จดหมายถึง thaiastro

อนุชา วุฒิภาพ (mizuly@thaimail.com)

หวัดดีพี่
ผมได้มีปัญหาในการเลือกซื้อกล้องดูดาวน่ะครับ ไม่รู้จะเอาอันไหนดี ก็เลยอยากจะรบกวนให้พี่ช่วยหน่อยครับ โดยที่ผมจะส่งข้อมูลของกล้องแต่ล่ะรุ่นไปให้พี่ดู (คือผมได้โหลดข้อมูลมาจากเว็บที่เขาขายกล้องน่ะครับ) ก็เท่านี้ล่ะครับ ก็ไม่ทราบจะรบกวนพี่เกินไปหรือเปล่า ผมก็เลยจะขอที่อยู่ของพี่ เพื่อจะได้ส่งข้อมูลและรูปภาพไปให้พี่ ที่บ้านหรือที่ทำงานก็ได้น่ะครับ แล้วแต่จะสะดวกทางพี่ ไม่ทราบว่าจะได้ไหมครับ เพราะผมจะซื้อกล้องเป็นตัวแรกในชีวิตเลยครับ และผมจะสั่งซื้อทางเว็บด้วยครับ เพราะพี่แนะนำให้ซื้อทางเว็บ เพราะว่ามันถูกกว่า หวังว่าพี่คงจะเห็นใจนะครับ
ขอบคุณมาก ๆ ครับ

อนุชา วุฒิภาพ

thaiastro

สวัสดีครับ
ถ้าจะส่งข้อมูลมาให้ดูก็ยินดีครับ เพราะเห็นว่าเป็นกล้องตัวแรก กล้องตัวแรกก็ต้องเลือกหน่อยเป็นธรรมดาครับ สามารถส่งมาได้ที่ พรชัย อมรศรีจิรทร สมาคมดาราศาสตร์ไทย เลขที่ 928 อาตารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ถ.สุขุมวิท กทม. 10110 ครับ ขอบคุณมากครับ
สวัสดีครับ

พรชัย


khanittha disaphirom (nok2110@hotmail.com)

สวัสดีค่ะ ขอรบกวนถามปัญหาค่ะ
1. ดาวนิวตรอนต่างจากหลุมดำอย่างไร?
2. ทำไมในเดือนบางเดือนจึงสามารถเกิดพระจันทร์เต็มดวงได้ 2 ครั้งในเดือนเดียวกันได้?
3. ดงดาวหางของอูร์ต (Oort's Clound) อยู่ที่ไหนและมีลักษณะอย่างไร?
4. ระบบแฟลมสตีด (Flamsteed) คืออะไร?
รบกวนช่วย e-mail nok2110@hotmail.com ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

khanittha disaphirom

thaiastro

ต่อไปนี้คือคำตอบของคำถาม 4 ข้อของคุณขนิษฐา ขออภัยในความล่าช้าครับ

1. ดาวนิวตรอนต่างจากหลุมดำอย่างไร?

ดาวนิวตรอน คือแกนกลางของดาวที่หลงเหลือจากการระเบิดที่เรียกว่าซูเปอร์โนวา มีมวลตั้งแต่ 1.5 ถึง 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ประกอบไปด้วยนิวตรอนเกือบจะทั้งหมด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 กม. ความหนาแน่น 100 ล้านล้านตัน ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วรอบละอย่างช้า 4 วินาที อย่างเร็ววัดได้นับเป็นส่วนพันของวินาที ในขณะที่หมุนนั้นก็กระจายคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เราจึงตรวจจับสัญญาณของมันได้ และเรียกมันในอีกชื่อหนึ่งว่า พัลซาร์ (Pulsar - มาจากคำว่า Pulse = ชีพจร)

หลุมดำ คือวัตถุที่มีแรงดึงดูดสูงมากจนแม้แต่แสงก็ถูกดูดเอาไว้ ไม่สามารถแผ่ออกมาจากตัวมันได้เลย การที่วัตถุในอวกาศจะมีแรงดึงดูดสูงมากถึงเพียงนั้นได้ จะต้องมีมวลมากเกินกว่า 3 เท่าของดวงอาทิตย์ และมวลนั้นจะต้องอัดกันอยู่ในปริมาตรเล็ก ๆ เส้นผ่านศูนย์กลางไม่กี่กิโลเมตร

ทั้งดาวนิวตรอนและหลุมดำเป็นจุดสิ้นสุดอายุขัยของดาวฤกษ์ ส่วนว่าเมื่อดาวฤกษ์ตายไป จะกลายเป็นหลุมดำหรือดาวนิวตรอน ก็ขึ้นอยู่กับมวลที่เหลืออยู่หลังความตาย

ดาวฤกษ์ส่องสว่างอยู่ได้ด้วยพลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในดวงดาว เมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หมดลง ดาวดวงนั้นจะหดตัว และถ้ามันมีมวลมากพอ ในที่สุดมันจะระเบิดออก กลายเป็นชูเปอร์โนวา สำหรับซากแกนกลางที่เหลืออยู่ หลังการระเบิดนั้น ถ้าเหลือมวลตั้งแต่ 1.5 ถึง 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ซากนั้นก็คือ ดาวนิวตรอน แต่ถ้ามันหนักกว่านั้น เราก็ได้หลุมดำ

2. ทำไมในเดือนบางเดือนจึงสามารถเกิดพระจันทร์เต็มดวงได้ 2 ครั้งในเดือนเดียวกันได้?

เพราะจำนวนวันนับจากจันทร์เพ็ญครั้งหนึ่ง ไปถึงจันทร์เพ็ญอีกครั้งหนึ่ง มีแค่ 29.53 วัน ซึ่งสั้นกว่าจำนวนวันในเกือบทุกเดือน ถ้าจันทร์เพ็ญครั้งแรกตกในวันที่ 1 หรือ 2 ของเดือน จันทร์เพ็ญครั้งต่อไปอาจตกอยู่แถว ๆ ต้นเดือนถัดไป หรือปลายเดือนเดิม ถ้าเดือนนั้นมีวันมากพอ

3. ดงดาวหางของอูร์ต (Oort's Clound) อยู่ที่ไหนและมีลักษณะอย่างไร?

Oort Cloud (อ่านว่า อ๊อด และไม่มี 's) เป็น "เปลือก" หุ้มรอบระบบสุริยะ ไกลประมาณ 1 ปีแสงจากดวงอาทิตย์ ประกอบด้วยก้อนวัตถุนับล้านล้านก้อนที่ลอยอยู่ เมื่อใดที่มีแรงมาทำให้ก้อนวัตถุดังกล่าวเสียสมดุล หลุดจากวงโคจรเดิม มันก็อาจโคจรเข้าหาดวงอาทิตย์ กลายเป็นดาวหางชนิดที่มีคาบนานกว่า 200 ปี (long period comet)

4. ระบบแฟลมสตีด (Flamsteed) คืออะไร?

ตัวเลขแฟลมสตีด (Flamsteed Numbers) เป็นหมายเลขประจำดาวแต่ละดวง ในแต่ละกลุ่มดาว เรียงตามลำดับ Right Ascension นั่นคือจากซ้ายไปขวา แต่เดิมใช้กับดาวทุกดวงในกลุ่มดาว แต่เมื่อความนิยมให้ชื่อดาวเด่น ๆ ของแต่ละกลุ่มดาวเปลี่ยนไปเป็นการใช้อักษรกรีก (อักษรเบเยอร์ - Bayer letters) ตามแผนที่ดาวของโยฮัน บายเออร์ ตัวเลขแฟลมสตีดจึงใช้กับดาวที่ไม่มีอักษรเบเยอร์เท่านั้น

วิษณุ เอื้อชูเกียรติ


แก้ว

สวัสดีค่ะ คุณวิมุติ
จากที่เคยอ่านใน homepage ของชมรมดาราศาสตร์ไทย ที่ว่าขณะนี้ดาวเคราะห์ดวงนั้นกำลังเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวนี้ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ขณะนี้โลกของเรากำลังเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวใดอยู่ (กลุ่มดาวจักรราศี) พอจะมีวิธีสังเกตได้อย่างไร ถ้าสมมติว่าตอนนี้เรายังไม่มีปฏิทินใช้ ช่วยอธิบายด้วยนะคะ
ขอบคุณอย่างมากค่ะ

แก้ว

thaiastro

การที่เราเรียกว่าขณะนั้นดาวอังคารอยู่ในกลุ่มดาวนั้นหรือดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวนี้ เป็นการบอกตำแหน่งโดยเอาโลกเป็นศูนย์กลาง แล้วดาวฤกษ์และกลุ่มดาวต่าง ๆ เป็นฉากหลัง ดาวเคราะห์ ซึ่งอยู่ระหว่างโลกกับฉากหลังเหล่านั้น หากมาอยู่หรือมาบังตำแหน่งกลุ่มดาวใด ก็เรียกว่า ดาวเคราะห์นั้นอยู่ในกลุ่มดาวนั้น เช่น ขณะนี้ดาวพฤหัสบดีมาบังกลุ่มดาวปลา จึงเรียกว่า ดาวพฤหัสบดีอยู่ในกลุ่มดาวปลา เป็นอย่างนี้ครับ เนื่องจากเราเอาโลกเป็นศูนย์กลาง การเรียกตำแหน่งแบบนี้จึงใช้ได้กับวัตถุในระบบสุริยะที่ไม่ใช่โลกเท่านั้น จะใช้กับโลกไม่ได้ครับ

การสังเกตนั้น หากเราไม่มีปฏิทินที่บอกตำแหน่งดาวเคราะห์ใช้ เราก็ทราบได้ถ้าเรารู้จักกลุ่มดาวจักรราศีดีพอ เพราะถ้ามีดาวเคราะห์อยู่ที่ไหน เราก็จะสังเกตเห็นได้ในทันที่เพราะจะเห็นเป็นดาวแปลกปลอมขึ้นมาที่ไม่คุ้นเคย ส่วนจะเป็นดาวเคราะห์ดวงไหนนั้นก็พอจะแยกแยะได้ไม่ยากเพราะแต่ละดวงมีลักษณะเด่นต่างกัน อย่างเช่น ถ้าสีแดงหรือส้มผิดแผกจากเขา อย่างนี้ก็คือดาวอังคาร ถ้าอยู่ใกล้ ๆ ขอบฟ้าเฉพาะตอนหัวค่ำหรือตอนเช้ามืด ก็อาจจะเป็นดาวพุธหรือดาวศุกร์ ดาวเสาร์ดูยากสักหน่อยครับ เพราะมันจะไม่สว่างมากนัก แต่ก็ยังพอจะจำแนกออกจากดาวฤกษ์ทั่วไปได้ เพราะแสงมันจะนิ่งไม่กะพริบในขณะที่ดาวฤกษ์ดวงอื่น ๆ จะกะพริบตลอดเวลา

วิมุติ วสะหลาย


natapol supsomwong (u4103034@student1.mahidol.ac.th)

ข่าวดาราศาสตร์น่าจะมีเยอะกว่านี้นะคะ มีภาพให้ดูน้อยไปหน่อย น่าจะมีรายละเอียดมากว่านี้ ขอบคุณค่ะ

thaiastro

ผมก็รู้สึกว่าน้อยเกินไปและอยากจะเขียนให้มากกว่านี้เหมือนกันครับ ในแต่ละเดือนมีข่าวหลายข่าวที่ผมคิดว่าควรจะแปลมาลง แต่ก็ต้องเลือกเอาเพียงบางข่าวเท่านั้น เนื่องจากกำลังคนของสมาคมมีจำกัด ตกลงว่าต่อไปจะพยายามเขียนให้มากกว่านี้ครับ ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ

วิมุติ วสะหลาย


MR. Chittanon BURANACHAI (s4020095@maliwan.psu.ac.th)

สวัสดีครับ
ผมเป็นนักศึกษาปีที่ 2 ม.สงขลานครินทร์ ตอนนี้กำลังสนใจการใช้กล้อง 2 ตา เพื่อสำรวจวัตถุต่าง ๆ บนท้องฟ้า และบังเอิญได้เจอข้อมูลล้ำค่าจาก Web Site ของสมาคมดาราศาสตร์เกี่ยวกับการใช้กล้อง 2 ตา และที่น่าสนใจมากคืออุปกรณ์เสริม ที่ใช้ยึดตัวกล้องกับขาตั้งกล้องซึ่งที่นี่ (หาดใหญ่) หาซื้อไม่ได้เลยครับ ไม่ทราบว่าจะสั่งซื้อที่ไหนได้บ้าง รบกวนช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะครับ

ชิตนนท์ บูรณชัย
ม.สงขลานครินทร์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

thaiastro

อุปกรณ์สำหรับยึดที่ว่านี้ผมก็ต้องการซื้อมาใช้เช่นกัน ที่กรุงเทพฯ หาซื้อไม่ได้เลยเหมือนกันครับ ถ้าอยากซื้อจริง ๆ คงต้องใช้ไม้ตายแล้วครับ คือติดต่อกับร้านขายอุปกรณ์กล้องที่สนิทกันแล้วฝากให้เขาสั่งมาให้ ถ้าสั่งซื้อโดยตรงจากต่างประเทศแค่อันเดียว ไม่คุ้มแน่ครับ แต่ผมดู ๆ แล้วคิดว่าทำเองดีกว่าครับ มันไม่มีอะไรมากไปกว่าเหล็กงอ ๆ เจาะรู คล้องสกรู เท่านั้นเอง

วิมุติ วสะหลาย


วีระพันธ์ โตมีบุญ (veeraphan@yahoo.com)

ผมสนใจอยากอบรมการดูดาว พยายามติดต่อไปทางโทรศัพท์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ท้องฟ้าจำลองแล้วก็ไม่ได้คำตอบ จะขอความกรุณาแนะนำด้วยครับว่า จะติดต่อที่ไหนได้บ้าง

วีระพันธ์ โตมีบุญ
veeraphan@yahoo.com

thaiastro

ไม่ทราบว่าอบรมการดูดาวที่คุณวีระพันธ์กล่าวถึงนี้ หมายถึงโครงการชาวฟ้าหรือไม่นะครับ ถ้าหมายถึงโครงการนี้ จะต้องติดต่อสมาคมดาราศาสตร์ไทย 3817409 ครับ เพราะไม่ใช่โครงการของท้องฟ้าจำลอง ทางท้องฟ้าจำลองมีโครงการในทำนองนี้หรือไม่นั้นผมไม่ทราบครับ โครงการชาวฟ้าของสมาคมในรุ่นถัดไปจะจัดเอาราวปลายปีแน่ะครับ

วิมุติ วสะหลาย


SUKUN.TANTICHAROENKIAT @MSMAIL.HMA3.shlthaiban.simis.com

Dear Khun Tuck,
I have sent the message to Khun Wimut on the Planet data and there is no response. Maybe he did not get the message.

1) I think the planet data in the Thaiastro site may need to swap between the farthest and nearest orbit of the planets. For example, Mercury has the farthest orbit of 0.31 AU and the nearest orbit of 0.47 AU; or Earth, farthest = 0.98 AU and nearest = 1.02 AU. If these are correct, I wonder why the farthest figures are smaller than the nearest figures?

2) I cannot find the data on inclination of the SUN (e.g. Earth = 23.45 degree). Do you know?

3) Last night (31/01/1999), I observed the Lunar eclipse from 21:00 hrs through 23:30 hrs and saw nothing but the bright full moon! The moon appeared very normal, not a slight dim as expected. Anything wrong?

4) No info. on Feb. sky in Thaiastro site yet?

Sorry if this bothers you.

Best regards,
Sukun T.

thaiastro

Sorry for the delay. You are right. The data in the Planetary Data page is incorrect. I have corrected them already. About the inclination of the Sun, I will find and add it later.

The phenomenon on 31st Jan is called PENUMBRAL lunar eclipse. The Moon just looked slightly dimmer than normal. Maybe you did not notice any change because you expected to see the rufous Moon as in TOTAL lunar eclipse. There was nothing wrong with the timetable.

Khun Worachate has just sent the articles of sky events to me today. They will be available within the next 2 days.

Wimut Wasalai


Mr. Sittidach Ritkajorn (s401760@siit.tu.ac.th)

Dear Editor,
Could you please answer me question? I want to know more about the "New planet". Is it true or rumor?

Thank you
Sittidach Ritkajorn

thaiastro

"New planet" is one of the most exciting news in the past two years. The discovery of the first planet outside our Solar system--extrasolar planet-- happened 2 years ago. It was orbiting 51 Pegasi. Since then, additional extrasolar planets were found almost every month. Though the records may be up to two or three dozens now, none of them were seen directly by photography. Most of them were discovered by interpretation of their mother stars' spectrum fluctuations. Recently, a group of scientists could take the images of Alpha Centauri with its possible planet, but the picture is not confirmed. The possibility of taking images of extrasolar planets will be much greater in the next decade when several new generation space telescopes are in orbits.

If your "New planet" means the tenth planet of our Solar system, no such object has been discovered so far. However, the Kuiper Belt Objects, big asteroids lying just beyond orbit of Neptune, have been continuously found in recent years. These objects may be close relatives of the tenth planet and Pluto, and may be the clue to the aspects of the hidden tenth planets.

Wimut Wasalai