สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์พลาด

ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์พลาด

16 ธ.ค. 2540
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้คืนสู่สภาวะปกติอีกครั้งเมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2540 ที่ผ่านมา หลังจากที่เกิดเหตุผิดพลาดกับเส้นทางโคจรรอบดาวอังคารเมื่อต้นเดือนตุลาคม 

เมื่อวันที่ ตุลาคม ในขณะที่ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ได้โคจรเฉียดเข้าไปในชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร เพื่ออาศัยแรงเสียดทานของบรรยากาศช่วยปรับวงโคจรของยาน ให้เข้าที่ก่อนที่จะเริ่มทำการสำรวจพื้นผิวดาวอังคารอย่างจริงจังในต้นปีหน้า ทิศทางการโคจรของยานได้เปลี่ยนไปโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ยานเฉียดใกล้ผิวดาวอังคารที่ระดับต่ำกว่าระดับที่กำหนดเอาไว้ถึงสองเท่า ทำให้วงโคจรของยานเบี่ยงเบนไปจากที่กำหนดเอาไว้ แต่ทาง JPL ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมจากพื้นโลก ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้โดยในการเข้าเฉียดบรรยากาศดาวอังคารครั้งถัดไป จะต้องเข้าเฉียดห่างจากผิวดาวมากคราวก่อน ซึ่งส่งผลให้ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการปรับวงโคจรเลื่อนออกไปอีกถึง ปีโลก หรือครึ่งปีดาวอังคาร 

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับวงโคจรของยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ในครั้งนี้ อาจเกี่ยวเนื่องกับปัญหาของแผงสุริยะของยาน ซึ่งเกิดปัญหาตั้งแต่หลังจากที่ยานขึ้นจากพื้นโลกได้ไม่นาน แผงสุริยะนี้ได้กางออกเลยจากตำแหน่งที่ตั้งเอาไว้ถึง 20 องศา แม้จะไม่มีผลต่อระบบผลิตกระแสไฟฟ้า แต่แผงนี้ก็มีการสั่นไหวในช่วงที่ยานเฉียดเข้าไปในชั้นบรรยากาศดาวอังคาร 

การที่ระยะเวลาการทำงานของยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์เลื่อนออกไปนี้ หมายความว่า แทนที่ยานจะได้สำรวจดาวอังคารในช่วงที่เป็นฤดูร้อนของซีกใต้ตามที่นักดาราศาสตร์ต้องการ กลับกลายเป็นฤดูร้อนของซีกเหนือของดาวอังคารแทน และระยะเวลาของโครงการที่ยาวนานขึ้นทำให้ต้องใช้งบที่มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ช่วงเวลาสำรวจก็จะไปซ้อนทับกับโครงการสำรวจดาวอังคารอีกสองโครงการคือ มาร์สเซอร์เวเยอร์ 98 ของนาซา และยาน พลาเนตบี ของญี่ปุ่นที่จะตามขึ้นไปสำรวจดาวอังคารในปีหน้า 

ภาพวาดในจินตนาการ ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ ขณะอยู่เหนือดาวอังคาร

ภาพวาดในจินตนาการ ยานมาร์สโกลบัลเซอร์เวเยอร์ ขณะอยู่เหนือดาวอังคาร

ที่มา: