สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบเควซาร์ใหม่ อยู่ไกลที่สุดในเอกภพ

พบเควซาร์ใหม่ อยู่ไกลที่สุดในเอกภพ

1 เม.ย. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
กินเนสต์บุ๊กทางดาราศาสตร์จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเมื่อนักดาราศาสตร์ค้นพบเควซาร์ใหม่ที่อยู่ไกลที่สุดในเอกภพ 

เควซาร์ที่ถูกค้นพบนี้มีชื่อว่า SDSS 1044-0125 ถูกค้นพบโดย Sloan Digital Sky Survey (SDSS) ในนิวเม็กซิโก ในตอนแรกเควซาร์นี้ดูไม่ต่างอะไรกับดาวฤกษ์สีแดงจาง ๆ ดวงหนึ่ง แต่สเปกตรัมของดวงนี้มีการเลื่อนไปทางแดง (redshift) มากถึง 5.8 จึงแน่ใจได้ว่าวัตถุดวงนี้จะเป็นอย่างเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก เควซาร์ การเลื่อนไปทางแดงที่สูงถึง 5.8 ถือว่าสูงกว่าวัตถุทั่วไปมาก แม้แต่วัตถุที่อยู่ไกลจากโลกมาก ๆ ที่พบกันก่อนหน้านี้ก็มีค่าการเลื่อนไปทางแดงสูงกว่า เล็กน้อยเท่านั้น 

การประเมินค่าระยะทางของวัตถุจากค่าการเลื่อนไปทางแดงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นเช่นอัตราการขยายตัวของเอกภพซึ่งยังเป็นค่าที่ยังหาค่าที่แน่นอนไม่ได้ ไมเคิล สเตราสส์ จากมหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ได้ประเมินว่าเควซาร์นี้อยู่ห่างจากโลก 12,000 ล้านปีแสง นั่นหมายถึงแสงจากเควซาร์นี้เป็นแสงที่เกิดขึ้นเมื่อ 12,000 ล้านปีก่อน หรือหลังจากเอกภพเกิดขึ้นมาได้ไม่ถึงพันล้านปี ดังนั้นการศึกษาเควซาร์นี้ก็คือการศึกษาสภาพของเอกภพในยุคเริ่มต้นนั่นเอง 
กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.5 เมตรของ SDSS ตั้งอยู่ที่หอสังเกตการณ์อาปาเชพอยต์ในนิวเม็กซิโก

กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.5 เมตรของ SDSS ตั้งอยู่ที่หอสังเกตการณ์อาปาเชพอยต์ในนิวเม็กซิโก

ที่มา: