สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ฮับเบิลโชว์ภาพจากอุปกรณ์ใหม่

ฮับเบิลโชว์ภาพจากอุปกรณ์ใหม่

6 พ.ค. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 30 เมษายน นาซาได้เปิดเผยภาพจากอุปกรณ์เอซีเอสของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเป็นครั้งแรก แสดงภาพวัตถุท้องฟ้าในแบบที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน 

อุปกรณ์เอซีเอส (ACS) ย่อมาจาก Advanced Camera for Surveys เป็นอุปกรณ์ตัวใหม่ล่าสุดที่ติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลโดยนักบินอวกาศในภารกิจซ่อมบำรุงเมื่อวันที่ มีนาคมที่ผ่านมา นับเป็นอุปกรณ์ที่ทำงานในย่านแสงขาวตัวแรกของฮับเบิลในรอบ ปี เมื่อเปรียบเทียบกับกล้อง WFPC2 ที่อยู่บนกล้องฮับเบิลก่อนหน้านี้แล้ว กล้องเอซีเอสมีมุมภาพกว้างมากกว่า กินพื้นที่มากกว่า เท่า และมีความไวแสงมากกว่า อุปกรณ์บันทึกภาพมีความละเอียด 17 ล้านพิกเซล กรอบภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 3.4 ลิปดา หรือราว ใน ของเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ 

ดาราจักรลูกอ๊อด หรือ UGC 10214 เป็นหนึ่งในภาพที่แสดงในครั้งนี้ อยู่ห่างจากโลก 420 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวมังกร มีความสว่าง 15 เป็นดาราจักรกังหันที่มีรูปร่างบิดเบี้ยวเนื่องจากสนามความโน้มถ่วง มีลักษณะเด่นคือมีหางยืดยาวออกไปไกลถึง 280,000 ปีแสง สันนิษฐานว่าหางนี้เกิดจากการรบกวนของแรงน้ำขึ้นลงที่เกิดขึ้นขณะที่ดาราจักรนี้ชนกับดาราจักรอีกดาราจักรหนึ่งซึ่งมองเห็นได้เป็นแต้มสีฟ้าทางซ้ายบนของดาราจักรหลัก นอกจากดาราจักรตัวเอกในภาพแล้ว ฉากหลังของภาพนี้ยังมีภาพดาราจักรอีกกว่า 3,000 ดาราจักร ภาพนี้เกิดจากการผนวกภาพที่ถ่ายในย่านความถี่อินฟราเรดใกล้ ส้ม และน้ำเงิน ใช้เวลาเปิดหน้ากล้องเพียง ชั่วโมงเท่านั้น 

อีกภาพหนึ่งเป็นภาพการชนกันของดาราจักรสองดาราจักรที่เกิดขึ้นห่างออกไป 300 ล้านปีแสงในกลุ่มดาวผมของเบเรนิซ มีชื่อในแคตาล็อกว่า NGC 4676 จากแบบจำลองที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์พบว่า ดาราจักรคู่นี้เคยเข้าใกล้กันมากที่สุดเมื่อราว 160 ล้านปีก่อน และในอนาคต ดาราจักรทั้งสองจะหลอมรวมเป็นดาราจักรทรงรีดาราจักรเดียว เหตุการณ์ทำนองนี้ก็จะเกิดขึ้นกับดาราจักรทางช้างเผือกของเราและดาราจักรอันโดรเมดาเช่นเดียวกัน ภาพนี้ได้จากการผนวกภาพที่ถ่ายในย่านความถี่อินฟราเรดใกล้ ส้ม และน้ำเงิน 

เนบิวลากรวย หรือ NGC 2264 เป็นภาพอีกภาพหนึ่งในชุดเดียวกัน เนบิวลากรวยเป็นวัตถุท้องฟ้าที่นักถ่ายภาพดาวรู้จักกันดี อยู่ห่างจากโลก 2,500 ปีแสง อยู่ในหย่อมกำเนิดดาวฤกษ์กลุ่มดาวยูนิคอร์น ภาพนี้เอซีเอสถ่ายเจาะลึกเข้าไปที่ยอดของแท่งก๊าซ ดาวฤกษ์ที่เกิดขึ้นบริเวณส่วนบนของภาพแผ่รังสีออกมารุนแรงและกำลังผลักดันให้แท่งก๊าซหดเล็กลงอย่างช้า ๆ ภาพนี้เกิดจากการผนวกภาพที่ถ่ายในย่านความถี่อินฟราเรดใกล้ ความถี่ของไฮโดรเจน-แอลฟา และแสงสีน้ำเงิน 

ภาพสุดท้ายคือ เนบิวลาโอเมกา หรือ M17 ที่นักเลงกล้องสองตารู้จักกันดี เนบิวลานี้อยู่ห่างจากโลก 5,500 ปีแสงในกลุ่มดาวคนยิงธนู แสงของเนบิวลานี้เกิดขึ้นจากการกระตุ้นของรังสีที่แผ่มาจากดาวฤกษ์ร้อนแรงดวงหนึ่งที่อยู่พ้นกรอบภาพนี้ไปทางขวาบน ภาพนี้เกิดจากการผนวกภาพที่ถ่ายในย่านความถี่ของแสงสีน้ำเงิน อินฟราเรดใกล้ ไฮโดรเจน-แอลฟา และออกซิเจนไอออน 

นักวิทยาศาสตร์ผู้ควบคุมฮับเบิลพึงพอใจกับผลงานของอุปกรณ์ตัวใหม่นี้มาก คาดว่าในที่ประชุมสมาคมดาราศาสตร์อเมริกาที่จะจัดในเดือนมิถุนายนจะมีภาพให้แสดงมากกว่านี้ ในระหว่างนี้นักดาราศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งของฮับเบิลจะพยายามฟื้นสภาพอุปกรณ์สำคัญอีกชิ้นหนึ่ง นั่นคือ นิกมอส (NICMOS) ที่ได้หยุดทำงานไปตั้งแต่เมื่อ ปีก่อนเนื่องจากสารทำความเย็นหมดก่อนกำหนด ในระหว่างการซ่อมบำรุงเมื่อเดือนมีนาคม นักบินอวกาศได้ติดนิกมอสเข้ากับอุปกรณ์ทำความเย็น จนถึงขณะนี้อุณหภูมิของนิกมอสได้มีอุณหภูมิลดลงถึง -203 องศาเซลเซียสซึ่งเป็นระดับที่ทำงานได้แล้ว นิกมอสเป็นอุปกรณ์อินฟราเรด จึงไวต่อคลื่นความร้อนรบกวนมาก อุณหภูมิที่เย็นจัดจึงจำเป็นในการทำงาน 

ดาราจักรลูกอ๊อด

ดาราจักรลูกอ๊อด

ดาราจักร NGC 4676

ดาราจักร NGC 4676

เนบิวลากรวย หรือ NGC 2264

เนบิวลากรวย หรือ NGC 2264

เนบิวลาโอเมกา (M17)

เนบิวลาโอเมกา (M17)

ที่มา: