สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พู่ขนนกในอวกาศ

พู่ขนนกในอวกาศ

2 ก.พ. 2545
รายงานโดย: ปณัฐพงศ์ จันทรวัฒนาวณิช (panatpongc@yahoo.com)
ภาพกระจุกดาราจักรคนยิงธนูจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างที่มีรูปร่างคล้ายขนนก โครงสร้างรูปขนนกดังกล่าวมีความยาวประมาณ 70,000 ปีแสง และมีอุณหภูมิราว 10 ล้านองศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอุณหภูมิต่ำกว่ากลุ่มก๊าซที่รายล้อมอยู่หลายล้านองศาเซลเซียส ภาพดังกล่าวยังแสดงถึงการกระจายตัวของอุณหภูมิ (พื้นที่สีน้ำเงินมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่สีแดง)

โครงสร้างดังกล่าวมีมวลสูงกว่าดวงอาทิตย์ประมาณ พันล้านเท่า นักดาราศาสตร์คาดว่าโครงสร้างดังกล่าวเกิดขึ้นจากการลดอุณหภูมิลงของก๊าซภายในกระจุกดาราจักรดังกล่าว ภาพกระจุกดาราจักร อาเบลล์ 1795 จากกล้องจันทราเผยให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่มวลสารของโครงสร้างดังกล่าวจะประกอบขึ้นจากเศษซากที่หลุดออกมาจากดาราจักรที่เคลื่อนที่เข้ามาภายในกระจุกดาราจักรหรืออาจจะเป็นก๊าซที่เกิดจากการระเบิดในบริเวณศูนย์กลางของกระจุกดาราจักร แต่ปัญหาสำหรับสมมุติฐานเหล่านี้คือปริมาณของธาตุหนักอย่าง ออกซิเจน ซิลิคอน และเหล็กของโครงสร้างรูปขนนกนี้มีค่าเท่ากับก๊าซที่ล้อมรอบโครงสร้างดังกล่าวไว้ 

ภาพของกระจุกดาราจักรคนยิงธนูจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราในช่วง 0.5 ถึง 7 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (ภาพ: NASA/IoA/J.Sanders & A. Fabian)

ภาพของกระจุกดาราจักรคนยิงธนูจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราในช่วง 0.5 ถึง 7 กิโลอิเล็กตรอนโวลต์ (ภาพ: NASA/IoA/J.Sanders & A. Fabian)

ที่มา: