สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สนามแม่เหล็กในดาวเคราะห์ระบบสุริยะอื่น

สนามแม่เหล็กในดาวเคราะห์ระบบสุริยะอื่น

29 พ.ค. 2550
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์สามารถวัดสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ที่มีดาวเคราะห์แบบ "พฤหัสร้อน" อยู่ด้วย

คณะนักวิทยาศาสตร์นำโดย โคลด คาตาลา จากหอดูดาวปารีสได้สำรวจดาวเทาคนเลี้ยงสัตว์ (Tau Bootis) ด้วยกล้องแคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวายที่ตั้งอยู่บนเขามานาเคอา ฮาวาย ดาวดวงนี้มีมวลราวหนึ่งเท่าครึ่งของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลกราว 50 ปีแสง มีสนามแม่เหล็กเข้มกว่าดวงอาทิตย์เล็กน้อย ส่วนดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ดวงนี้มีมวล 4.4 เท่าของดาวพฤหัสบดี และมีรัศมีวงโคจร 7.3 ล้านกิโลเมตรหรือราว เปอร์เซ็นต์ของรัศมีวงโคจรโลกเท่านั้น 

นักดาราศาสตร์ได้ตั้งข้อสงสัยว่า บางทีสนามแม่เหล็กอาจมีบทบาทสำคัญที่ทำให้มีดาวเคราะห์แบบพฤหัสร้อน เชื่อว่าเดิมทีดาวเคราะห์พวกนี้มีต้นกำเนิดอยู่ห่างจากดาวฤกษ์มาก แต่ต่อมาได้เคลื่อนที่เข้ามาใกล้มากขึ้น สนามแม่เหล็กเป็นตัวหยุดดาวเคราะห์ไว้ที่วงโคจรเล็ก ๆ ไม่ให้เข้ามาใกล้จนชนดาวฤกษ์ 

การสำรวจขั้นต่อไปกับดาวฤกษ์อื่นที่คล้ายกันจะช่วยให้ข้อสรุปนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น


ดาวเคราะห์กับสนามแม่เหล็กของดาวเทาคนเลี้ยงสัตว์ ตามจินตนาการของศิลปิน (ภาพจาก David Aguilar, CfA)

ดาวเคราะห์กับสนามแม่เหล็กของดาวเทาคนเลี้ยงสัตว์ ตามจินตนาการของศิลปิน (ภาพจาก David Aguilar, CfA)

ที่มา: