สมาคมดาราศาสตร์ไทย

บุกดาวอังคาร

บุกดาวอังคาร

2 ม.ค. 2545
รายงานโดย: ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช (panatpongc@yahoo.com)
ภายในเวลา ปีข้างหน้า ดาวอังคารจะถูกรายล้อมไปด้วยยานอวกาศที่ถูกส่งจากโลกโดยประเทศต่างๆ ยานอวกาศจะร่วมกันใช้ช่องสัญญาณในการสื่อสาร เพื่อขจัดปัญหาข้อจำกัดของจำนวนช่องสัญญาณในการส่งข้อมูลกลับมายังโลก 

โดยในช่วงก่อนวันคริสต์มาสปี 2546 ยานอวกาศ ลำขององค์การอวกาศยุโรปคือ มาร์สเอ็กซ์เพรสและยาน Beagle หลังจากนั้นยานอวกาศโนะโซะมิของญี่ปุ่นและยานโรเวอร์ของนาซาจะมาสมทบในช่วงต้นปี 2547 โดยยานอวกาศทั้งหมดจะทำงานร่วมกับยานโอเดสซีของนาซาที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในขณะนี้ 

ในปี 2547 ยานอวกาศจำนวน ลำ (ยานสำรวจภาคพื่นดิน ลำและยานโคจรรอบดาวเคราะห์อีก ลำ) จะส่งข้อมูลมหาศาลกลับมายังโลกภายใต้ข้อจำกัดของจำนวนช่องสัญญาณในการสื่อสาร ข้อมูลต่างๆ จะถูกส่งมายังโลกได้ ก็ต่อเมื่อ เสาอากาศของยานอวกาศอยู่ในแนวเดียวกับโลก และเนื่องจากการหมุนรอบตัวของดาวอังคารและโลก รวมถึงการโคจรรอบดาวอังคารของยานโคจรทำให้ยานอวกาศแต่ละลำมีเวลาในการส่งข้อมูลกลับมายังโลกที่แตกต่างกัน 

ถึงแม้เราจะมีวิธีการและเทคโนโลยีดังกล่าว แต่ยานอวกาศยังคงจำเป็นต้องเปิดช่องสัญญาณในการติดต่อแทบตลอดเวลา รวมถึงการจัดเตรียมช่องสัญญาณให้เพิ่มมากขึ้นยังคงถือเป็นหลักประกันสำหรับความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ด้วยเทคนิคดังกล่าวยานมาร์สเอ็กซ์เพรสจะถ่ายทอดข้อมูลที่ได้รับจากยานโรเวอร์ทั้งสองลำของนาซากลับมายังโลก ส่วนยาน Beagle สามารถส่งข้อมูลของตนผ่านไปยังยานมาร์สโอเดสซีได้เช่นกัน มีเพียงยานโนะโซะมิของญี่ปุ่นเท่านั้นที่มีระบบการสื่อสารเป็นของตนเอง 

ยานสำรวจภาคพื้นดินในโครงการสำรวจดาวอังคารของนาซา

ยานสำรวจภาคพื้นดินในโครงการสำรวจดาวอังคารของนาซา

ยานมาร์สเอ็กซ์เพรสขององค์การอวกาศยุโรป จะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณจากยานโรเวอร์สู่โลก

ยานมาร์สเอ็กซ์เพรสขององค์การอวกาศยุโรป จะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณจากยานโรเวอร์สู่โลก

ที่มา: