สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แสงวาบรังสีแกมมาที่สว่างที่สุด

แสงวาบรังสีแกมมาที่สว่างที่สุด

14 พ.ค. 2546
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อเวลา 6.37 นาฬิกา (EST) ของวันที่ 29 มีนาคม ได้เกิดการระเบิดครั้งใหญ่ที่ตำแหน่งห่างออกไปสองพันล้านปีแสง มีความสว่างในย่านรังสีแกมมายิ่งกว่าวัตถุอื่นในเอกภพทั้งหมดรวมกัน การระเบิดกินเวลา 30 วินาที หลังจากนั้นหลุมดำดวงใหม่ก็ได้กำเนิดขึ้นมา 

ดาวเทียมเฮเท-2 (HETE-2--Hight-Energy Transient Explorer 2) ของนาซาได้พบแสงวาบรังสีแกมมาที่ทำให้เกิดหลุมดำเมื่อดาวฤกษ์มวลสูงพบจุดจบโดยการระเบิด และแกนกลางยุบไปเป็นหลุมดำ แสงวาบนี้มีชื่อว่า GRB 030329 เป็นแสงวาบที่สว่างและอยู่ใกล้ที่สุดครั้งหนึ่งเท่าที่เคยพบมา แม้หลังจากการระเบิดผ่านไปแล้ว ชั่วโมง แสงเรืองค้างยังคงแผ่รังสีแกมมามากกว่างดวงอาทิตย์นับล้านล้านเท่า 

แสงวาบรังสีแกมมานับเป็นการระเบิดที่รุนแรงที่สุดในเอกภพรองจากการระเบิดบิกแบงที่เป็นต้นกำเนิดของเอกภพ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของเอกภพ มักเกิดขึ้นห่างจากโลกมาก อาจมากถึง 10,000 ล้านปีแสง การที่แสงวาบนี้เกิดขึ้นได้ทุกทิศทาง และเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่วินาทีจนถึงไม่กี่นาที ทำให้พยากรณ์และตรวจจับได้ยาก ที่ผ่านมาการสำรวจมักทำได้เพียงศึกษาแสงเรืองค้างที่แผ่ออกมาในย่านแสงขาวและคลื่นวิทยุเท่านั้น ซึ่งส่องสว่างอยู่นานหลายวันหรืออาจนานเป็นสัปดาห์ 

ความพิเศษของ GRB 030329 คือความใกล้และสว่างมาก วัดการเลื่อนไปทางแดงได้ 0.168 แสดงว่าอยู่ห่างจากโลก พันล้านปีแสงเท่านั้น 

เฮเท-2 สามารถหาตำแหน่งของ GRB 030329 ในตำแหน่งสิงโตได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาทีหลังจากการระเบิด หลังจากนั้นได้แจ้งข่าวให้นักดาราศาสตร์ทั่วโลกซึ่งอยู่ในเครือข่ายประสานงานแสงวาบรังสีแกมมาหรือจีซีเอ็น (GCN--Gamma-ray burst Coordinates Network) ได้ทราบทั้งทางวิทยุติดตามตัวและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถติดตามความคืบหน้าของแสงวาบนี้ได้อย่างต่อเนื่อง 

ไม่เพียงแต่นักดาราศาสตร์มืออาชีพเท่านั้นที่หันกล้องไปยังวัตถุดวงนี้ เพราะเพียงชั่วโมงกว่าหลังจากการระเบิดอันดับความสว่างของแสงวาบนี้ยังคงอยู่ที่ 12 ซึ่งมองเห็นได้แม้แต่กล้องโทรทรรศน์ของนักดาราศาสตร์สมัครเล่น นักดาราศาสตร์สมัครเล่นสองคนจากฟินแลนด์รายงานว่าพบแสงวาบรังสีแกมมานี้เพียง ชั่วโมงหลังจากเห็นเป็นครั้งแรกด้วยกล้องนิวตันขนาด 25 นิ้วและ 12 นิ้ว ความจริงแล้วในช่วงที่สว่างที่สุดของ GRB 030329 นั้นสว่างพอที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่าเลยทีเดียว 

โดยปรกติการสังเกตแสงวาบรังสีแกมมาในย่านแสงขาวทำได้ยากเนื่องจากแสงขาวจะจางลงเร็วมาก แต่สำหรับ GRB 030329 นี้พบว่ามีการสว่างขึ้นเล็กน้อยเป็นช่วงสั้น ๆ หลายครั้งที่เวลา 30, 60 และ 80 ชั่วโมงหลังจากการระเบิด และยังมีการคงความสว่างอยู่ที่อันดับความสว่าง 18 เป็นเวลานานนับสัปดาห์ 

ข้อมูลและภาพแสงวาบรังสีแกมมาสามารถตามชมได้ที่ เว็บไซต์ของจีซีเอ็น

ภาพแสงวาบรังสีแกมมาตามจินตนาการของศิลปิน (ภาพจาก STScI)

ภาพแสงวาบรังสีแกมมาตามจินตนาการของศิลปิน (ภาพจาก STScI)

แสงเรืองค้างในย่านแสงขาวของแสงวาบรังสีแกมมา GRB 030329 (ภาพจาก David Strange/Worth Hill Observatory)

แสงเรืองค้างในย่านแสงขาวของแสงวาบรังสีแกมมา GRB 030329 (ภาพจาก David Strange/Worth Hill Observatory)

ดาวเทียมเฮเท-2 ผู้ค้นพบแสงวาบรังสีแกมมา GRB 030329

ดาวเทียมเฮเท-2 ผู้ค้นพบแสงวาบรังสีแกมมา GRB 030329

ที่มา: