สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เสียงวอยเอเจอร์ 1 จากชายขอบระบบสุริยะ

เสียงวอยเอเจอร์ 1 จากชายขอบระบบสุริยะ

1 ส.ค. 2555
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
          หลังจากเดินทางรอนแรมจากโลกไปเป็นเวลาเกือบ 35 ปี ในที่สุดยานวอยเจอร์ ก็ไปถึงขอบของระบบสุริยะเรียบร้อยแล้ว 
          "ข้อมูลล่าสุดจากวอยเจอร์ ล้วนบ่งชี้ชัดเจนว่าสิ่งต่าง ๆ รอบยานเปลี่ยนไปไปอย่างรวดเร็ว นี่แสดงชัดว่ายานได้ไปถึงขอบของระบบสุริยะแล้ว" เอ็ด สโตน นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการวอยเอเจอร์ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียกล่าว
          ขอบระบบสุริยะที่กล่าวถึงนี้ หมายถึงขอบของสุริยมณฑล (heliosphere) ซึ่งเป็นอาณาเขตขนาดยักษ์ที่ห่อหุ้มดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ทั้งหมดไว้ เป็นบริเวณอยู่ภายใต้อิทธิพลสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ พ้นจากสุริยมณฑลออกไปก็คือบริเวณที่เรียกว่า อวกาศระหว่างดาว ซึ่งถือเป็น "นอกบ้าน" ของระบบสุริยะอย่างแท้จริง
          สัญญาณที่แสดงว่ายานไปไปถึงพรมแดนระบบสุริยะแล้วคือจำนวนของรังสีคอสมิกที่กระทบตัวยาน รังสีคอสมิกคืออนุภาคพลังงานสูงเช่น โปรตอน และนิวเคลียสของฮีเลียมจากซูเปอร์โนวาและหลุมดำที่อยู่ห่างไกลที่ถูกเร่งความเร็วจนใกล้ความเร็วแสง  สุริยมณฑลจะเป็นเกราะกำบังอนุภาคร้ายแรงเหล่านี้ ด้วยการต้าน ชลอ และเบี่ยงเบนอนุภาคเหล่านี้ ทำให้อนุภาคส่วนใหญ่เข้าไปไม่ถึงดาวเคราะห์ชั้นใน
          นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 จำนวนของรังสีคอสมิกที่กระทบยานได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างช้า ๆ จนกระทั่งถึงเดือนมกราคม 2555 จำนวนก็เพิ่มขึ้นมาประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ 
          จนเมื่อกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา อัตรากระทบก็สูงขึ้นถึงห้าเปอร์เซ็นต์ภายในสัปดาห์เดียว และเก้าเปอร์เซ็นต์ภายในหนึ่งเดือน 
          อัตราที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันนี้ หมายความว่ายานวอยเอเจอร์ น่าจะอยู่ที่ขอบของสุริยมณฑลแล้ว
          เมื่อยานวอยเอเจอร์ ได้ก้าวออกจากสุริยมณฑลแล้ว นักวิทยาศาสตร์คาดว่ายานจะพบความเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นด้วย เช่น อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จะน้อยมาก และสนามแม่เหล็กรอบตัวยานจะมีทิศทางต่างไปจากเดิมที่เคยมาจากดวงอาทิตย์ เป็นทิศทางใหม่ที่เป็นอิทธิพลจากอวกาศภายนอกซึ่งไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน ขณะนี้ทั้งสองสิ่งนี้ยังไม่เกิดขึ้น แต่การที่ระดับรังสีคอสมิกเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน อาจหมายความว่าสิ่งที่รอคอยนี้อาจอยู่อีกไม่ไกล
          ในขณะเดียวกัน ยานวอยเอเจอร์ ยานน้องของวอยเอเจอร์ ก็ยังคงมุ่งหน้าไปยังเป้าหมายของตัวเอง แต่เนื่องจากวอยเอเจอร์ เคลื่อนที่ช้ากว่า จึงทำระยะตามหลังวอยเอเจอร์ อยู่หลายพันล้านกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ทั้งสองลำก็ยังอยู่ในสภาพดี


ติดตามภารกิจของวอยเอเจอร์ได้ที่ http://voyager.jpl.nasa.gov/
ยานวอยเอเจอร์ เมื่อครั้งสำรวจดาวเสาร์

ยานวอยเอเจอร์ เมื่อครั้งสำรวจดาวเสาร์

กราฟแสดงระดับรังสีคอสมิกที่เพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ายานได้มาถึงขอบของสุริยมณฑลแล้ว

กราฟแสดงระดับรังสีคอสมิกที่เพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน อาจเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ายานได้มาถึงขอบของสุริยมณฑลแล้ว

ที่มา: