สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยูลิสซีสพบเฮียะกุตาเกะ

ยูลิสซีสพบเฮียะกุตาเกะ

1 พ.ค. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ พฤษภาคม 2539 ในขณะที่ยานยูลิสซีส ยานสำรวจดวงอาทิตย์กำลังโคจรอยู่ในอวกาศ ได้ตรวจพบตัวเองกำลังโคจรอยู่ในหางของดาวหางเฮียะกุตาเกะ ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นยานอยู่ห่างจากหัวดาวหางนับร้อยล้านกิโลเมตร นับเป็นการพบหางของดาวหางที่ยาวที่สุดที่เคยพบมา 

รายงานการค้นพบครั้งนี้เพิ่งได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ เมษายนที่ผ่านมานี้เอง เป็นผลงานของนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนและสถาบันวิทยาศาสตร์อวกาศนานาชาติในสวิตเซอร์แลนด์ 

ยานยูลิสซีสได้สังเกตพบอนุภาคประจุไฟฟ้าที่เพิ่มจำนวนมากอย่างผิดปรกติ โดยจำนวนประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้นนับพันเท่าภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่ลมสุริยะจากดวงอาทิตย์อยู่ในช่วงที่เบาบางกว่าภาวะปรกติ 

จากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดพบว่า ความผิดปรกติที่เกิดขึ้นเกิดจากการที่ยานยูลิสซีสได้เคลื่อนผ่านเข้าไปในหางของดาวหางเฮียะกุตาเกะ ในขณะนั้นยานได้อยู่ห่างจากดาวหางถึงกว่า 500 ล้านกิโลเมตร นับเป็นหางดาวหางที่ยาวที่สุดในบรรดาดาวหางทั้งหมดที่เคยรู้จักมา 

สเปกโทรมิเตอร์ของยูลิสซีสพบว่าหางอันเบาบางของเฮียะกุตาเกะประกอบด้วยคาร์บอนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีไนโตรเจนและน้ำบ้างเล็กน้อย