สมาคมดาราศาสตร์ไทย

มาตราใหม่สำหรับวัดความอันตรายจากดาวเคราะห์น้อย

มาตราใหม่สำหรับวัดความอันตรายจากดาวเคราะห์น้อย

1 ส.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ในที่ประชุม UNISPACE III ขององค์การสหประชาชาติในกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2542 ที่ผ่านมา สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (IAU- International Astronomical Union) ได้ประกาศใช้ระบบมาตราใหม่ขึ้นมาเพื่อใช้แสดงระดับความอันตรายที่เกิดจากการพุ่งเข้าชนโลกของดาวเคราะห์น้อย ระบบนี้มีชื่อว่า มาตราโตริโน (Torino Scale) แบ่งออกเป็นระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ 10 ซึ่งคล้ายคลึงกับมาตราวัดริคเตอร์ (Richter scale) ที่ใช้สำหรับแสดงความรุนแรงของแผนดินไหวบนโลก แต่มาตราโตริโนนี้มีความหมายครอบคลุมทั้งสองนัยคือ แสดงทั้งความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นหากดาวเคราะห์น้อยนั้นชนโลก และโอกาสที่ดาวเคราะห์น้อยดวงนั้นจะชนโลกด้วย 

ดาวเคราะห์น้อยที่มีค่าตามมาตราโตริโนอยู่ที่ระดับ จะหมายความว่า ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะไม่มีโอกาสชนโลกเลย หรือถ้าพุ่งเข้าชนโลกก็จะไม่ตกถึงพื้นโลก ส่วนระดับ 10 จะหมายถึงดาวเคราะห์น้อยดวงนี้จะชนโลกแน่นอน และจะสร้างความเสียหายอย่างอย่างรุนแรงทั่วทั้งโลก 

เนื่องจากในขณะนี้ยังไม่พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงใดมีโอกาสจะชนโลก ดั้งนั้นดาวเคราะห์น้อยทุกดวงที่รู้จักจึงมีค่า ตามมาตราโตริโน ดาวเคราะห์น้อย 1999 AN10 ที่ได้สร้างความอกสั่นขวัญแขวนแก่ชาวโลกเมื่อไม่นานมานี้เคยมีค่าตามมาตราโตริโนอยู่ที่ระดับ มาก่อน แต่ต่อมาได้ถูกลดระดับเหลือเพียง หลังจากที่มีการคำนวณเส้นทางโคจรใหม่และไม่พบว่าจะชนโลกแต่อย่างใด 

ชื่อ "โตริโน" นี้ตั้งตามชื่อเมือง ๆ หนึ่งในอิตาลี ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ ทีมพัฒนามาตรานี้ทำงานอยู่ มาตราโตริโนถูกพัฒนาขึ้นมาโดย ริชาร์ด บินเซล ศาสตราจารย์ทางดาราศาสตร์ดาวเคราะห์ของ MIT เนื่องจากเขาได้เห็นว่า การสื่อสารและการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อแสดงระดับความอันตรายที่เกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อยที่ใช้กันอยู่ยังมีความคลุมเครืออยู่ ไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ทำให้เกิดความสับสนในหมู่สาธารณชน จนเป็นที่มาของข่าวโคมลอยต่าง ๆ มากมาย จึงได้หวังว่ามาตราโตริโนนี้จะช่วยทำให้การสื่อสารมีความชัดเจนยิ่งขึ้น 

ดาวเคราะห์น้อย 1999 AN10 ยังมีค่าตามมาตราโตริโนอยู่ที่ 0

ดาวเคราะห์น้อย 1999 AN10 ยังมีค่าตามมาตราโตริโนอยู่ที่ 0

ที่มา: