สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ภาพล่าของดาวหางฮัลเลย์

ภาพล่าของดาวหางฮัลเลย์

13 ก.ย. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อต้นเดือนมีนาคม ขณะที่นักดาราศาสตร์กำลังสำรวจวัตถุประเภทวัตถุนอกวงโคจรดาวเนปจูน (TNO--Trans-Neptunian Object) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ยักษ์สามกล้องของเครือข่ายวีแอลที (VLT--Very Large Telescope) คณะได้สามารถถ่ายติดภาพของดาวหางฮัลเลย์ได้ ขณะนั้น ดาวหางฮัลเลย์อยู่ห่างเกือบเท่ากับดาวเนปจูน หรือประมาณ 4,000 ล้านกิโลเมตรจากโลก มีอันดับความสว่างถึง 28.2

แม้ว่ากล้องของเครือข่ายวีแอลทีแต่ละกล้องจะมีขนาดใหญ่ถึง 8.3 เมตร แต่ลำพังกล้องเดี่ยวยังไม่สามารถมองเห็นภาพของดาวหางฮัลเลย์ได้เลย การถ่ายภาพจึงต้องใช้วิธีผนวกภาพจากสามกล้องได้แก่กล้องอันตู เมลีปัล และเยปัน รวมกันจำนวน 81 ภาพ รวมเวลาเปิดหน้ากล้องนาน ชั่วโมง แม้กระนั้นภาพที่ปรากฏก็เป็นจุดที่เลือนลางมาก ๆ 

จากการสำรวจดาวหางฮัลเลย์อยู่ในช่วงที่สงบที่สุด ไม่มีกัมมันต์ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นหางหรือโคม่า มีเพียงนิวเคลียสเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นักดาราศาสตร์เชื่อว่าดาวหางฮัลเลย์จะคงสภาพเช่นนี้ไปอีกราว 50 ปี 

ดาวหางฮัลเลย์เข้ามาเยือนระบบสุริยะชั้นในเมื่อปี 2529 หางของดาวหางฮัลเลย์ได้หดหายไปหมดตั้งแต่ช่วงที่วกกลับไปถึงวงโคจรของดาวเสาร์ อย่างไรก็ตามในปี 2534 พบการปะทุของดาวหางทำให้เกิดโคม่าขึ้นมาอีกครั้งมองเห็นได้เป็นเวลาหลายเดือน

เนื่องจากดาวหางฮัลเลย์จะจางลงไปอีกเพียง 2.5 อันดับเมื่อเดินทางไปถึงจุดไกลสุดในเดือนธันวาคม 2566 ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงมั่นใจว่าศักยภาพของวีแอลทีสามารถติดตามดาวหางนี้ได้ตลอดทั้งวัฏจักร 76 ปี 

ก่อนหน้าที่กล้องวีแอลทีจะพบดาวหางฮัลเลย์ในครั้งนี้ ดาวหางที่อยู่ไกลที่สุดที่ตรวจพบได้คือดาวหางชูเมกเกอร์ (1987 H1) ในปี 2540 โดยกล้องเคก ขนาด 10 เมตรในฮาวาย ขณะนั้นดาวหางชูเมกเกอร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ พันล้านกิโลเมตร



ภาพดาวหางฮัลเลย์ สร้างขึ้นจากการผนวกภาพ 81 ภาพที่ได้จากกล้องอันตู เมลีปัล และเยปันของเครือข่ายวีแอลทีในชิลี ถ่ายเมื่อวันที่ 6-8 มีนาคม 2543 ขณะที่ดาวหางฮัลเลย์อย่างห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 4,200 ล้านกิโลเมตร มีอันดับความสว่าง 28.2 (ภาพจาก European Southern Observatory)

ภาพดาวหางฮัลเลย์ สร้างขึ้นจากการผนวกภาพ 81 ภาพที่ได้จากกล้องอันตู เมลีปัล และเยปันของเครือข่ายวีแอลทีในชิลี ถ่ายเมื่อวันที่ 6-8 มีนาคม 2543 ขณะที่ดาวหางฮัลเลย์อย่างห่างจากดวงอาทิตย์ถึง 4,200 ล้านกิโลเมตร มีอันดับความสว่าง 28.2 (ภาพจาก European Southern Observatory)

กล้องวีแอลทีของหอดูดาวยุโรปซีกโลกใต้ (European Southern Observatory) เป็นแถวลำดับของกล้องยักษ์ขนาด 8.2 เมตร 4 กล้อง

กล้องวีแอลทีของหอดูดาวยุโรปซีกโลกใต้ (European Southern Observatory) เป็นแถวลำดับของกล้องยักษ์ขนาด 8.2 เมตร 4 กล้อง

ที่มา: