สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์น้อย(อาจ)ชนดาวอังคาร

ดาวเคราะห์น้อย(อาจ)ชนดาวอังคาร

23 ธ.ค. 2550
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
จับตาดูดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี (2007 WD5) ให้ดี ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสพุ่งชนดาวอังคารในต้นปี 2551 นี้

การคำนวณวงโคจรโดยสำนักงานวัตถุใกล้โลกขององค์การนาซาแสดงว่า ดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดประมาณ 50 เมตรนี้จะเฉียดเข้าใกล้ดาวอังคารที่สุดในวันที่ 30 มกราคม 2551 เวลา 17:55 น. ตามเวลาประเทศไทย โดยระยะใกล้ที่สุดห่างจากดาวอังคาร 48,000 กิโลเมตร

แต่ด้วยความไม่แน่นอนของวงโคจร บวกกับความคลาดเคลื่อนของการสำรวจ ทำให้เส้นทางที่แท้จริงของดาวเคราะห์น้อยอาจไม่ตรงตามที่คำนวณ ดังนั้น 2007 ดับเบิลยูดี อาจเบี่ยงออกห่างจากดาวอังคารมากกว่า 48,000 กิโลเมตร หรืออาจใกล้กว่า 48,000 กิโลเมตร หรือยิ่งกว่านั้น อาจจะชนดาวอังคารก็ได้ นักดาราศาสตร์ประเมินว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีโอกาสชนดาวอังคารประมาณ ใน 75

“ขณะนี้ (23 ธันวาคม 2550) ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี อยู่กึ่งกลางระหว่างโลกกับดาวอังคาร และกำลังมุ่งหน้าไปยังดาวอังคารด้วยความเร็วประมาณ 44,600 กิโลเมตรต่อชั่วโมง” ดอน ยีโอแมนส์ ผู้อำนวยการของสำนักงานวัตถุใกล้โลกที่ห้องปฏิบัติการเจพีแอลของนาซากล่าว

หากดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี ชนดาวอังคารจริง จุดพุ่งชนก็น่าจะอยู่บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางเหนือของดาว ซึ่งเป็นบริเวณที่รถสำรวจออปพอร์ทูนิตีของนาซากำลังปฏิบัติงานอยู่

“เราคาดว่าปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นบนดาวอังคารเฉลี่ยทุกพันปี” สตีฟ ชีสลีย์ นักวิทยาศาสตร์จากเจพีแอลกล่าว “ถ้า 2007 ดับเบิลยูดีชนดาวอังคารในวันที่ 30 มกราคมจริง มันจะพุ่งชนด้วยความเร็ว 48,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและอาจทำให้เกิดหลุมของการพุ่งชนที่มีความกว้างกว่าครึ่งไมล์” หลุมอุกกาบาตที่รถออปพอร์ทูนิตีกำลังสำรวจอยู่ในขณะนี้ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน

การพุ่งชนจะปล่อยพลังงานเท่ากับการระเบิดขนาด เมกะตัน ความรุนแรงระดับนี้เทียบเท่ากับการระเบิดที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1908 ที่ทังกัสกา ไซบีเรีย แต่การระเบิดที่ทังกัสกาไม่ทิ้งหลุมไว้ เนื่องจากวัตถุที่พุ่งเข้าใส่ได้ระเบิดและสลายไปในอากาศก่อนจะถึงพื้นดิน ในกรณีของดาวอังคารซึ่งมีบรรยากาศเบาบางกว่าโลกมาก นักดาราศาสตร์คาดว่าดาวเคราะห์น้อยมีโอกาสมาถึงพื้นดินมากกว่า

ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี ค้นพบเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 โดยโครงการสำรวจท้องฟ้าแคตทาลีนาซึ่งเป็นโครงการขององค์การนาซา การค้นพบนี้ทำให้ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อยู่ในรายชื่อของวัตถุที่ต้องจับตาด้วย เนื่องจากมีเส้นทางโคจรใกล้โลก หลังจากนั้นจึงมีการสำรวจเสริมจากหอดูดาวสเปซวอตช์ที่คิตพีก แอริโซนา และหอดูดาวแมกดาลีนาริดจ์ในนิวเมกซิโก ข้อมูลใหม่ที่ได้มาทำให้นักดาราศาตร์ทราบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อโลก แต่จะเป็นอันตรายต่อดาวอังคารแทน

เนื่องจากข้อมูลด้านวงโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้มาจากการสำรวจเป็นเวลาสั้นมากเพียงไม่ถึงเดือน ดังนั้นจึงมีความคลาดเคลื่อนได้มาก การสำรวจภายในห้าสัปดาห์ข้างหน้านี้จะช่วยให้การคำนวณหาวงโคจรแม่นยำขึ้น ว่าจะชนหรือไม่ชน
เส้นทางที่ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 จะผ่านในวันที่ 30 มกราคม 2551 ลูกศรสีน้ำเงินแสดงทิศทางจากดาวเคราะห์น้อย แถบสีส้มแสดงบริเวณที่ดาวเคราะห์น้อยอาจพุ่งผ่านหรือชน (ภาพจาก NASA/JPL)

เส้นทางที่ดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5 จะผ่านในวันที่ 30 มกราคม 2551 ลูกศรสีน้ำเงินแสดงทิศทางจากดาวเคราะห์น้อย แถบสีส้มแสดงบริเวณที่ดาวเคราะห์น้อยอาจพุ่งผ่านหรือชน (ภาพจาก NASA/JPL)

วงโคจรและตำแหน่งปัจจุบันของโลก ดาวอังคาร และดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5

วงโคจรและตำแหน่งปัจจุบันของโลก ดาวอังคาร และดาวเคราะห์น้อย 2007 ดับเบิลยูดี 5

ที่มา: