สมาคมดาราศาสตร์ไทย

มาร์สโอดิสซีย์สู่ดาวอังคาร

มาร์สโอดิสซีย์สู่ดาวอังคาร

7 เม.ย. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (worachateb@hotmail.com)
ยานมาร์สโอดิสซีย์ ยานอวกาศลำล่าสุดที่จะออกเดินทางจากโลกสู่ดาวอังคาร กำลังจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดเดลตา ในวันที่ เมษายนนี้ เวลา 22.02 น. ตามเวลาในประเทศไทย ยานลำนี้ถูกเรียกว่า 2001 Mars Odyssey ตามนิยายวิทยาศาสตร์อันโด่งดังที่มาเป็นภาพยนตร์ของอาร์เทอร์ ซี. คลาร์ก และ แสตนลีย์ คูบริค ที่ชื่อว่า 2001: Space Odyssey ยานลำนี้มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม มูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ยานจะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศจากแหลมคานาเวอรัลในฟลอริดา โคจรรอบโลกก่อนที่จะทะยานออกสู่อวกาศ และมีกำหนดจะถึงดาวอังคารในวันที่ 24 ตุลาคม ศกนี้ โดยที่ค่อย ๆ เข้าใกล้ดาวอังคารด้วยเทคนิคการชะลอความเร็วด้วยเกราะต้านบรรยากาศเพื่อเข้าสู่บรรยากาศชั้นนอกของดาวอังคาร หลังจากนั้นจะทำแผนที่ดาวอังคารเป็นเวลา ปี ภารกิจสำคัญของมาร์สโอดิสซีย์ คือ การเก็บข้อมูลเพื่อค้นหาร่องรอยของน้ำบนดาวอังคาร มีอุปกรณ์สำคัญ ชิ้น คือ อุปกรณ์ถ่ายภาพในย่านอินฟราเรด อุปกรณ์สเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมา และเครื่องตรวจรังสีคอสมิกซึ่งจะมีประโยชน์ในการวัดระดับรังสีเพื่อตรวจดูว่าจะเป็นอันตรายกับมนุษย์ในการเดินทางสู่ดาวอังคารในอนาคตหรือไม่

ยานมาร์สโอดิสซีย์จะทำงานร่วมกับยานอวกาศอีกลำหนึ่งที่โคจรรอบดาวอังคารมาตั้งแต่ปี 2540 คือ มาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ กล้องถ่ายภาพของยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์สามารถ่ายภาพดาวอังคารที่ความละเอียด เมตร ซึ่งขณะนี้ภาพนับแสนภาพถูกส่งมายังโลก แม้ว่ามาร์สโอดิสซีย์จะไม่สามารถถ่ายภาพด้วยความละเอียดที่ดีกว่า แต่จะสามารถมองเห็นสิ่งที่มากกว่าการสำรวจทางภูมิศาสตร์เพียงอย่างเดียว

กล้องถ่ายภาพอินฟราเรดของยานสามารถตรวจพบแหล่งแร่ธาตุที่มีขนาด 100 เมตรได้ หรือการตรวจหาจุดที่อาจบ่งบอกถึงการระเบิดของภูเขาไฟในอดีต สเปกโทรมิเตอร์รังสีแกมมาสามารถตรวจหาธาตุต่าง ๆ ภายในผิวดิน เช่น ไฮโดรเจน ซึ่งเชื่อว่าเป็นร่องรอยสำคัญของน้ำ เนื่องจากน้ำอาจอยู่ในรูปของน้ำแข็ง จึงใช้สเปกโทรมิเตอร์ในการค้นหาแหล่งน้ำแข็งถาวรบนผิวดินดาวอังคาร และติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลของดาวอังคาร นอกจากนี้ยังช่วยค้นหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการลงจอดของรถสำรวจบนพื้นดินที่คาดว่าจะส่งออกไปจากโลกในปี 2546

 

เมื่อเดือนกันยายน 2542 คาดกันว่ายานมาร์สไคลเมตออร์บิเตอร์ถูกเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร เนื่องจากความผิดพลาดในการแปลงหน่วยของระยะทางจากระบบของอังกฤษกับระบบเมตริก หลังจากนั้น เดือนต่อมา ยานมาร์สโพลาร์แลนเดอร์ก็ประสบความล้มเหลว เนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์หยุดการจุดเครื่องยนต์ก่อนเวลาอันควรทำให้ยานพุ่งชนดาวอังคาร

สามารถติดตามการถ่ายทอดการส่งยานมาร์สโอดิสซีย์ได้จากรายชื่อเว็บไซต์

ที่มา: