dear Sir,
I would like to ask you something about Thaiastro homepage. I cannot see any picture of planets taken by Princess Sirindhorn. I see only a yellow captions, but the picture did not appear. I think the letters should not be written in yellow colour, because they are hard to see. Please tell me how I can see those pictures. Have you already placed the pictures on your homepage?

I like Thaiastro homepage very much. It is very interesting.

Sincerely yours,
Chularut Prariyachatigul
chupra@kku1.kku.ac.th

thaiastro

The images display correctly. The yellow text displays on a dark-green background. You should wait a little more.

Wimut Wasalai.
The Thai Astronomical Society.


tharayuth.k@usa.net

สวัสดีครับ
คือ ผมอยากทราบเรื่องที่ว่า ดาวเคราะห์ในระบสุริยะของเราทุกดวงจะมาเรียงเป็นแนวเดียวกันทั้งหมดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ครับ? และจะมีผลอะไรต่อโลกของเราบ้างครับ? กรุณาช่วยตอบคำถามนี้ด้วยนะครับ
ขอบคุณมาก ๆ เลย นะครับ

thaiastro

ดาวเคราะห์จะไม่มาเรียงเป็นเส้นตรงหรอกครับ เพราะระนาบวงโคจรของแต่ละวงไม่ตรงกัน แต่มีโอกาสที่มาเรียงกันอยู่ใกล้ ๆ กันภายในมุมแคบ ๆ อาจถึง 10-20 องศา และการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ไม่มีผลใด ๆ ต่อโลกครับ

วิมุติ วสะหลาย


pjew (pjew@loxinfo.co.th)

ผมมีความสนใจอยากทำกล้องเอง จะหาวิธีสร้างได้จากไหน? ขอช่วยแนะนำด้วยนะครับ กล้องที่ทำสำเร็จแพงมากเลย อยากทราบว่า ถ้าทำเองจะต้องหาสูตรการหาโฟกัสอย่างไรและจะหาซื้อเลนส์ได้ที่ไหน? ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
pjew@loxinfo.co.th

thaiastro

ขออภัยเป็นอย่างยิ่งที่ตอบล่าช้า เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาผมต้องอัปเดตโฮมเพจของสมาคม ฯ อยู่พอดี มีวารสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์รายหลายเล่มที่เคยลงบทความการสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่ายขึ้นแต่นานมากแล้ว วารสารทางช้างเผือกของสมาคมดาราศาสตร์ไทยก็เคยลงมาแล้วเมื่อปี 38 สมาคมดาราศาสตร์ไทยก็เคยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างกล้องโทรทรรศน์อย่างง่ายไปเมื่อปลายปีที่แล้วนี้เอง อาจจะมีครั้งต่อไปในกลางปีนี้ก็ได้ ในเว็บไซต์ต่างประเทศที่เกี่ยวกับการสร้างกล้องโทรทรรศน์ก็มีมากมาย หลักการสร้างกล้องที่เคยเห็นตีพิมพ์ส่วนใหญ่แนวทางจะเหมือน ๆ กัน ต่างกันเพียงขนาดของเลนส์และท่อเท่านั้น

กล้องโทรทรรศน์ที่พอจะสร้างได้เองคือ กล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง ส่วนแบบอื่น ๆ จะยากกว่าครับ

คุณสามารถออกแบบและสร้างกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสงเองได้ไม่ยาก มีเรื่องให้พิจารณาเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น ดังนี้ กล้องดูดาวอย่างง่ายที่สุดประกอบขึ้นจากเลนส์นูนสองตัว ตัวหนึ่งอยู่ด้านหน้าเรียกว่าเลนส์วัตถุ อีกตัวหนึ่งด้านหลังชิดกับตาเรียกว่าเลนส์ตา กำลังขยายของกล้องเท่ากับความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุหารด้วยความยาวโฟกัสของเลนส์ตา ระยะห่างของเลนส์ตาและเลนส์วัตถุต้องยาวอย่างน้อยเท่ากับผลรวมของความยาวโฟกัสของเลนส์ทั้งสองตัว และระยะห่างนี้ควรเปลี่ยนแปลงได้

เนื่องจากขนาดเลนส์มีให้เลือกไม่มากนัก เพราะฉะนั้นควรไปหาซื้อเลนส์ก่อน เมื่อได้เลนส์กลับมาแล้วจึงค่อยออกแบบตัวกล้อง ออกแบบเองไม่ยากหรอกครับ ที่สำคัญเวลาเลือกเลนส์ ไม่ควรเลือกให้กล้องมีกำลังขยายมากเกินไปนัก (ไม่ควรเกิน 100 เท่า) 30-40 เท่ากำลังเหมาะ เลนส์ถูก ๆ ที่ไม่ใช่เลนส์ประกอบราคาเพียงไม่ถึงร้อย หากใช้เลนส์อย่างดีที่เป็นเลนส์ประกอบและมีการเคลือบด้วยราคาจะแพง (หลายพันบาท) เลนส์หาซื้อได้ที่ร้านศึกษาภัณฑ์ (ราชดำเนิน) และร้านวิทยาภัณฑ์(สามยอด) ที่ผมทราบมีเพียงสองร้านนี้

เรื่องการสร้างกล้องดูดาวอย่างง่ายนี้อาจจะมีลงในโฮมเพจเร็ว ๆ นี้

วิมุติ วสะหลาย


Somsak bumroongwong (bsomsak@jasmine.th.com)

Hello,
I'm the absolute beginner in astronomy. I really need suggestions from you such as
How to start? It seems simple but very important for me to hear from someone who has experience.

Thank you

thaiastro

To be a stargazer or amateur astronomer, first, you should have a sky map. Find some starry, moonless nights. Study how to recognize constellations. Each day, notice the change of position of the stars in the sky, and the position of the Sun and the Moon relative to background constellations. This makes you understand the basic of movement of solar objects and stars, the first chapter for stargazers. Next, the chapter 2, depends on what you want to know, solar system objects, astrophotography, Moon observation, deep space object observation, etc.

There are many books for beginners sold in bookshops. I know a book titled "Lak Karn Doo Dao Kan Tone", (หลักการดูดาวขั้นต้น) written by A.Nibondh Saibejara, the president of TAS. This title is strongly recommended for all beginners. There are also many books translated from well-known publishers that are also recommended, Eyewitness series for example.

If you are a member of TAS, you will receive The Milky Way Journal 4 issues per year. There are a lot of articles in the journal that vary greatly in reader levels.

You can join our star parties. TAS often hold star parties in Winter and early Summer. You can start quickly with trip. Call the TAS office for the party calendar (3817409)

The most important thing you must have is the faith in the science and nature.

Regards,
Wimut Wasalai.


Cho Sufen (shunter@tm.net.my)

Dear Sirs/Madam,
We are a publisher of "Starhunter Astronomy Magazine". Your website is very nice, unfortunately we can't read it. We, Starhunter Astronomical Society, often organise star gazing party and it was overwelming. 14~17th May 1998, we will be organising an first ever Star Party cum Astronomy Exhibition in Taman Jaya, Selangor. We hope to contact you and welcome you to participate. We await for you reply as soon as you can. Thanks & regards,
Yours sincerely,
Stargazer Publications Sdn Bhd
Cho Sufen

thaiastro

Dear Cho,
Thank you very much for your e-mail. We rarely get international correspondence because the Thai Astronomical Society homepage is currently all in Thai script. The English edition should come out later this year. The Milky Way, our quarterly journal, is also published in Thai.

How long has Starhunter been in operation? In your message you mention your Star Party/Exhibition as the first, is it the first for your magazine or the first time that you organise the two events together? Will the event be conducted in Malay or English?

As for the Thai Astronomical Society, we are a non-profit organisation founded in 1980 by mainly professional astronomers or people related to astronomy in some way, e.g. science teachers. However, amateur astronomers has become the majority as membership expanded. The number of individuals and institutions who are our members is nearly 1,000, but active participants are not as many.

Some of our activities, all conducted in Thai: * Star party trips - we take members out of Bangkok to see the night sky. Most of the time the trips are no parties at all, we cram lots of information for the participants many of whom have come to astronomy for the first time. We go out once a month during the dry seasons.

* Future Astronomer projects - this is a much more detailed course on astronomy than the one we do at star parties. Each course takes about 4 weekends to complete. Participants learn about astronomy from professional astronomers and advanced amateurs in lecture rooms and in the field. We have organised only 3 such courses so far since it was started in 1994 . However, there have been 2 similar courses arranged for selected highschool students from all over the country.

* Monthly astronomical lectures for the public
* The quarterly publication of the Milky Way Journal for our members.
* Teach elementary astronomy to school children in special sessions as requested by the schools or other institutions. Give lectures or lead stargazing activities for groups that request our assistance.
* Set up display booths at science fairs.
* Specialised courses: astrophotography, constructing simple telescopes, etc.
* Thai Astronomical Society Homepage on WWW
* Production and sales of a double-sided (north-south) planisphere for Thailand.

Public interests in astronomy has increased in the past few years in Thailand. The big attraction was the total solar eclipse in October 1995. Then there were the 2 comets, Hyakutake and Hale-Bopp. To add to that, outdoor activities such as trekking, scuba diving or mountain biking have become more popular. People who enjoy these activities sometimes want to supplement their daytime with startgazing at night.

The above items should give you some knowledge about our organisation that you missed in our homepage. I hope that our contact will develop fruitfully in the future.

Yours sincerely

Visanu Euarchukiati
Deputy Secretary of the Thai Astronomical Society