สมาคมดาราศาสตร์ไทย

พบดาวเคราะห์บริวารของดาวคู่

พบดาวเคราะห์บริวารของดาวคู่

1 พ.ย. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์จากโครงการไมโครเลนซิงพลาเนตเสิร์ช (Microlensing Planet Search MPS) นำโดยเดวิด เบนเนตต์ และ ซุน ฮอง รี จากมหาวิทยาลัยนอเตอร์แดม ได้พบหลักฐานของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงใหม่ซึ่งโคจรรอบระบบดาวคู่จากการใช้เทคนิคไมโครเลนซิง 

ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ พฤศจิกายน ดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้มีมวลประมาณ เท่าของดาวพฤหัสบดี 

ก่อนหน้านี้ได้มีการค้นพบดาวเคราะห์ของดาวฤกษ์ดวงอื่นมาแล้วหลายดวง แต่ดาวเคราะห์ที่พบทั้งหมดเป็นบริวารของดาวฤกษ์เดี่ยว ถึงแม้ว่าดาวฤกษ์บางดวงในจำนวนนั้นอาจเป็นสมาชิกของระบบดาวคู่ แต่ดาวเคราะห์เหล่านั้นก็โคจรรอบดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว การที่ค้นพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรรอบดาวคู่ในครั้งนี้เป็นการเพิ่มความมั่นใจให้กับนักดาราศาสตร์ว่า ยังจะมีโอกาสพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะอีกมาก เพราะประมาณว่าสองในสามของดาวฤกษ์ในบริเวณใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์เป็นระบบดาวคู่หรือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์หลายดวงโคจรรอบกัน 

ปรากฏการณ์เลนส์ความโน้มถ่วง (gravitational lensing) เป็นทฤษฎีที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1930 โดยอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งกล่าวว่า เมื่อวัตถุเช่นดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ข้างหลัง สนามความโน้มถ่วงของวัตถุที่เข้ามาบังจะประพฤติตัวเหมือนกับเลนส์ ซึ่งจะขยายแสงของดาวฤกษ์ฉากหลังให้สว่างขึ้น 

การค้นพบครั้งนี้ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์เลนส์จุลภาคนี้มีชื่อว่า MACHO-97-BLG-41 (จากชื่อมีความหมายว่า ปรากฏการณ์เลนส์จุลภาคครั้งที่ 41 ในปี 1997 ที่ค้นพบโดยเครือข่าย MACHO) รูปแบบของเส้นความสว่าง (light curve) ที่เกิดขึ้นตลอดช่วงเวลา 100 วันที่เกิดปรากฏการณ์มีความซับซ้อนเกินกว่าจะเชื่อว่าเกิดจากเลนส์ความโน้มถ่วงของดาวดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว หลังจากการสร้างแบบจำลองหลาย ๆ รูปแบบพบว่า แบบจำลองที่ให้ผลสอดคล้องกับผลจากการสังเกตการณ์ที่สุดคือ ระบบดาวคู่ที่มีดาวเคราะห์โคจรรอบอยู่ อย่างไรก็ตาม แบบจำลองแบบอื่น เช่นดาวที่มาบังเป็นดาวคู่ธรรมดาที่ไม่มีดาวเคราะห์โคจร หรือดาวที่มาบังอาจเป็นดาวดวงเดี่ยว แต่ดาวที่อยู่ฉากหลังเป็นดาวคู่ ก็อาจเป็นไปได้เช่นกัน 

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ MPS ได้ที่ http://bustard.phys.nd.edu/MPS/ 

เส้นความสว่างของปรากฏการณ์เลนส์จุลภาค MACHO-97-BLG-41

เส้นความสว่างของปรากฏการณ์เลนส์จุลภาค MACHO-97-BLG-41

ดาวเคราะห์ขนาดดาวพฤหัสบดีที่โคจรรอบระบบดาวคู่อย่างนี้ อาจเป็นต้นกำเนิดของปรากฏการณ์เลนซิง MACHO-97-BLG-41

ดาวเคราะห์ขนาดดาวพฤหัสบดีที่โคจรรอบระบบดาวคู่อย่างนี้ อาจเป็นต้นกำเนิดของปรากฏการณ์เลนซิง MACHO-97-BLG-41

ที่มา: