สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาวเทียมไอเอสโอพบน้ำบนดวงจันทร์ไททัน

ดาวเทียมไอเอสโอพบน้ำบนดวงจันทร์ไททัน

1 มิ.ย. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์ยุโรปได้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากดาวเทียมไอเอสโอ (Infrared Space Observatory) สถานีสังเกตการณ์ลอยฟ้าของยุโรป ได้พบร่องรอยของน้ำบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ การค้นพบนี้ได้มีการแถลงข่าวไปเมื่อวันที่ เมษายน ที่ผ่านมา 

น้ำที่พบบนดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์นี้ อยู่ในรูปของไอน้ำที่ปะปนอยู่ในบรรยากาศของดวงจันทร์ สถานีสังเกตการณ์ไอเอสโอได้ตรวจพบโดยการตรวจจับรังสีอินฟราเรดที่ความยาวคลื่น 39 และ 44 ไมครอน ซึ่งเป็นสมบัติเฉพาะของน้ำ 

นักดาราศาสตร์บางคนคิดว่า ดวงจันทร์ไททันอาจมีลักษณะและองค์ประกอบทางเคมีคล้ายกับโลกในยุคเริ่มต้นที่ยังไม่มีสิ่งมีชีวิตอุบัติขึ้น เป็นไปได้ว่าดวงจันทร์ไททันยังคงมีสภาพแบบดั้งเดิมนั้นเอาไว้จนถึงบัดนี้ โดยไม่เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นเนื่องจากถูกรักษาสภาพด้วยความเย็นจัดที่ระยะกว่า หน่วยดาราศาสตร์จากดวงอาทิตย์ 

การค้นพบนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สถานีสังเกตการณ์ไอเอสโอใกล้จะปลดระวาง ซึ่งในช่วงนี้สถานีสังเกตการณ์นี้ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญไปหลายอย่าง เช่น การสำรวจการกำเนิดดาวฤกษ์ในเนบิวลานายพราน การชนกันของดาราจักร และการค้นพบดาราจักรใหม่โดยมองผ่านโพรงของฝุ่นแก๊สของดาราจักรทางช้างเผือก 

อายุการทำงานของไอเอสโอสิ้นสุดลงในวันที่ เมษายน เนื่องจากฮีเลียมเหลวที่ทำหน้าที่หล่อเย็นให้กับอุปกรณ์สำรวจ เพื่อให้มีความไวต่อสัญญาณอินฟราเรดได้หมดลง 

ไอเอสโอได้ทะยานขึ้นจากโลกโดยจรวด เอเรียน ในเดือนพฤศจิกายน 2538 มีกำหนดอายุการใช้งานจนถึงเดือนพฤษภาคม 2540 แต่ภารกิจก็ได้ถูกยืดเวลาให้นานขึ้นเกือบปีด้วยการใช้ฮีเลียมเหลวและเชื้อเพลิงอย่างทะนุถนอม 

สำหรับยานอวกาศสำรวจลำถัดไปที่จะส่งขึ้นไปในอนาคตของ ESA คือ เฟิสต์ (FIRST) ซึ่งยานอวกาศลำนี้จะสำรวจอวกาศในย่านอินฟราเรดคลื่นยาว 

ดาวเทียมไอเอสโอ (ISO)

ดาวเทียมไอเอสโอ (ISO)

ที่มา: