สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สถานีอวกาศมีร์ถึงกาลอวสาน

สถานีอวกาศมีร์ถึงกาลอวสาน

17 ม.ค. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
องค์การอวกาศรัสเซียได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้วว่า จะให้วันที่ มีนาคม 2544 เป็นวันที่จะบังคับให้สถานีอวกาศมีร์หลุดออกจากวงโคจรตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนับเป็นการปิดฉากภารกิจของสถานีอวกาศที่มีอายุยาวนานกว่า 15 ปี ลงอย่างถาวร จากแผนการขององค์การการบินและอวกาศรัสเซีย (Rosaviacosmos) และ RKK Energia (ผู้ควบคุมสถานีอวกาศมีร์) ยานโพรเกรส เอ็ม1-5 ซึ่งได้เพิ่มปริมาณการบรรจุของถังเชื้อเพลิงเพื่อรองรับภารกิจนี้ จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศโดยไม่มีนักบินควบคุมในยาน ในวันที่ 18 มกราคม 2544 เวลา 13.56 น. ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งในวันถัดไป ยานโพรเกรส เอ็ม-43 ที่เชื่อมอยู่กับสถานีก่อนหน้านี้ จะถูกบังคับให้ยุติการเชื่อมต่อเพื่อปล่อยลงสู่ชั้นบรรยากาศในวันที่ 23 มกราคม

จากนั้น ยานโพรเกรส เอ็ม1-5 จะใช้เวลา วัน ในการเดินทางสู่สถานีอวกาศมีร์ การใช้เวลานานเช่นนี้ เนื่องจากต้องเก็บเชื้อเพลิงไว้สำหรับกระบวนการบังคับให้สถานีอวกาศมีร์หลุดออกจากวงโคจร ในตำแหน่งและเวลาที่กำหนด ซึ่งต้องใช้พลังงานจำนวนมาก ก่อนหน้านี้ได้มีการทดสอบกระบวนการเข้าหามีร์อย่างช้าๆ ในลักษณะนี้ด้วยยานโพรเกรส เอ็ม-43 ในเดือนตุลาคม 2543 แทนที่จะใช้เครื่องยนต์หลักของยานซึ่งกินเชื้อเพลิงจำนวนมาก ยานโพรเกรส เอ็ม1-5 จะใช้เครื่องยนต์ที่กินพลังงานน้อยกว่าในการเดินทางเข้าหาสถานี พร้อมกับปรับการวางตัวของยานอย่างช้าๆ โดยจะเชื่อมต่อกับโมดูล Kvant ของมีร์ ในวันที่ 22 มกราคม 2544 เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย ซึ่งหากเกิดปัญหาในการเชื่อมต่อ รัสเซียจะส่งนักบินอวกาศฉุกเฉินขึ้นไปเพื่อทำภารกิจให้เสร็จสิ้น วันที่ และ มีนาคม ยานโพรเกรส จะจุดจรวดสามครั้ง เพื่อลดอัตราเร็วของสถานี ซึ่งสองครั้งแรก จะลดความเร็วของมีร์ลงครั้งละ เมตรต่อวินาที ครั้งที่ จะลดความเร็วลงอีก 14 เมตรต่อวินาที วันที่ มีนาคม ยานโพรเกรสจะจุดจรวดเพื่อลดความเร็วของมีร์ลงอีก 17.3 เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ความเร็วของสถานีน้อยลงเพียงพอที่จะบังคับให้สถานีหลุดออกจากวงโคจร ตกลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในวันเดียวกัน สาเหตุที่ต้องปล่อยให้สถานีตกลงในบริเวณมหาสมุทร เนื่องจากมีชิ้นส่วนหลายชิ้นที่ไม่อาจเผาไหม้ได้หมดในบรรยากาศ

สถานีอวกาศมีร์ ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2529 มีชิ้นส่วนอาทิ โมดูลเชื่อมต่อต่างๆ แผงเซลล์สุริยะ สายอากาศ และชิ้นส่วนอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกจำนวนมาก ซึ่งมีน้ำหนักรวมเกือบ 140 ตัน ถูกปล่อยให้ร้างนักบินอวกาศมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์วิกฤตหลายครั้ง คือ เกิดการชนกันของมีร์กับยานโพรเกรส เพลิงไหม้บนสถานี เครื่องผลิตออกซิเจนหยุดการทำงาน ระบบคอมพิวเตอร์ล้มเหลว และล่าสุด สถานีภาคพื้นดินขาดการติดต่อกับมีร์เป็นเวลา 20 ชั่วโมงเมื่อปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
สถานีอวกาศมีร์ของรัสเซีย<br />
<br />

สถานีอวกาศมีร์ของรัสเซีย

ที่มา: