สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบดาวเคราะห์น้อยจากเมฆออร์ต

พบดาวเคราะห์น้อยจากเมฆออร์ต

15 พ.ค. 2559
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์พบวัตถุดึกดำบรรพ์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ มันคล้ายดาวเคราะห์น้อย แต่มีเส้นทางโคจรแบบดาวหาง แล้วมันก็คล้ายจะมีหาง แต่ก็น้อยเกินกว่าจะเป็นดาวหาง

วัตถุดวงนี้คือ ซี/2014 เอส (แพนสตารรส์) ค้นพบในปี 2557 โดยกล้องแพน-สตารรส์  ในขณะนั้นอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณสองเท่าของระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์ถึงโลก โดยถูกระบุชนิดว่าเป็นดาวหางที่มีอันตรกิริยาอ่อน  มีวงโคจรรีมาก โคจรรอบดวงอาทิตย์รอบหนึ่งใช้เวลาประมาณ 860 ปี วงโคจรที่รียาวเช่นนี้บ่งบอกว่ามีต้นกำเนิดมาจากเมฆออร์ต และเพิ่งถูกแรงรบกวนจากภายนอกเบี่ยงวงโคจรให้เข้ามาในระบบสุริยะชั้นในได้ 

เมฆออร์ต เป็นบริเวณรอบนอกของระบบสุริยะ เป็นที่อยู่ของวัตถุประเภทน้ำแข็งจำนวนมากซึ่งเป็นวัตถุต้นกำเนิดดาวหางคาบยาว บางคนจึงเรียกเมฆออร์ตว่าดงดาวหางออร์ต การที่ ซี/2014 เอส (แพนสตารรส์) มีทิศทางมาจากเมฆออร์ต ก็น่าจะเชื่อว่าเป็นดาวหาง แต่นักดาราศาสตร์สังเกตว่าวัตถุดวงนี้ออกจะไม่ธรรมดา เพราะมีสมบัติหลายอย่างไม่เหมือนดาวหางคาบยาวทั่วไปที่เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ การวัดสเปกตรัมพบว่ามีสเปกตรัมคล้ายดาวเคราะห์น้อยชนิดเอส ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยที่พบได้ทั่วไปบริเวณแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก และดูเหมือนว่าเนื้อของวัตถุดวงนี้ผ่านการแปรสภาพมาเพียงน้อยนิด แสดงว่าต้องผ่านการแช่แข็งมาเป็นเวลานานมาก อย่างไรก็ตามยังมีความคล้ายดาวหางอีกอย่างหนึ่งคือ มีการระเหิดของน้ำแข็งบ้าง แต่เกิดขึ้นในระดับอ่อนกว่าที่เกิดกับดาวหางคาบยาวที่อยู่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เท่ากันนี้ถึงราวหนึ่งล้านเท่า

คาเรน มีช จากสถาบันดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาวาย สันนิษฐานว่า ซี/2014 เอส (แพนสตารรส์) มีต้นกำเนิดในยุคเดียวกับที่โลกกำเนิดขึ้นมา แต่ได้ย้ายวงโคจรออกไปไกลถึงเมฆออร์ต แล้วต่อมาจึงได้เบี่ยงทิศทางเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์อีกครั้ง นับว่าเป็นวัตถุหินจากเมฆออร์ตก้อนแรกที่มีการค้นพบ

หากเป็นเช่นนั้นจริง วัตถุดวงนี้จะมีความสำคัญเยี่ยงวัตถุโบราณที่เก็บงำความลับของอดีตกาลเกี่ยวกับต้นกำเนิดระบบสุริยะ

เรารู้จักดาวเคราะห์น้อยมากมาย แต่ดาวเคราะห์น้อยทั้งหมดอยู่ในเขตระบบสุริยะชั้นใน จึงถูกแสงอาทิตย์แผดเผามาเป็นเวลานับพันล้านปี ส่วนวัตถุดวงนี้ได้ไปอยู่ในเมฆออร์ตตั้งแต่ยุคแรก จึงเป็นเหมือนการหยุดเวลาไว้ เรียกได้ว่าเป็นดาวเคราะห์น้อยดิบ สมบัติต่างๆ ในตัวมันจึงถูกเก็บรักษาไว้เหมือนเพิ่งเริ่มเกิด วัตถุตั้งต้นที่ก่อกำเนิดดาวเคราะห์ต่าง ๆ รวมถึงโลกอาจมีลักษณะแบบเดียวกับ ซี/2014 เอส (แพนสตารรส์) ด้วยเหตุนี้การศึกษาวัตถุดวงนี้อาจให้เบาะแสเกี่ยวกับต้นกำเนิดของระบบสุริยะได้มากกว่าการศึกษาดาวเคราะห์น้อยดวงอื่น 

ภาพของวัตถุ <wbr>ซี/2014 <wbr>เอส <wbr>3 <wbr>(แพนสตารรส์) <wbr>ตามจินตนาการของศิลปิน <wbr>นักดาราศาสตร์พบว่าวัตถุดวงนี้มีวงโคจรคล้ายดาวหางคาบยาว <wbr>แต่กลับมีสมบัติทางกายภาพคล้ายดาวเคราะห์น้อย <wbr>ภาพนี้แสดงว่ามีหลุมอุกกาบาตเพียงเล็กน้อย <wbr>เนื่องจากวัตถุดวงนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บริเวณขอบนอกของระบบสุริยะ <wbr><br />

ภาพของวัตถุ ซี/2014 เอส (แพนสตารรส์) ตามจินตนาการของศิลปิน นักดาราศาสตร์พบว่าวัตถุดวงนี้มีวงโคจรคล้ายดาวหางคาบยาว แต่กลับมีสมบัติทางกายภาพคล้ายดาวเคราะห์น้อย ภาพนี้แสดงว่ามีหลุมอุกกาบาตเพียงเล็กน้อย เนื่องจากวัตถุดวงนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่บริเวณขอบนอกของระบบสุริยะ 
(จาก ESO/M. Kornmesser.)

เส้นทางการย้ายถิ่นฐานของ <wbr>ซี/2014 <wbr>เอส <wbr>3(แพนสตารรส์) <wbr>[C/2014 <wbr>S3 <wbr>(PANSTARRS)] <wbr>วัตถุดวงนี้มีต้นกำเนิดในระบบสุริยะชั้นใน <wbr>แต่ต่อมาย้ายไปอยู่ในเมฆออร์ตซึ่งอยู่ขอบนอกของระบบสุริยะ <wbr>และใช้เวลาที่นั่นเป็นเวลากว่าสี่พันล้านปี <wbr>ก่อนจะกลับเข้ามาในระบบสุริยะอีกครั้ง<br />

เส้นทางการย้ายถิ่นฐานของ ซี/2014 เอส 3(แพนสตารรส์) [C/2014 S3 (PANSTARRS)] วัตถุดวงนี้มีต้นกำเนิดในระบบสุริยะชั้นใน แต่ต่อมาย้ายไปอยู่ในเมฆออร์ตซึ่งอยู่ขอบนอกของระบบสุริยะ และใช้เวลาที่นั่นเป็นเวลากว่าสี่พันล้านปี ก่อนจะกลับเข้ามาในระบบสุริยะอีกครั้ง
(จาก ESO/L. Calçada.)

ซี/2014 เอส 3 (แพนสตารรส์) ถ่ายโดยกล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย

ซี/2014 เอส 3 (แพนสตารรส์) ถ่ายโดยกล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวาย (จาก K. Meech (IfA/UH)/CFHT/ESO.)

ที่มา: