สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สตาร์ดัสต์กลับถึงบ้าน

สตาร์ดัสต์กลับถึงบ้าน

20 ม.ค. 2549
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
หลังจากการเดินทางเป็นระยะทาง 4.63 พันล้านกิโลเมตร เป็นเวลา ปีในอวกาศ ในที่สุด ยานสตาร์ดัสต์ของนาซาก็กลับถึงบ้านแล้ว

เมื่อเวลา 2:12 น. ตามเวลามาตรฐานแปซิฟิก หรือ 17:12 น. ตามเวลาในประเทศไทย ยานสตาร์ดัสต์ได้ปล่อยแคปซูลที่บรรจุตัวอย่างชิ้นส่วนดาวหางออก แคปซูลหนัก 45.36 กิโลกรัมได้พุ่งฝ่าบรรยากาศโลกด้วยความเร็ว 46,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วกลับสู่โลกที่สูงกว่ายานใด ๆ ที่เคยทำไว้ เมื่อเข้าใกล้จนอยู่สูงเหนือพื้นดิน 32 กิโลเมตร ร่มชะลอก็กางออก ส่วนร่มหลักกางออกเมื่อเหลือระยะทางอีก กิโลเมตรจะถึงพื้นดิน จนในที่สุดยานก็สัมผัสพื้นดินอย่างปลอดภัยในทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของซอลต์เลกซิตีของรัฐยูทาห์ซึ่งเป็นพื้นที่ทดสอบและฝึกซ้อมของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา

หลังจากนั้นแคปซูลได้ถูกนำกลับมาไว้ในห้องปลอดเชื้อเพื่อเปิดแคปซูล รายงานเบื้องต้นยืนยันว่าแผงกักฝุ่นเก็บฝุ่นจากดาวหางได้จริง คาดว่าปริมาณของฝุ่นที่ดักได้มีน้ำหนักประมาณ 28 กรัม หลังจากนี้ตัวอย่างนี้จะถูกส่งไปยังศูนย์อวกาศจอห์นสันในฮูสตันต่อไป ส่วนการวิเคราะห์วัตถุจากดาวหางอาจต้องใช้เวลาอีกเป็นปี

ยานสตาร์ดัสต์มีเป้าหมายสำคัญคือการเก็บตัวอย่างวัสดุจากดาวหางดวงหนึ่งชื่อ 81 พี/วีลด์ (81P/Wild 2) โดยใช้อุปกรณ์เก็บที่รูปร่างเหมือนไม้ตีเทนนิสดัก ส่วนที่ดักฝุ่นทำจากแอโรเจลซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่พรุนและเบาเป็นพิเศษ ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์จะได้สัมผัสกับชิ้นส่วนของดาวหางจริง 

นอกจากเก็บตัวอย่างฝุ่นดาวหางแล้ว สตาร์ดัสต์ยังได้ถ่ายภาพของนิวเคลียสดาวหางวีลด์ ด้วย และภาพจากสตาร์ดัสต์ก็สร้างความงุนงงให้นักดาราศาสตร์ไม่น้อยเมื่อพบว่าพื้นผิวของนิวเคลียสดาวหางดวงนี้มีภูมิประเทศหลากหลาย มีทั้งสิ่งที่ดูคล้ายเสาหิน หลุมบ่อมากมาย แทนที่จะดูปุกปุยดังที่นักดาราศาสตร์คาดคิดกัน

ระหว่างการเดินทางสู่ดาวหางวีลด์ ยังได้แวะเฉียดดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักดวงหนึ่งชื่อ แอนแฟรงก์ (Annefrank) สตาร์ดัสต์พบว่าดาวเคราะห์น้อยดวงนี้มีความยาวประมาณ กิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าที่เคยประมาณไว้จากการสำรวจภาคพื้นดิน และยังพบว่ามืดคล้ำกว่าที่คาดไว้อีกด้วย

การกลับสู่โลกของสตาร์ดัสต์ครั้งนี้ นอกจากสร้างความหวังแก่นักดาราศาสตร์แล้ว ยังสร้างแสงสีบนท้องฟ้าให้คนทั่วไปได้ตื่นเต้นกันอีกด้วย ขณะที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก แคปซูลได้ลุกสว่างจนมองเห็นได้ในหลายพื้นที่ที่อยู่ใต้เส้นทาง ตั้งแต่ซานฟรานซิสโก ซอลต์เลกซิตี จนถึงซีแอตเทิล

ดาวหางเป็นวัตถุที่มีต้นกำเนิดมาพร้อมกับระบบสุริยะ และคงสภาพดึกดำบรรพ์ในยุคตั้งต้นเอาไว้จนถึงปัจจุบันโดยเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก ดังนั้นการศึกษาดาวหางในแง่มุมต่าง ๆ จะช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจการกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะได้ดียิ่งขึ้น
ยานสตาร์ดัสต์

ยานสตาร์ดัสต์

เจ้าหน้าที่เก็บกู้กำลังขนแคปซูลออกจากเฮลิคอปเตอร์เพื่อนำไปยังห้องปลอดเชื้อ <wbr>(ภาพจาก <wbr>NASA)<br />

เจ้าหน้าที่เก็บกู้กำลังขนแคปซูลออกจากเฮลิคอปเตอร์เพื่อนำไปยังห้องปลอดเชื้อ (ภาพจาก NASA)

ดาวเคราะห์น้อย <wbr>5535 <wbr>แอนแฟรงก์ <wbr>ที่ถ่ายจากสตาร์ดัสต์<br />
<br />

ดาวเคราะห์น้อย 5535 แอนแฟรงก์ ที่ถ่ายจากสตาร์ดัสต์

ภาพที่ถ่ายในย่านอินฟราเรดจากกล้องวิดีโอของนาซา <wbr>จับภาพแคปซูลของสตาร์ดัสต์ขณะกำลังกลับลงพื้นโลก<br />
<br />

ภาพที่ถ่ายในย่านอินฟราเรดจากกล้องวิดีโอของนาซา จับภาพแคปซูลของสตาร์ดัสต์ขณะกำลังกลับลงพื้นโลก

แผงเก็บฝุ่นที่เพิ่งถูกนำออกจากยาน

แผงเก็บฝุ่นที่เพิ่งถูกนำออกจากยาน

ภาพระยะใกล้ของแอโรเจลที่ใช้เป็นอุปกรณ์เก็บฝุ่น <wbr>เห็นรอยชนของฝุ่นดาวหางเล็ก <wbr>ๆ <wbr>อย่างชัดเจน<br />
<br />

ภาพระยะใกล้ของแอโรเจลที่ใช้เป็นอุปกรณ์เก็บฝุ่น เห็นรอยชนของฝุ่นดาวหางเล็ก ๆ อย่างชัดเจน

ที่มา: