สมาคมดาราศาสตร์ไทย

แนวหลุมประหลาดบนแกนีมีด

แนวหลุมประหลาดบนแกนีมีด

1 ส.ค. 2541
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม เจพีแอลได้เปิดเผยภาพพื้นผิวของแกนีมีด ดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีและระบบสุริยะ เป็นภาพที่ถ่ายโดยยานกาลิเลโอ ภาพดังกล่าวได้แสดงลักษณะพื้นผิวของแกนีมีดได้อย่างชัดเจน รวมทั้งรอยชนของอุกกาบาตน้อยใหญ่อยู่ทั่วไป แต่รอยที่เด่นและแปลกตาที่สุดคือ แนวของหลุมที่เรียงกันเป็นแถวยาวกว่า 150 กิโลเมตร

ปัจจุบันพบร่องรอยคล้าย ๆ กันนี้บนแกนีมีดแล้ว แห่ง และพบบนดวงจันทร์คัลลิสโตกว่า 12 แห่ง สำหรับที่มาของแถวของหลุมนี้ นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเกิดจากดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อยที่มาเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีมากเกินไป จนถูกแรงน้ำขึ้นลงฉีกให้แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เศษดาวเหล่านี้เมื่อแตกแล้วยังคงเกาะกลุ่มโคจรต่อไป จนกระทั่งชนเข้ากับดาวเคราะห์ดวงจันทร์บริวารดวงใดดวงหนึ่ง คล้าย ๆ กับกรณีที่ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี แตกตัวแล้วพุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดีเมื่อปี 2537 

หลุมที่เรียงกันเป็นแนวยาวบนแกนีมีด ถ่ายโดยยานกาลิเลโอ

หลุมที่เรียงกันเป็นแนวยาวบนแกนีมีด ถ่ายโดยยานกาลิเลโอ

ที่มา: