สมาคมดาราศาสตร์ไทย

การลุกจ้าชนิดใหม่ ทั้งแรงทั้งเร็ว

การลุกจ้าชนิดใหม่ ทั้งแรงทั้งเร็ว

22 ส.ค. 2548
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
อยากไปย่ำบนดวงจันทร์ใช่ไหม อ่านข่าวนี้ดูก่อน

เหตุเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคาปี 2548 นี้ ขณะนั้นเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ยังคงมีกัมมันตภาพ (activity) ออกมาเช่นทุกวัน มีทั้งการลุกจ้า (flare) และจุดมืด (sunspot) ซึ่งเป็นเหตุการณ์ปกติ แต่เมื่อวันที่ 20 ได้มีจุดมืดจุดหนึ่ง ซึ่งนักดาราศาสตร์ตั้งชื่อด้วยหมายเลขว่า 720 ได้แสดงความไม่ปกติออกมา 

จุดมืดดวงอาทิตย์เป็นบริเวณพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่มีอุณหภูมิต่ำ แต่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้น และมักเป็นต้นกำเนิดการลุกจ้าบนดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการระเบิดบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ที่สาดพายุโปรตอนพลังงานสูงออกมา และส่งผลกระทบมาถึงโลก จุดหมายเลข 720 นี้ก็เช่นกัน แต่ต่างจากจุดมืดอื่นตรงที่พายุโปรตอนพลังงานสูงจากการลุกจ้านี้เดินทางมาถึงโลกภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น และหลังจากนั้น 30 นาทีก็หายวับไป

ปกติพายุโปรตอนมักเกิดขึ้นหลังจากเกิดการลุกจ้าไปแล้วหลายชั่วโมงหรือบางครั้งอาจเป็นวัน แต่ครั้งนี้กลับเกิดขึ้นเร็วเพียงภายในไม่กี่นาทีเท่านั้น นอกจากเกิดขึ้นเร็วแล้วยังเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดในรอบเกือบ 50 ปี ครั้งก่อนหน้านี้ที่รุนแรงเทียมกันเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2499 แต่ในครั้งนั้นเรายังไม่ทราบรายละเอียดมากนักเนื่องจากเกิดขึ้นก่อนยุคอวกาศ

แม้พายุโปรตอนจะไม่ทะลุทะลวงเข้ามาทำอันตรายมนุษย์บนโลก แต่ก็ก่อปัญหามากมาย ทั้งรบกวนระบบสื่อสารวิทยุ ทำลายดาวเทียม ทำให้เกิดการลัดวงจร และหากมีนักบินอวกาศปฏิบัติหน้าที่อยู่ในอวกาศก็จะได้รับอันตรายได้ เพราะพายุโปรตอนพุ่งผ่านชุดนักบินอวกาศได้สบาย

หากในวันนั้นมีนักบินอวกาศกำลังเดินอยู่บนดวงจันทร์ ย่อมถูกพายุร้ายนี้ซัดเข้าเต็มที่โดยไม่มีเวลาหาที่กำบังเลย ด้วยพลังงานสูงถึงกว่า 100 ล้านอิเล็กตรอนโวลต์ของพายุโปรตอน มีฤทธิ์ร้ายแรงพอที่จะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้

ทฤษฎีที่ยอมรับกันอยู่ในปัจจุบันอธิบายว่า การลุกจ้าเกิดขึ้นจากการระเบิด มักเกิดขึ้นเหนือจุดมืด ซึ่งเป็นบริเวณที่สนามแม่เหล็กปั่นป่วนและพุ่งผ่านพื้นผิวจากภายในดวงอาทิตย์ออกมาภายนอก หากการระเบิดรุนแรงกว่านั้น จะเกิดการพลักดันมวลแก๊สจำนวนมหาศาลเหมือนลูกโป่งพองออกจากจุดระเบิด เรียกว่า การพ่นมวลคอโรนาหรือซีเอ็มอี (CME-- Coronal Mass Ejection) แม้จะรุนแรงแต่การพ่นมวลคอโรนามักเคลื่อนที่ช้า มีความเร็วไม่เกิน 1-2 พันกิโลเมตรต่อวินาที ใช้เวลาเดินทางมาถึงโลกราว วัน

แต่จนถึงบัดนี้ นักดาราศาสตร์ก็ยังอธิบายไม่ได้แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดพายุเมื่อวันที่ 20 มกราคมจึงเคลื่อนที่เร็วได้ถึงเพียงนั้น

สิ่งที่อาจเป็นเบาะแสของคำตอบนั่นคือ ขณะเกิดการระเบิด จุดมืดหมายเลข 720 อยู่ที่ลองจิจูด 60 องศาตะวันตกของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นในแนวเชื่อมต่อของสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์มาถึงโลกพอดี แนวสนามแม่เหล็กนี้เองที่อาจเป็นเหมือนทางด่วนของพายุโปรตอน ที่ช่วยให้การเดินทางมาถึงโลกใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น



เส้นแรงแม่เหล็กของดวงอาทิตย์บิดเป็นรูปก้นหอยเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ เส้นที่ตัดผ่านโลกเป็นเส้นที่โยงมาจากตำแหน่งลองจิจูด 60 องศาของดวงอาทิตย์ หากเกิดการลุกจ้าที่ตำแหน่งนั้นพอดี พายุโปรตอนจะวิ่งมาตามเส้นแรงแม่เหล็กได้อย่างรวดเร็ว

ภาพถ่ายบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์ถูกบังโดยแผ่นบังแสงรูปกลมตรงกลาง) ถ่ายโดยดาวเทียมโซโฮเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 เม็ดสีขาวที่ขึ้นกระจายทั่วภาพเป็นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากพายุโปรตอนชนเข้ากับซีซีดีของกล้อง

ภาพถ่ายบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์ถูกบังโดยแผ่นบังแสงรูปกลมตรงกลาง) ถ่ายโดยดาวเทียมโซโฮเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2548 เม็ดสีขาวที่ขึ้นกระจายทั่วภาพเป็นสัญญาณรบกวนที่เกิดจากพายุโปรตอนชนเข้ากับซีซีดีของกล้อง

จุดมืดหมายเลข 720 ต้นกำเนิดของการลุกจ้าชนิดใหม่

จุดมืดหมายเลข 720 ต้นกำเนิดของการลุกจ้าชนิดใหม่

เส้นแรงแม่เหล็กของดวงอาทิตย์บิดเป็นรูปก้นหอยเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ <wbr>เส้นที่ตัดผ่านโลกเป็นเส้นที่โยงมาจากตำแหน่งลองจิจูด <wbr>60 <wbr>องศาของดวงอาทิตย์ <wbr>หากเกิดการลุกจ้าที่ตำแหน่งนั้นพอดี <wbr>พายุโปรตอนจะวิ่งมาตามเส้นแรงแม่เหล็กได้อย่างรวดเร็ว<br />
<br />

เส้นแรงแม่เหล็กของดวงอาทิตย์บิดเป็นรูปก้นหอยเนื่องจากการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ เส้นที่ตัดผ่านโลกเป็นเส้นที่โยงมาจากตำแหน่งลองจิจูด 60 องศาของดวงอาทิตย์ หากเกิดการลุกจ้าที่ตำแหน่งนั้นพอดี พายุโปรตอนจะวิ่งมาตามเส้นแรงแม่เหล็กได้อย่างรวดเร็ว

ที่มา: