สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเคราะห์น้อยอันตรายหมายเลขหนึ่ง 1950 DA

ดาวเคราะห์น้อยอันตรายหมายเลขหนึ่ง 1950 DA

16 เม.ย. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดาวเคราะห์น้อย 1950 DA ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อ 52 ปีก่อน แต่หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นอีกเลยมาเป็นเวลาถึงครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งปี 2543 ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้กลับมาอีกครั้ง พร้อมทั้งข่าวใหม่มาสะกิดขวัญชาวโลก ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้อาจชนโลกในอีก 800 กว่าปีข้างหน้า 

นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์โลเวลล์ค้นพบดาวเคราะห์น้อย 1950 DA โดยบังเอิญเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2543 หลังจากการค้นพบครั้งนั้น ได้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มอื่นเข้ามาร่วมสังเกตการณ์ทั้งนักวิทยาศาสตร์เรดาร์จากโกลสโตน แคลิฟอร์เนีย และเอริซิโบ เปอร์โตริโก และประกอบกับภาพถ่ายท้องฟ้าที่บันทึกมาตลอด 50 ปี ทำให้สามารถคำนวณเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ได้ และพบว่าภายในไม่กี่ร้อยปีข้างหน้าจะเข้าใกล้โลกมากถึง ครั้ง โดยเฉพาะครั้งที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ.2880 มีโอกาสถึงขั้นจะชนโลกเลยทีเดียว

1950 DA มีขนาด กิโลเมตร จัดเป็นดาวเคราะห์น้อยตัดโลก หมายถึงมีวงโคจรตัดกับวงโคจรโลก มีหมายเลขลำดับเรียกอย่างเป็นทางการว่า 29075 โคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 492 วัน 

จอน ดี จีออร์จินี จากเจพีแอล ได้รายงานไว้ในวารสาร ไซนซ์ ว่า โอกาสที่จะชนโลกของดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีถึง ใน 300 นับเป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีความเสี่ยงชนสูงที่สุดเท่าที่นักดาราศาสตร์เคยรู้จัก ก่อนหน้านี้ดาวเคราะห์น้อยอันตรายที่สุดคือ 2002 CU11 มีโอกาสที่จะชนโลกในวันที่ 31 สิงหาคม ปี 2592 ประมาณ ใน 30,000 

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้งสตีเวน อาร์ เชสลีย์ จากเจพีแอล เห็นว่าประเด็นสำคัญของข่าวนี้ไม่ใช่อัตราเสี่ยงที่จะพุ่งชนโลกแต่อย่างใด เพราะอัตราเสี่ยงดังกล่าวนี้ยังถือได้ว่าแทบจะเป็นศูนย์เลยทีเดียว แต่เรื่องน่าสนใจที่สุดกลับเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาการในการคำนวณวงโคจรที่แม่นยำมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าครั้งนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถคำนวณวงโคจรล่วงหน้ายาวนานมากถึงเกือบ 1,000 ปี ทั้งที่ก่อนหน้านี้ยังไม่สามารถประเมินความเสี่ยงจากการชนของดาวเคราะห์น้อยให้แม่นยำล่วงหน้าเกิน 100 ปีได้เลย การคำนวณวงโคจรในครั้งนี้สามารถขจัดความไม่แน่นอนที่เกิดจากตัวแปรย่อย ๆ หลายอย่าง เช่น แรงดึงดูดรบกวนจากวัตถุอื่น การสูญเสียมวลของดวงอาทิตย์ และจากแรงน้ำขึ้นลงของดาราจักร 

อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวแปรสำคัญอีกตัวหนึ่งที่ไม่สามารถคำนวณได้ นั่นคือ ปรากฏการณ์ยาร์คอฟสกี ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดความไม่สมดุลของความดันเนื่องจากการแผ่รังสีบนวัตถุที่หมุนรอบตัวเอง เมื่อดาวเคราะห์น้อยถูกแสงอาทิตย์ ซีกที่ถูกแสงอาทิตย์จะร้อนขึ้นและเกิดแรงดันเนื่องจากการแผ่รังสี ในกรณีที่ดาวเคราะห์น้อยมีการหมุนรอบตัวเอง ซีกดาวที่ถูกแสงอาทิตย์ด้านที่อยู่ใน "ช่วงบ่าย" จะร้อนกว่าและมีแรงดันมากกว่าซีกที่เป็น "ช่วงเช้า" ทำให้แรงดันไม่สมดุล ดังนั้นทิศทางการหมุนของดาวจะมีความสำคัญมากต่อการคำนวณวงโคจร ในกรณีของ 1950 DA หากหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกับโลก อัตราเสี่ยงชนก็จะยังคงอยู่ที่ ต่อ 300 แต่ถ้าหมุนรอบตัวเองสวนกับการหมุนของโลกเช่นดาวศุกร์ โอกาสในการชนก็จะไม่เกิดขึ้นเลย 

ข้อมูลเกี่ยวกับการหมุนรอบตัวเองของ 1950 DA ในขณะนี้ทราบเพียงแค่ว่ามันหมุนรอบตัวเองครบรอบทุก 2.1 ชั่วโมง แต่ไม่ทราบว่าหมุนในทิศทางใด และมีขั้วหันไปทิศทางใด 


แผนภูมิวงโคจรของ 1950 DA (ภาพจาก NEO)

แผนภูมิวงโคจรของ 1950 DA (ภาพจาก NEO)

สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่หมุนรอบตัวเอง แรงดันจากการแผ่รังสีจะเกิดขึ้นที่ด้านที่เป็นช่วงบ่ายมากกว่าด้านที่เป็นช่วงเช้า ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแรงดัน เรียกว่าปรากฏการณ์ยาร์คอฟสกี หากดาวเคราะห์น้อยหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ แรงผลักยาร์คอฟสกีจะเร่งความเร็วของดาวเคราะห์น้อยทำให้วงโคจรกว้างขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากดาวเคราะห์น้อยหมุนรอบตัวเองในทิศทางตรงข้ามกับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ผลก็จะเกิดในทางตรงกันข้าม ดาวเคราะห์น้อยจะค่อย ๆ ตีวงแคบลงและพุ่งเข้าสู่ดวงอาทิตย์ในที่สุด

สำหรับดาวเคราะห์น้อยที่หมุนรอบตัวเอง แรงดันจากการแผ่รังสีจะเกิดขึ้นที่ด้านที่เป็นช่วงบ่ายมากกว่าด้านที่เป็นช่วงเช้า ทำให้เกิดความไม่สมดุลของแรงดัน เรียกว่าปรากฏการณ์ยาร์คอฟสกี หากดาวเคราะห์น้อยหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียวกับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ แรงผลักยาร์คอฟสกีจะเร่งความเร็วของดาวเคราะห์น้อยทำให้วงโคจรกว้างขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากดาวเคราะห์น้อยหมุนรอบตัวเองในทิศทางตรงข้ามกับการหมุนรอบดวงอาทิตย์ ผลก็จะเกิดในทางตรงกันข้าม ดาวเคราะห์น้อยจะค่อย ๆ ตีวงแคบลงและพุ่งเข้าสู่ดวงอาทิตย์ในที่สุด

ภาพถ่ายเรดาร์ของ <wbr>1950 <wbr>DA <wbr>จากหอสังเกตการณ์เอริซิโบ <wbr>เปอร์โตริโก <wbr>ถ่ายเมื่อวันที่ <wbr>4 <wbr>มีนาคม <wbr>2544 <wbr>ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลก <wbr>7.8 <wbr>ล้านกิโลเมตร <wbr>(ภาพจาก <wbr>NASA/JPL)<br />
<br />

ภาพถ่ายเรดาร์ของ 1950 DA จากหอสังเกตการณ์เอริซิโบ เปอร์โตริโก ถ่ายเมื่อวันที่ มีนาคม 2544 ในขณะที่ดาวเคราะห์น้อยอยู่ห่างจากโลก 7.8 ล้านกิโลเมตร (ภาพจาก NASA/JPL)

ที่มา: