สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบเควซาร์ดึกดำบรรพ์ อายุกว่า 12,000 ล้านปี

พบเควซาร์ดึกดำบรรพ์ อายุกว่า 12,000 ล้านปี

30 มี.ค. 2558
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่งและมหาวิทยาลัยแอริโซนา ได้ค้นพบเควซาร์แห่งใหม่ที่เป็นเควซาร์ที่สว่างที่สุดในเอกภพยุคต้น 
เควซาร์นี้มีชื่อว่า เอสดีเอสเอส เจ 0100+2802 (SDSS J0100+2802) อยู่ห่างจากโลก 12.8 พันล้านปีแสง มีกำลังส่องสว่างมากกว่าดวงอาทิตย์ 420 ล้านล้านเท่า มีหลุมดำที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ถึง 12 พันล้านเท่าอยู่ที่ใจกลางซึ่งเป็นกลจักรสำคัญที่ทำให้เควซาร์นี้ส่องสว่าง ที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ เควซาร์นี้เกิดขึ้นในขณะที่เอกภพมีอายุเพียง 900 ล้านปีเท่านั้น 
การค้นพบนี้ทำให้นักดาราศาสตร์ประหลาดใจไม่น้อย ว่าเควซาร์ที่สว่างไสวและหลุมดำที่มีมวลมหาศาลเช่นนี้เกิดขึ้นในช่วงที่เอกภพมีอายุน้อยอย่างนั้นได้อย่างไร ในขณะนั้นดาวฤกษ์รุ่นแรกของเอกภพเพิ่งจะเกิดขึ้นเสียด้วยซ้ำ 
เควซาร์เป็นวัตถุนอกดาราจักรทางช้างเผือกที่แผ่พลังงานสูงมาก เกิดจากหลุมดำยักษ์ใจกลางดาราจักรที่กำลังกลืนกินแก๊สก้อนใหญ่เข้าไป จึงแผ่พลังงานออกมาสูงมาก ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบเควซาร์แล้วกว่า 200,000 ดวง 
เควซาร์ที่เพิ่งพบใหม่นี้แผ่พลังงานออกมามากกว่าดวงอาทิตย์ 420 ล้านล้านเท่า สว่างกว่าเควซาร์ที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่รู้จักถึง เท่า มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ 12 พันล้านเท่า จึงนับเป็นเควซาร์ที่สว่างและมวลสูงที่สุดในบรรดาเควซาร์ทั้งหมดที่ทราบค่าการเลื่อนไปทางแดงของสเปกตรัม เทียบกับหลุมดำยักษ์ของดาราจักรทางช้างเผือกแล้ว หลุมดำยักษ์ของเรามีมวลเพียง ล้านเท่าของดวงอาทิตย์เท่านั้น ต่างกันถึง 3,000 เท่า
นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเควซาร์ เอสดีเอสเอส เจ 0100+2802 ด้วยการใช้กล้องลี่เจียงขนาด 2.4 เมตรที่มลฑลยูนนาน ประเทศจีน หลังจากการค้นพบจึงได้มีการติดตามต่อโดยกล้องแอลบีทีขนาด 8.4 เมตรที่ตั้งอยู่บนเขาเกรแฮม กล้องเอ็มเอ็มทีขนาด 6.5 เมตรที่อยู่บนเขาฮอปกินส์ และกล้องเจมิไนเหนือขนาด 8.2 เมตรบนเขามานาเคอา เพื่อยืนยันการค้นพบ
บรัม เวเนมันส์ จากสถาบันฟิสิกส์ดาราศาสตร์มักซ์พลังค์ เยอรมนี อธิบายว่า การพบหลุมดำที่มีมวลระดับหนึ่งหมื่นล้านเท่าของดวงอาทิตย์ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ที่เอกภพมีอายุไม่เกิน พันล้านปีอาจไม่ถึงกับเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องแปลกมาก การที่หลุมดำจะโตได้เร็วขนาดนี้ จะต้องเขมือบแก๊สด้วยอัตราสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตลอดช่วงอายุขัย ซึ่งถือว่าเหลือเชื่อ เพราะแก๊สที่กำลังถูกดูดเข้าสู่หลุมดำจะแผ่รังสีซึ่งมีความดันออกสู่ภายนอก เป็นการยับยั้งการพอกพูนมวลของหลุมดำเอง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อหลุมดำมีอายุได้ 10-100 ล้านปี 
เอสดีเอสเอส เจ 0100+2802 เป็นหนึ่งหลุมดำระดับพันล้านมวลสุริยะเพียงไม่กี่แห่งที่เกิดขึ้นในขณะที่เอกภพมีอายุไม่กี่ร้อยล้านปี การพบหลุมดำอย่างนี้ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมาย ว่าดาราจักรที่เป็นต้นกำเนิดหลุมดำนี้มีมวลเท่าใด มันจะเติบโตไปเป็นหลุมดำยักษ์ได้หรือไม่? หลุมดำนี้พอกพูนมวลได้เร็วขนาดนี้ได้อย่างไร ซึ่งจะต้องมีการค้นคว้าหาคำตอบกันต่อไป
เควซาร์ <wbr>คือหลุมดำยักษ์ใจกลางดาราจักรที่กำลังกลืนกินแก๊สด้วยอัตราสูงมาก<br />

เควซาร์ คือหลุมดำยักษ์ใจกลางดาราจักรที่กำลังกลืนกินแก๊สด้วยอัตราสูงมาก
(จาก Zhaoyu Li/NASA/JPL-Caltech/Misti Mountain Observatory)

เควซาร์ที่เพิ่งพบใหม่ <wbr>ชื่อ <wbr>เอสดีเอสเอส <wbr>เจ <wbr>0100+2802 <wbr>(SDSS <wbr>J0100+2802) <wbr>เป็นเควซาร์ที่สว่างที่สุดในบรรดาเควซาร์ที่มีการเลื่อนไปทางแดงมากกว่า <wbr>6 <wbr>(อายุ <wbr>12.8 <wbr>พันล้านปี) <wbr><br />

เควซาร์ที่เพิ่งพบใหม่ ชื่อ เอสดีเอสเอส เจ 0100+2802 (SDSS J0100+2802) เป็นเควซาร์ที่สว่างที่สุดในบรรดาเควซาร์ที่มีการเลื่อนไปทางแดงมากกว่า (อายุ 12.8 พันล้านปี) 
(จาก Data : Zhaoyu Li (Shanghai Astronomical Observatory); Background image: Yunnan Observatories - )

ที่มา: