สมาคมดาราศาสตร์ไทย

เอ็นทีทีพิสูจน์ต้นกำเนิดของดาวแคระน้ำตาล

เอ็นทีทีพิสูจน์ต้นกำเนิดของดาวแคระน้ำตาล

28 มิ.ย. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ดาวแคระน้ำตาล เป็นวัตถุชนิดหนึ่งที่คล้ายกับดาวฤกษ์ แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ เนื่องจากมีมวลไม่ถึง เปอร์เซ็นต์ของดวงอาทิตย์ ซึ่งน้อยเกินกว่าที่จะทำให้แกนกลางร้อนจนทำให้เกิดปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจนได้

นับจากจากที่ดาวแคระน้ำตาลถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อ ปีที่แล้ว นักดาราศาสตร์ได้พบดาวแคระน้ำตาลเพิ่มขึ้นหลายร้อยดวง ส่วนใหญ่มีมวลประมาณ 10-70 เท่าของดาวพฤหัสบดี การที่ดาวแคระน้ำตาลมีมวลก้ำกึ่งระหว่างดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ จึงเกิดคำถามว่า ดาวแคระน้ำตาลมีต้นกำเนิดมาอย่างไร มีคำตอบที่เป็นไปได้ ทางคือ มีต้นกำเนิดแบบเดียวกับดาวฤกษ์ แบบเดียวกับดาวเคราะห์ หรืออาจจะมีต้นกำเนิดแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง

เพื่อที่จะหาคำตอบข้อนี้ นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้สำรวจดาวแคระน้ำตาลจำนวนหนึ่งในกระจุกดาวสี่เหลี่ยมคางหมู (Trapezium cluster) ในกลุ่มดาวนายพราน โดยใช้อุปกรณ์สำรวจรังสีอินฟราเรดใกล้โซฟีของกล้องโทรทรรศน์เอ็นทีทีที่หอสังเกตการณ์ลาซิยาในชีลี 

กระจุกดาวสี่เหลี่ยมคางหมูอยู่ห่างจากโลก 1,200 ปีแสง เป็นกระจุกดาวที่อยู่ภายในเนบิวลานายพราน เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์จำนวนนับพันดวง เกือบทั้งหมดเป็นดาวฤกษ์ที่มีอายุต่ำกว่า ล้านปีซึ่งนับว่าน้อยมากเทียบกับอายุขัยของดาวฤกษ์ทั่วไป นอกจากดาวฤกษ์แล้ว กระจุกดาวนี้ยังเป็นบริเวณที่มีดาวแคระน้ำตาลมากที่สุดแห่งหนึ่งบนท้องฟ้าอีกด้วย 

จากการสำรวจวัตถุที่เชื่อว่าเป็นดาวแคระน้ำตาลในกระจุกดาวนี้จำนวนกว่า 100 ดวงพบว่า กว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนนี้แผ่รังสีอินฟราเรดใกล้มากกว่าที่ดาวแคระน้ำตาลดวงหนึ่งจะแผ่ออกมาได้ ซึ่งอธิบายได้ว่าแสงส่วนเกินนี้เป็นแสงมาจากจานก๊าซที่ล้อมรอบดาวแคระน้ำตาล ซึ่งจานล้อมรอบดาวนี้สามารถพบได้ในดาวฤกษ์เช่นกัน หลักฐานที่สนับสนุนคำอธิบายนี้คือ ในจำนวนวัตถุที่เชื่อว่าเป็นดาวแคระน้ำตาลที่สำรวจในครั้งนี้ มีถึง 21 ดวงที่เป็นโพรไพลด์ (proplyde) หรือจานฝุ่นล้อมรอบดาวฤกษ์ที่มองเห็นได้ในย่านแสงขาวที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถ่ายเอาไว้ได้ในปี 2537

การที่พบจานฝุ่นล้อมรอบดาวฤกษ์อายุน้อยและดาวแคระน้ำตาลเป็นจำนวนมากในครั้งนี้ เป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนว่าดาวแคระน้ำตาลมีต้นกำเนิดแบบเดียวกับดาวฤกษ์ นอกจากนี้ยังมีความเป็นได้ที่จะมีดาวเคราะห์เกิดขึ้นในจานฝุ่นรอบดาวแคระน้ำตาลด้วย 

กระจุกดาวสี่เหลี่ยมคางหมูในเนบิวลานายพราน ถ่ายด้วยอุปกรณ์โซฟีของกล้องโทรทรรศน์เอ็นทีที

กระจุกดาวสี่เหลี่ยมคางหมูในเนบิวลานายพราน ถ่ายด้วยอุปกรณ์โซฟีของกล้องโทรทรรศน์เอ็นทีที

แผนที่สัดส่วนเดียวกันที่แสดงตำแหน่งของดาวแคระน้ำตาล จุดที่มีวงเปิดซ้อนสองวงคือดาวแคระน้ำตาลที่มีจานฝุ่น วงที่มีวงเปิดล้อมรอบวงเดียวคือดาวแคระน้ำตาลที่ไม่มีจานฝุ่น

แผนที่สัดส่วนเดียวกันที่แสดงตำแหน่งของดาวแคระน้ำตาล จุดที่มีวงเปิดซ้อนสองวงคือดาวแคระน้ำตาลที่มีจานฝุ่น วงที่มีวงเปิดล้อมรอบวงเดียวคือดาวแคระน้ำตาลที่ไม่มีจานฝุ่น

ที่มา: