สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ตามหาแหล่งพลังงานในวงแหวนประจุไฟฟ้าของดาวพฤหัสบดี

ตามหาแหล่งพลังงานในวงแหวนประจุไฟฟ้าของดาวพฤหัสบดี

18 ส.ค. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วงแหวนประจุไฟฟ้าวงหนึ่งรอบดาวพฤหัสบดี พลังงานจากอนุภาคประจุไฟฟ้าในวงแหวนนี้มีมากกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นบนโลกทั้งหมด บางทีพลังงานนี้อาจเกิดจากแหล่งพลังงานลึกลับที่เรายังไม่รู้จักของดาวพฤหัสบดี 

นิโคลัส ชไนเดอร์ และ ไมเคิล คูเอปเพอรส์ นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งโคโลราโด ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล สำรวจวงแหวนปริศนาคล้ายโดนัทรอบดาวพฤหัสบดีที่เรียกกันว่า Io torus ซึ่งค้นพบในปี พ.ศ. 2529 พลังงานจากวงแหวนนี้ส่วนใหญ่อยู่ในย่านของคลื่นอัลตราไวโอเลต ซึ่งมีอุณหภูมิถึง 55,000 องศาเซลเซียส 

วงแหวนโดนัทนี้ได้สร้างความประหลาดใจให้กับนักสำรวจมานานนับตั้งแต่มีการค้นพบมาแล้ว สิ่งที่น่าฉงนเป็นอย่างมากก็คือแหล่งพลังงานมหาศาลของวงแหวนนั้นคืออะไร และเพราะเหตุใดวงแหวนซีกหนึ่งจึงสว่างกว่าวงแหวนในอีกซีกหนึ่ง ความแตกต่างของพลังงานของทั้งสองด้านนั้นสูงมาก จึงเชื่อว่าจะต้องมีแหล่งพลังงานภายนอกที่มาทำให้ซีกที่สว่างกว่าปล่อยพลังงานได้ 

เชื่อกันว่าสสารในวงแหวนนี้เกิดจากภูเขาไฟระเบิดบนดวงจันทร์ไอโอ ซึ่งพ่นเถ้าของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมา แรงโน้มถ่วงที่อ่อนบางของดวงจันทร์ไอโอไม่สามารถกักบรรยากาศเอาไว้ได้ ไอโอสูญเสียมวล ตันทุก ๆ วินาทีกับบรรยากาศที่ได้หลุดลอยออกไป อนุภาคที่หลุดลอยออกไปนี้จะแตกตัวออกเป็นกำมะถันกับออกซิเจนไอออน และถูกกักไว้ด้วยสนามแม่เหล็กอันเข้มข้นของดาวพฤหัสบดี 

นักดาราศาสตร์กำลังเฝ้าดูข้อมูลจากยานกาลิเลโอที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่รอบดาวพฤหัสบดีอยู่ ซึ่งหวังว่าน่าจะเป็นผู้ไขปัญหานี้ ยานกาลิเลโอมีสเปกโทรมิเตอร์รังสีอัลตราไวโอเลตซึ่งน่าจะสามารถตรวจจับแหล่งพลังงานปริศนานี้ได้ 

ที่มา: