สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮะยะบุซะสัมผัสดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ

ฮะยะบุซะสัมผัสดาวเคราะห์น้อยอิโตะกะวะ

9 ม.ค. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อระหว่างวันที่ 20 ถึง 25 พฤศจิกายน  ยานฮะยะบุซะ ยานสำรวจดาวเคราะห์น้อยของญี่ปุ่น ประสบความสำเร็จในการลงสัมผัสบนดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตะกะวะ แต่กำหนดเวลากลับโลกต้องเลื่อนออกไป

ฮะยะบุซะ แปลว่า เหยี่ยว ออกเดินทางจากโลกไปตั้งแต่สองปีก่อนด้วยพลังขับดันของจรวดไอออน ตามกำหนดเดิมยานจะไปถึงตั้งแต่เดือนมิถุนายน แต่เนื่องจากมีปัญหาเรื่องพลังงานจากแผงเซลล์สุริยะขัดข้องจึงล่าช้ามาถึงเดือนกันยายน 

อิโตะกะวะมีรูปร่างรีเหมือนมันฝรั่ง ยาวประมาณ 490 เมตร มีความโน้มถ่วงต่ำมากราว 1/100,000 ของโลกเท่านั้น 

เมื่อเดินทางไปถึงอิโตะกะวะ การสำรวจในช่วงแรกของยานฮะยะบุซะคือการสำรวจรอบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จากระยะไกลก่อนโดยอยู่ห่างประมาณ 20 กิโลเมตร หลังจากนั้นจึงเริ่มสำรวจแบบใกล้ชิดโดยลงจอดบนดาวเคราะห์น้อยเพื่อเก็บตัวอย่างเนื้อดาวขึ้นมา การลงจอดเพื่อเก็บตัวอย่างไม่ได้ทำเพียงครั้งเดียว แต่จะจอดถึงสามครั้งต่างสถานที่กัน หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับ ใช้เวลาอีกสองปีจึงจะกลับมาถึงโลกพร้อมตัวอย่างเนื้อดาวเคราะห์น้อยเพื่อวิเคราะห์ต่อไป

อย่างไรก็ตามแม้จะประสบความสำเร็จในการลงสัมผัสบนดาวเคราะห์น้อย แต่ยานลำก็ต้องพบปัญหาสารพัดอย่าง เช่นจรวดทำงานผิดพลาดทำให้เสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ การปล่อยหัววัดชื่อไมเนอร์วาผิดเวลา ทำให้หัววัดเลยออกไปสู่อวกาศแทนที่จะลงบนดาวเคราะห์น้อย ข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงที่สุดคือ ระหว่างการสัมผัสผิวดาวเคราะห์น้อยครั้งแรก ระบบเก็บตัวอย่างดินไม่ทำงาน ยานจึงเก็บตัวอย่างไม่ได้

นอกจากนี้เมื่อวันที่ ธันวาคม การสื่อสารระหว่างยานกับภาคพื้นดินก็ขาดหายไป จนถึงวันที่ 14 ธันวาคมก็ยังติดต่อกับยานไม่ได้ วิศวกรสันนิษฐานว่าอาจเกิดรอยรั่วขึ้นที่จรวดขับดัน ทำให้ยานหมุนควงและส่าย จึงสื่อสารกันไม่ได้ คาดว่าอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนในการแก้ไขสถานการณ์ให้กลับมาเป็นปกติ ซึ่งหมายความว่าไม่สามารถนำยานกลับมายังโลกได้ตามที่วางแผนไว้เดิม จึงต้องมีการปรับแผนใหม่ 

ตามแผนใหม่นี้ ยานฮะยะบุซะจะเหเส้นทางออกจากบริเวณดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตะกะวะ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 และจะกลับมาถึงโลกในเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งก็ยังไม่แน่ว่าถึงตอนนั้นจะกลับมาพร้อมกับตัวอย่างอันมีค่าจากดาวเคราะห์น้อย หรือกลับมาเพียงยานเปล่า

พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตะกะวะ ถ่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 โดยยานฮะยะบุซะขณะอยู่ห่างจากพื้นผิว 32 เมตร ปรากฏเงาของยานทอดลงไปบนพื้นผิวด้วย ภาพในวงกลมเล็กคือเป้าสะท้อนแสงที่ยานทิ้งลงไปบนยานเพื่อช่วยในการวัดระยะขณะลงสัมผัสพื้นผิว

พื้นผิวของดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตะกะวะ ถ่ายเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 โดยยานฮะยะบุซะขณะอยู่ห่างจากพื้นผิว 32 เมตร ปรากฏเงาของยานทอดลงไปบนพื้นผิวด้วย ภาพในวงกลมเล็กคือเป้าสะท้อนแสงที่ยานทิ้งลงไปบนยานเพื่อช่วยในการวัดระยะขณะลงสัมผัสพื้นผิว

ภาพวาดแสดงการลงสัมผัสดาวเคราะห์น้อย <wbr>25143 <wbr>อิโตะกะวะของยานฮะยะบุซะเพื่อเก็บตัวอย่าง <wbr>(ภาพจาก <wbr>JAXA)<br />
<br />

ภาพวาดแสดงการลงสัมผัสดาวเคราะห์น้อย 25143 อิโตะกะวะของยานฮะยะบุซะเพื่อเก็บตัวอย่าง (ภาพจาก JAXA)

ที่มา: