สมาคมดาราศาสตร์ไทย

บริวารดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง

บริวารดาวเคราะห์น้อยดวงที่สอง

18 ส.ค. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อ ปีที่แล้ว ยานกาลิเลโอได้ค้นพบบริวารของดาวเคราะห์น้อยเป็นครั้งแรก ดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นคือ 243 ไอดา (243 Ida) มีบริวารขนาดเล็กเพียง กิโลเมตรโคจรรอบอยู่ชื่อว่าแด็กทีล (Dactyl) ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์ได้พบหลักฐานบางอย่างที่บอกว่าดาวเคราะห์น้อย 3671 ไดโอนีซัส (3671 Dionysus) ก็อาจมีบริวารบ้างเช่นเดียวกัน 

ขณะที่สเตฟาโน มอตโตลา และ เกอร์ฮาร์ด ฮาฮ์น จาก German Aerospace Research ได้สำรวจดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ เขาได้พบว่าทุก ๆ 1.155 วันดาวเคราะห์น้อยจะมีความสว่างลดลง 0.08 แมกนิจูด ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยเองมีอัตราการหมุนรอบตัวเองเท่ากับ 2.7 ชั่วโมง ดังนั้นเขาจึงสรุปว่า ไดโอนีซัสอาจมีดวงจันทร์บริวารโคจรรอบอยู่ในระนาบที่ตรงกับแนวสายตาของเรา ถ้าสมมติฐานนี้เป็นจริง ดวงจันทร์น้อยดวงนี้จะผ่านหน้าและอ้อมไปด้านหลังดาวเคราะห์น้อยทุก ๆ 28 ชั่วโมง 

การค้นพบครั้งนี้เป็นการสนับสนุนว่าอาจมีดาวเคราะห์น้อยนับพันดวงที่มีบริวารเช่นกัน 

ไดโอนีซัสเป็นดาวเคราะห์น้อยแบบอะพอลโล ซึ่งเป็นประเภทที่มีวงโคจรรีมากและเฉียดวงโคจรของโลกแต่มีโอกาสชนโลกน้อยมาก มีผิวดาวที่ค่อนข้างสว่างและมีขนาดเล็กมากเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงประมาณ กิโลเมตร ในขณะที่ไอดามีขนาด 60 กิโลเมตร 

ไดโอนีซัสได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในต้นเดือนกรกฎาคมในระยะ 17 ล้านกิโลเมตร มีอันดับความสว่าง 15 และจะเข้าใกล้โลกอีกครั้งใน 13 ปีข้างหน้า 



ไอดาและแด็กทีล

ไอดาและแด็กทีล

คาบของความสว่างที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์น้อย (เส้นบน) เส้นความสว่างที่วัดได้ในช่วงที่เกิดจากการอุปราคา (เส้นกลาง) ความสว่างที่ลดลงที่เกิดจากอุปราคาของดวงจันทร์บริวาร (เส้นล่าง)

คาบของความสว่างที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของดาวเคราะห์น้อย (เส้นบน) เส้นความสว่างที่วัดได้ในช่วงที่เกิดจากการอุปราคา (เส้นกลาง) ความสว่างที่ลดลงที่เกิดจากอุปราคาของดวงจันทร์บริวาร (เส้นล่าง)

ที่มา: