สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ภาพแรกจากวีนัสเอกซ์เพรส

ภาพแรกจากวีนัสเอกซ์เพรส

15 เม.ย. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
    เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2549 ยานวีนัสเอกซ์เพรส ยานสำรวจดาวศุกร์ขององค์กรอีซา (องค์การอวกาศยุโรป) ได้ประสบผลสำเร็จในจุดจรวดชะลอนาน 50 นาทีจนเหลือความเร็วเพียง กิโลเมตรต่อวินาที เพื่อปรับทิศทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวศุกร์ ถือได้ว่ายานได้เดินทางไปถึงเป้าหมายโดยสมบูรณ์

    อีกสองวันต่อมายานวีนัสเอกซ์เพรสได้ส่งภาพแรกของดาวศุกร์กลับมา เป็นภาพของพายุหมุนขนาดใหญ่ที่ขั้วใต้ของดาวศุกร์ เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีพายุหมุนขนาดใหญ่ที่ขั้วใต้จากเดิมที่เคยรู้จักแต่พายุหมุนที่ขั้วเหนือเท่านั้น ภาพแรกนี้ดูหยาบเพราะถ่ายในขณะที่ยานอยู่ห่างจากดาวศุกร์มาก แต่ถ้าถ่ายในขณะที่ยานเข้าใกล้จะมีความละเอียดสูงกว่านี้ถึง 100 เท่า 

    ในช่วงแรกวงโคจรรอบดาวศุกร์มีคาบ วันและรีมาก มีระยะห่างจากพื้นผิวดาวศุกร์ที่สุด 400 กิโลเมตร ภายในเวลาอีก สัปดาห์ต่อจากนี้ยานจะค่อย ๆ ปรับวงโคจรให้เล็กลงจนเหลือคาบ 24 ชั่วโมงและอยู่ในแนวข้ามขั้ว มีระยะห่างจากพื้นผิว 250 ถึง 66,000 กิโลเมตร 

    ยานวีนัสเอกซ์เพรสเป็นยานในสายเดียวกับยานมารส์เอกซ์เพรสที่กำลังสำรวจดาวอังคารอยู่ มีโครงสร้างคล้ายกัน มีอุปกรณ์หลัก ตัว ตามแผนที่วางไว้ ยานวีนัสเอกซ์เพรสจะอยู่ปฏิบัติภารกิจสำรวจดาวศุกร์บนวงโคจรเป็นเวลา ปีดาวศุกร์เต็ม ซึ่งนานราว 486 วันของโลก โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการสำรวจเคมีกับพลศาสตร์ของบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมทางแม่เหล็กไฟฟ้าทั่วดวงของดาวศุกร์

ภาพดาวศุกร์จากขั้วใต้ ถ่ายโดยกล้องเวอร์ทิสของยานวีนัสเอกซ์เพรส ครึ่งซ้ายเป็นซีกกลางวัน ครึ่งขวาเป็นซีกกลางคืน (ภาพจาก ESA)

ภาพดาวศุกร์จากขั้วใต้ ถ่ายโดยกล้องเวอร์ทิสของยานวีนัสเอกซ์เพรส ครึ่งซ้ายเป็นซีกกลางวัน ครึ่งขวาเป็นซีกกลางคืน (ภาพจาก ESA)

ยานวีนัสเอกซ์เพรส (ภาพจาก ESA)

ยานวีนัสเอกซ์เพรส (ภาพจาก ESA)

ที่มา: