สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ซูเปอร์แฟลร์ อีกหนึ่งมหันตภัยจากนอกโลก

ซูเปอร์แฟลร์ อีกหนึ่งมหันตภัยจากนอกโลก

1 ก.พ. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ใครเล่าจะคาดคิดว่า วันดีคืนดี ดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นมารดาผู้ให้พลังงานทั้งปวงแก่มนุษย์โลกและสรรพสัตว์ จะเกิดกราดเกรี้ยวสาดพลังงานเข้มข้นออกมาอย่างไม่ทันได้รู้เนื้อรู้ตัวเผาดาวเทียมนอกโลกทุกดวงให้ไหม้หมด ทำลายชั้นโอโซนของโลกไม่มีเหลือปล่อยให้รังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ทะลุทะลวงบรรยากาศลงมาถึงพื้นล่างและทำลายห่วงโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิตบนโลกจดหมดสิ้น 

เหตุการณ์นี้ถึแม้ว่าอาจจะยังไม่เกิดขึ้นกับระบบสุริยะของเรา แต่มันได้เกิดขึ้นแล้วกับดาวฤกษ์ดวงอื่น แบรดลีย์ เชเฟอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเยล ได้เสนอแนวคิดนี้และกล่าวว่า เขาได้ตรวจพบดาวฤกษ์ที่คล้ายกับดวงอาทิตย์ ดวงในดาราจักรของเราที่เคยปล่อยพลังงานช่วงสั้น ๆ ออกมา พลังงานที่ปล่อยมานี้มีลักษณะคล้ายกับแฟลร์ (flare) ที่เกิดขึ้นตามปกติบนดวงอาทิตย์แต่มีความรุนแรงกว่าตั้งแต่ร้อยเท่าจนถึงสิบล้านเท่า เชเฟอร์กล่าวว่าอัตราการเกิด "ซูเปอร์แฟลร์" ของดาวฤกษ์ชนิดนี้มีประมาณ ครั้งต่อในรอบ 100 ปี แต่อย่างไรก็ตาม เราจะยังคงปลอดภัยจากปรากฏการณ์นี้เพราะเชื่อว่ามันจะยังไม่เกิดขึ้นกับดวงอาทิตย์ของเราอีกอย่างแน่นอน เพราะว่าซูเปอร์แฟลร์นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อดาวฤกษ์นั้นมีดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กความเข้มข้นสูงมาก และโคจรด้วยวงโคจรที่เล็กกว่าวงโคจรดาวพุธเท่านั้น เมื่อสนามแม่เหล็กจากวัตถุทั้งสองนี้มาตัดกัน มันจะทำปฏิกิริยาต่อกันและปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาเป็นปรากฏที่เรียกว่า ซูเปอร์แฟลร์ ซึ่งระบบสุริยะของเราไม่เข้าลักษณะนี้ เพราะว่าดาวเคราะห์ชั้นในอย่างดาวพุธมีสนามแม่เหล็กอ่อนมาก ส่วนดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นอย่างดาวพฤหัสบดีก็อยู่ห่างดวงอาทิตย์เกินไป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากได้มีการค้นพบระบบสุริยะอื่น ๆ หลายระบบที่มีดาวเคราะห์ยักษ์แบบดาวพฤหัสบดีโคจรรอบดาวฤกษ์ในวงโคจรแคบ ๆ จึงเป็นไปได้ที่ระบบสุริยะเหล่านี้อาจปล่อยซูเปอร์แฟลร์ออกมาวันใดวันหนึ่งข้างหน้านี้ 

เมื่อดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นโคจรใกล้ ๆ ดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์ เมื่อสนามแม่เหล็กจากดาวทั้งสองดวงทำปฏิกิริยาต่อกัน มันจะปล่อยพลังงานออกมาอย่างมากมายมหาศาล

เมื่อดาวเคราะห์ที่มีสนามแม่เหล็กเข้มข้นโคจรใกล้ ๆ ดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์ เมื่อสนามแม่เหล็กจากดาวทั้งสองดวงทำปฏิกิริยาต่อกัน มันจะปล่อยพลังงานออกมาอย่างมากมายมหาศาล

ที่มา: