สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เจมินกามีดาวเคราะห์?

เจมินกามีดาวเคราะห์?

27 พ.ค. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
จอห์น อาร์ แมททอคซ์ แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ได้ใช้หอดูดาวคอมป์ตันแกมมาเรย์ (Compton Gamma Ray Observatory) ขององค์การนาซา สำรวจพัลซาร์ที่ชื่อว่าเจมินกา และได้ตรวจพบสัญญาณที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นคาบ ๆ ละ 5.1 ปี ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าพัลซาร์นี้มีดาวเคราะห์ที่มีมวล 1.7 เท่าของโลกโคจรรอบอยู่ แต่สัญญาณที่วัดมาได้อย่างต่อเนื่องนี้มีความยาวเพียงหนึ่งคาบสัญญาณเท่านั้น บางทีการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณนี้อาจเป็นเพียงผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในพัลซาร์เองก็ได้ ถ้าจะยืนยันอย่างแน่ชัดว่าเป็นผลจากดาวเคราะห์จริง จะต้องสะสมข้อมูลอย่างต่อเนื่องให้มากและนานกว่านี้ เช่นตรวจจับการเกิดอุปราคา เป็นต้น 

เป็นเรื่องไม่ธรรมดานักที่พัลซาร์จะมีดาวเคราะห์ นอกจากกรณีของเจมินกาแล้ว พัลซาร์ PSR 1257+12 ในกลุ่มดาวหญิงสาวก็เป็นที่เชื่อกันว่ามีดาวเคราะห์เป็นอยู่ หรือ ดวง เป็นบริวาร 

เมื่อมีเรื่องของดาวเคราะห์ดวงใหม่ คำถามที่มักจะตามมาติด ๆ ก็คือ จะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงนั้นหรือไม่? สำหรับกรณีของดาวเคราะห์ของพัลซาร์นั้น เป็นไปได้ยากมากที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากพายุของอนุภาคพลังงานสูงบนดาวเคราะห์ที่ได้รับจากพัลซาร์นั้นมีความเข้มข้นรุนแรงมาก หรือรุนแรงกว่าแฟลร์ของดวงอาทิตย์เสียด้วยซ้ำ 

อ่านเรื่องราวของเจมินกาได้จาก "เจมินกา ซูเปอร์โนวาที่สว่างที่สุด" ใน ทางช้างเผือก ฉบับ กรกฎาคม-กันยายน 2539 

ที่มา: