สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์ชุมนุม

ดาวเคราะห์ชุมนุม

15 มีนาคม 2554 โดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@yahoo.com)
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 6 ธันวาคม 2559
ดาวเคราะห์ชุมนุม (planetary grouping) เป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นดาวเคราะห์ตั้งแต่ ดวงขึ้นไป มาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเมื่อสังเกตจากพื้นโลก วันที่ สิงหาคม 2553 เกิดปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมขึ้น โดยมีดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ มาเกาะกลุ่มอยู่ใกล้กันภายในระยะ 5° เหนือท้องฟ้าทิศตะวันตกในเวลาหัวค่ำ

เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นดาวเคราะห์เพียง ดวงมาอยู่ใกล้กันบนท้องฟ้าเช่นนี้เรียกว่า planetary trio หากมองจากอวกาศแล้วลากเส้นผ่านโลกกับดาวเคราะห์อีก ดวง จะพบว่าดาวเคราะห์ทั้ง ดวง เกือบอยู่แนวเดียวกัน นอกจากนั้น เรายังจะเห็นดวงจันทร์ผ่านมาอยู่ใกล้ ๆ ดาวเคราะห์ทั้ง ดวง ในค่ำวันที่ 12 และ 13 สิงหาคม 2553

ในอดีตมีปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษก็ต่อเมื่อดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง ดวง มาปรากฏใกล้กันบนท้องฟ้า ซึ่งอาจรวมหรือไม่รวมถึงเหตุการณ์ที่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยก็ได้

ดาวเคราะห์ชุมนุมกับดาวเคราะห์เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะต่างมีวงโคจรเป็นของตัวเองและมีระนาบวงโคจรอยู่คนละระนาบ ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว ลำพังโอกาสที่ดาวเคราะห์ ดวง จะมาเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกันแบบพอดิบพอดีโดยไม่เบี่ยงเบนออกไปจากแนวเส้นตรงที่เชื่อมกันเลยนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้หรือเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง ยิ่งรวมดาวเคราะห์ทุกดวงเข้าไปก็ยิ่งไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลย

อย่างไรก็ตาม เราพบว่าโดยทั่วไป ผู้คนอาจเรียกปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุมว่าเป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์ดาวเคราะห์มาเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน (planetary alignment) นอกจากนี้ คำว่า “ดาวเคราะห์เรียงตัว” ก็อาจใช้กับกรณีที่ดาวเคราะห์หลายดวงปรากฏบนท้องฟ้าในเวลาเดียวกัน ไม่คำนึงว่ามันทำมุมห่างกันกี่องศา เพียงแต่สามารถมองเห็นมันได้พร้อมกันบนท้องฟ้าก็เป็นอันใช้ได้

ดาวเคราะห์ชุมนุมจำนวน 3, และ ดวง

โดยปกติดาวเคราะห์ชุมนุมจะใช้กับดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจแบ่งดาวเคราะห์ชุมนุมออกเป็น กรณี คือประกอบด้วยดาวเคราะห์ 3, และ ดวง (3 planetary trio, planetary quadruplet, planetary quintuplet) ดาวเคราะห์ชุมนุม ดวง เกิดขึ้นบ่อยที่สุด

ถ้าเรากำหนดให้มุม 5° คือขีดจำกัดของการชุมนุมกันระหว่างดาวเคราะห์ ดวง (คู่ที่อยู่ห่างกันที่สุดใน ดวงนี้ ห่างกันบนท้องฟ้าไม่เกิน 5°) ช่วง ค.ศ. 1980 – 2050 มีดาวเคราะห์ชุมนุมแบบ ดวง เกิดขึ้น 41 ครั้ง ปีนี้จะเกิดในวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างดาวศุกร์ ดาวอังคาร และดาวเสาร์ ปีหน้าจะเกิดขึ้น ครั้ง คือวันที่ 11 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ดาวเคราะห์ชุมนุม ดวงในช่วง ค.ศ. 2000 2030 แสดงในตาราง (อักษรย่อ พ ดาวพุธ, ศ ดาวศุกร์, อ ดาวอังคาร, พฤ ดาวพฤหัสบดี, ส ดาวเสาร์ มุมห่างในคอลัมน์ขวามือสุดเป็นของดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในขณะนั้น)

วัน เดือน ปี (ค.ศ.)เวลาสากลดาวเคราะห์ ดวงมุมห่างระหว่างกันมุมห่างจากดวงอาทิตย์
15 เมษายน 200020 น.อ-พฤ-ส4° 49′17° ตะวันออก
พฤษภาคม 200021 น.พ-ศ-ส2° 20′(ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์)
19 พฤษภาคม 2000น.ศ-พฤ-ส1° 33′6° ตะวันตก
พฤษภาคม 200214 น.ศ-อ-ส2° 33′27° ตะวันออก
29 กันยายน 2004น.พ-อ-พฤ1° 00′5° ตะวันตก
26 มิถุนายน 200513 น.พ-ศ-ส1° 22′23° ตะวันออก
10 ธันวาคม 200611 น.พ-อ-พฤ0° 59′15° ตะวันตก
15 สิงหาคม 200820 น.พ-ศ-ส2° 22′16° ตะวันออก
กันยายน 200823 น.พ-ศ-อ3° 32′24° ตะวันออก
12 กันยายน 200816 น.พ-ศ-อ3° 34′25° ตะวันออก
24 กุมภาพันธ์ 2009น.พ-อ-พฤ3° 40′21° ตะวันตก
สิงหาคม 2010น.ศ-อ-ส4° 36′46° ตะวันออก
11 พฤษภาคม 201120 น.พ-ศ-พฤ2° 03′26° ตะวันตก
21 พฤษภาคม 2011น.พ-ศ-อ2° 08′22° ตะวันตก
27 พฤษภาคม 2013น.พ-ศ-พฤ2° 22′16° ตะวันออก
26 ตุลาคม 2015น.ศ-อ-พฤ3° 33′43° ตะวันตก
10 มกราคม 202112 น.พ-พฤ-ส2° 15′12° ตะวันออก
13 กุมภาพันธ์ 202110 น.พ-ศ-พฤ4° 34′10° ตะวันตก
20 เมษายน 202623 น.พ-อ-ส1° 39′22° ตะวันตก
17 มิถุนายน 2028น.พ-ศ-อ4° 34′19° ตะวันตก


ถ้าเรากำหนดให้มุม 5° เป็นขีดจำกัดของการชุมนุมกันระหว่างดาวเคราะห์ ดวง ช่วง ค.ศ. ถึง ค.ศ. 3500 มีดาวเคราะห์ชุมนุมแบบ ดวง เกิดขึ้น 40 ครั้ง ครั้งถัดไปวันที่ พฤศจิกายน ค.ศ. 2100 ระหว่างดาวพุธ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ แต่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากจนไม่สามารถสังเกตได้ ดาวเคราะห์ชุมนุม ดวงในช่วง ค.ศ. 1600 2500 แสดงในตาราง

วัน เดือน ปี (ค.ศ.)เวลาสากลดาวเคราะห์ ดวงมุมห่างระหว่างกันมุมห่างจากดวงอาทิตย์
กันยายน 1624น.พ-ศ-อ-พฤ4° 50′1° ตะวันตก
11 มิถุนายน 168018 น.พ-ศ-อ-พฤ4° 33′22° ตะวันตก
17 มีนาคม 1725น.พ-ศ-อ-พฤ1° 11′24° ตะวันตก
พฤษภาคม 182114 น.พ-อ-พฤ-ส4° 43′24° ตะวันตก
กันยายน 1861น.พ-อ-พฤ-ส4° 08′(ร่วมทิศกับดวงอาทิตย์)
28 ตุลาคม 191012 น.พ-ศ-อ-พฤ3° 02′7° ตะวันตก
พฤศจิกายน 210013 น.พ-อ-พฤ-ส4° 47′8° ตะวันตก
16 กรกฎาคม 2297น.พ-ศ-อ-ส3° 58′21° ตะวันตก
กุมภาพันธ์ 237813 น.ศ-อ-พฤ-ส2° 37′32° ตะวันออก
15 พฤษภาคม 247012 น.พ-ศ-อ-ส4° 52′10° ตะวันตก


เหตุการณ์ที่ดาวเคราะห์สว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง ดวง มาชุมนุมกันภายในระยะ 10° เกิดขึ้นยากมาก ครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในวันที่ กันยายน ค.ศ. 2040 ค่ำวันเดียวกันนั้นประเทศไทยจะเห็นดวงจันทร์เสี้ยวอยู่ท่ามกลางดาวเคราะห์ทั้ง ดวงอีกด้วย ดาวเคราะห์สว่าง ดวง มาชุมนุมกันภายในระยะ 10° นับตั้งแต่ ค.ศ. ถึง ค.ศ. 5000 มี ครั้ง แสดงในตาราง

วัน เดือน ปี (ค.ศ.)เวลาสากลมุมห่างระหว่างกันมุมห่างจากดวงอาทิตย์
ตุลาคม 33210 น.8° 42′10° ตะวันตก
25 มิถุนายน 71018 น.5° 41′20° ตะวันออก
17 กันยายน 1186น.8° 41′1° ตะวันออก
กันยายน 2040น.9° 17′21° ตะวันออก
26 พฤศจิกายน 495910 น.7° 56′15° ตะวันออก



ดาวเคราะห์ชุมนุม ดวง กับดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

วันที่ พฤษภาคม พ.ศ. 2543 เกิดปรากฏการณ์ที่ดาวเคราะห์ซึ่งเห็นได้ด้วยตาเปล่าทั้ง ดวง รวมทั้งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ มาอยู่ใกล้กันภายในระยะ 25° 56′ แต่ถูกแสงอาทิตย์กลบ ไม่สามารถสังเกตได้จากโลก ครั้งนั้นมีผู้คาดว่าแรงจากดาวเคราะห์ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ จะทำให้โลกประสบภัยพิบัติ แต่ก็ไม่ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงอย่างที่ลือกัน

เหตุการณ์ที่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์สว่างเห็นได้ด้วยตาเปล่า ดวง มาชุมนุมกันภายในระยะ 30° นับตั้งแต่ ค.ศ. 1600 ถึง ค.ศ. 2500 มี ครั้ง แสดงในตาราง

วัน เดือน ปี (ค.ศ.)เวลาสากลมุมห่างระหว่างกัน
10 กันยายน 162420 น.26° 34′
ธันวาคม 1662น.24° 20′
เมษายน 182120 น.21° 04′
30 เมษายน 182123 น.25° 41′
กุมภาพันธ์ 1962น.16° 09′
พฤษภาคม 2000น.25° 56′
กันยายน 2040น.29° 24′
พฤศจิกายน 2100น.28° 45′
22 เมษายน 243818 น.23° 59′


2525 โลกาวินาศ


หนังสือ The Jupiter Effect แต่งโดย จอห์น กริบบิน (John Gribbin) และ สตีเฟน แพลจแมนน์ (Stephen Plagemann) เมื่อ พ.ศ. 2517 กลายเป็นหนังสือขายดี เมื่อพวกเขาอ้างว่าเดือนมีนาคม พ.ศ. 2525 ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจะเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน และแรงโน้มถ่วงในรูปของแรงไทด์ (tidal force) จะทำให้ดวงอาทิตย์มีจุดมืด (sunspot) เพิ่มขึ้น ปลดปล่อยอนุภาคพลังงานสูงออกมา ส่งผลกระทบต่อการหมุนรอบตัวเองของโลกอย่างฉับพลัน ก่อให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงตามรอยเลื่อนซานอันเดรียส (San Andreas) ถล่มเมืองลอสแอนเจลีสของสหรัฐอเมริกา


ในความเป็นจริงไม่มีการเรียงตัวกันของดาวเคราะห์ในลักษณะดังที่กล่าวอ้าง นักวิทยาศาสตร์ต่างออกมาคัดค้านและชี้ให้เห็นว่าดาวเคราะห์อยู่ไกลจากโลกและดวงอาทิตย์มาก แรงไทด์จากดาวเคราะห์ซึ่งแปรผกผันกับระยะทางยกกำลังสาม ส่งผลต่อโลกและดวงอาทิตย์น้อยมาก แต่ผู้คนจำนวนหนึ่งก็เชื่อในคำทำนายนี้ อาจเป็นเพราะกริบบินเป็นนักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ส่วนแพลจแมนน์ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ในกองบรรณาธิการของวารสารเนเจอร์ (Nature) ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง

ปีนั้นไม่มีแผ่นดินไหวรุนแรงในลอสแอนเจลีส อย่างไรก็ตาม เรามักพบเห็นการพยายามเชื่อมโยงหรือทำนายแผ่นดินไหว พายุ น้ำท่วม ภัยพิบัติต่าง ๆ นานา จากปรากฏการณ์ดาวเคราะห์เรียงกันหรือดาวเคราะห์ชุมนุมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

หมายเหตุ

การคำนวณหาวัน เวลา และมุมที่ดาวเคราะห์ห่างกัน จำเป็นต้องใช้ตำแหน่งดาวเคราะห์ที่มีความแม่นยำสูง บทความนี้คำนวณตำแหน่งดาวเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยฐานข้อมูลและทฤษฎีการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์จาก แหล่ง ได้แก่ DE406 ขององค์การนาซา สหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถใช้คำนวณตำแหน่งดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงจันทร์ได้ระหว่าง ค.ศ. –3001 ถึง ค.ศ. 3000 และ VSOP87 ของสำนัก Bureau des Longitudes สถาบันจัดทำปฏิทินดาราศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส

บทความจากวารสารทางช้างเผือก ฉบับกรกฎาคม 2553