สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ปิดฉากภารกิจดีปอิมแพกต์

ปิดฉากภารกิจดีปอิมแพกต์

29 ต.ค. 2556
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดีปอิมแพกต์ ซึ่งเป็นภารกิจสำรวจดาวหางของนาซา ได้ปิดภารกิจลงแล้วเมื่อต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ดำเนินมาเป็นเวลานานถึง ปี 
ยานดีปอิมแพกต์ ขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อเดือนมกราคม 2548 มีภารกิจสำคัญคือการสำรวจพื้นผิวและองค์ประกอบภายในดาวหาง พี/เทมเพิล (9P/Tempel) ด้วยวิธีการที่ไม่มียานใดเคยทำมาก่อน นั่นคือการยิงตุ้มน้ำหนักใส่นิวเคลียส เพื่อสำรวจฝุ่นที่ฟุ้งกระจายออกมาและรอยแผลที่ถูกชน หลังจากนั้นยานได้มุ่งหน้าสู่ดาวหางดวงใหม่ คือ ดาวหาง 103 พี/ฮาร์ดเลย์ (103P/Hardley) 
ในระหว่างการเดินทางนี้ ยานดีปอิมแพกต์ยังได้สำรวจดาวฤกษ์หกดวงเพื่อช่วยยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์เหล่านั้น ถ่ายภาพโลก ดวงจันทร์ และดาวอังคาร และยังช่วยยันยืนว่าบนดวงจันทร์มีน้ำ และช่วยในการค้นพบมีเทนบนดาวอังคาร
ช่วงต้นปี 2555 ยานดีปอิมแพกต์ได้ช่วยในการสำรวจและตรวจวัดองค์ประกอบของดาวหางแกราร์ด (C/2009 P1) ต่อมาในปี 2556 ก็ช่วยนักดาราศาสตร์ในการถ่ายภาพดาวหางไอซอนในช่วงต้น
การติดต่อครั้งสุดท้ายขาดหายไปในวันที่ สิงหาคม หลังจากใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการส่งคำสั่งไปยังยาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนต้องล้มเลิกความพยายามและยุติภารกิจในที่สุด
ยังไม่มีใครทราบสาเหตุแท้จริงที่การสื่อสารขาดหายไป แต่คาดว่าอาจเกิดจากการระบุเวลาของคอมพิวเตอร์บนยานขัดข้อง เป็นเหตุให้การหันเหทิศทางของยานคลาดเคลื่อน การสื่อสารวิทยุและการรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ระบบเลี้ยงความร้อนในยาน จึงล้มเหลวตามมา
นับจากภารกิจได้เริ่มต้นขึ้น ยานดีปอิมแพกต์ได้เดินทางมาแล้ว 7.58 พันล้านกิโลเมตร นับเป็นยานสำรวจดาวหางที่เดินทางไกลที่สุด
แม้ภารกิจของยานจะจบลงอย่างที่ไม่มีใครอยากให้เป็น แต่ผลงานที่ดีปอิมแพกต์ได้ทำไว้ก็มากกว่าเป้าหมายที่วางไว้อย่างมากมายเหลือคณานับ
ยานดีปอิมแพกต์ ของนาซา

ยานดีปอิมแพกต์ ของนาซา

ที่มา: