สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานวอยเอเจอร์ 1 ทำลายสถิติเดินทางไกล แซงไพโอเนียร์ 10

ยานวอยเอเจอร์ 1 ทำลายสถิติเดินทางไกล แซงไพโอเนียร์ 10

25 ก.พ. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อเวลา 5.10 น. ของวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2541 ยานวอยเอเจอร์ ได้กลายเป็นสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่เดินทางไปได้ไกลที่สุด ไกลกว่าแชมป์เก่ายานไพโอเนียร์ 10 ที่เดินทางนำไปก่อนหน้านี้ 

ขณะนี้ยานวอยเอเจอร์ อยู่ห่างจากโลกถึง 10.4 พันล้านกิโลเมตร หรือไกลกว่าระยะทางจากโลกถึงดวงอาทิตย์ถึงเกือบ 70 เท่า ที่ระยะตำแหน่งจากขอบสุริยะของยานนี้ แสงอาทิตย์จะสว่างเพียงประมาณหนึ่งในห้าหมื่นของความสว่างเมื่อมองจากโลกเท่านั้น ดังนั้นตัวยานจึงอยู่ในสภาพที่เย็นจัด และพลังงานจากดวงอาทิตย์มีไม่มากพอที่จะให้กำเนิดพลังงานกับยานได้ แต่ตัวยานก็ยังคงทำงานต่อไปได้ด้วยพลังงานจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า RTG (Radioisotope Thermal Electric Generator)

ยานวอยเอเจอร์ได้ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อวันที่ กันยายน 2520 และไปถึงดาวพฤหัสบดีในวันที่ มีนาคม 2522 และถึงดาวเสาร์ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2523 หลังจากที่ได้เข้าเฉียดดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์แล้วจึงได้ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวเสาร์เหวี่ยงขึ้นเหนือระนาบสุริยวิถีไป 

ส่วนยานไพโอเนียร์ 10 ได้เดินทางออกจากโลกไปเมื่อวันที่ มีนาคม 2515 ภารกิจหลักของยานได้สิ้นสุดไปตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2540 ยานวอยเอเจอร์ และยานไพโอเนียร์ 10 กำลังเดินทางในทิศทางที่เกือบจะตรงข้ามกัน

สัญญาณจากยานวอยเอเจอร์ ต้องใช้เวลานานถึง ชั่วโมง 36 นาทีจึงจะมาถึงโลก ด้วยกำลังของเครื่องส่งที่มีเพียง 20 วัตต์ สัญญาณที่รับได้บนโลกในรูปของพลังงานคลื่นวิทยุ มีปริมาณน้อยกว่าแบตเตอรี่ของนาฬิกาข้อมือถึงสองหมื่นล้านเท่า 

แม้ว่ายานวอยเอเจอร์ รวมถึงยานวอยเอเจอร์ คู่แฝดของมัน ได้เดินทางไปไกลกว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทั้งหมดที่รู้จักมากหลายเท่า แต่ก็ยังถือว่าอยู่ภายในเขตของระบบสุริยะ เนื่องจากยังอยู่ภายในขอบเขตของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์หรือที่เรียกว่าเฮลิโอสเฟียร์ เชื่อว่ายานทั้งสองอาจจะอยู่ใกล้กับขอบนอกของเฮลิโอสเฟียร์แล้ว เนื่องจากเครื่องมือวัดจากยานทั้งสองได้ตรวจพบสัญญาณที่เชื่อว่า มาจากขอบนอกของเฮลิโอสเฟียร์หรือที่เรียกว่าเฮลิโอพอส 

สัญญาณจากยานวอยเอเจอร์จะถูกรับโดยเครือข่ายจานรับสัญญาณดีปสเปซเนตเวิร์ก (Deep Space Network) ซึ่งกระจายอยู่ในสามมุมโลก ที่สเปน ออสเตรเลียและแคลิฟอร์เนีย เชื้อเพลิงของยานทั้งสองจะหล่อเลี้ยงยานไปได้จนถึงปี พ.ศ. 2563 และเมื่อถึงขณะนั้น วอยเอเจอร์ จะอยู่ห่างจากโลกถึงสองหมื่นล้านกิโลเมตร หรือ 150 หน่วยดาราศาสตร์ 

ยานวอยเอเจอร์ กำลังพุ่งทะลวงอวกาศออกไปด้วยอัตราเร็วถึง 17.4 กิโลเมตรต่อวินาที ในขณะเดียวกัน ยานวอยเอเจอร์ ก็เคลื่อนที่ไปด้วยอัตราเร็ว 15.9 กิโลเมตรต่อวินาที อยู่ห่างจากโลก 8.1 พันล้านกิโลเมตร 

ยานวอยเอเจอร์ 1

ยานวอยเอเจอร์ 1

เส้นทางการเคลื่อนที่ของยานวอยเอเจอร์ 1 และยานไพโอเนียร์ ทั้งสองลำอยู่ที่ตำแหน่งใกล้กับขอบของเฮลิโอสเฟียร์

เส้นทางการเคลื่อนที่ของยานวอยเอเจอร์ 1 และยานไพโอเนียร์ ทั้งสองลำอยู่ที่ตำแหน่งใกล้กับขอบของเฮลิโอสเฟียร์

ที่มา: