สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ซูเปอร์วอส์ป ต่อพันธุ์ใหม่ใช้หาดาวเคราะห์

ซูเปอร์วอส์ป ต่อพันธุ์ใหม่ใช้หาดาวเคราะห์

19 พ.ค. 2547
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
การค้นหาดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่น ได้กลายมาเป็นการค้นหาที่ท้าทายที่สุดประเภทหนึ่งสำหรับนักดาราศาสตร์นับตั้งแต่มีการค้นพบดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอื่นเป็นครั้งแรกเมื่อทศวรรษที่แล้ว กลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ที่หอดูดาวลาปาลมาในหมู่เกาะคะเนรี ได้มีการเปิดใช้งานอุปกรณ์ใหม่สำหรับค้นหาดาวเคราะห์จากแดนไกลโดยเฉพาะ หากให้นึกภาพของอุปกรณ์ใหม่นี้ หลายคนอาจนึกถึงภาพกล้องขนาดมหึมาอย่างกล้องเคกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 10 เมตร หรือกล้องฮอบบี-เอเบอร์ลีที่มีขนาดกระจกถึง 11 เมตร หรืออาจจะเป็นเครือข่ายอินเตอร์เฟอโรเมทรีกว้างหลายร้อยเมตร เปล่าเลย อุปกรณ์แสงหลักของกล้องนี้คือ เลนส์เทเลโฟโตที่หาซื้อได้ตามร้านขายกล้องถ่ายรูป 

อุปกรณ์ชนิดใหม่นี้มีชื่อว่า ซูเปอร์วอส์ป (SuperWASP--Super-Wide Angle Sky Patrol) ประกอบด้วยเลนส์เทเลโฟโต 200 มิลลิเมตร เอฟ/1.8 ของแคนอน ตัว ส่วนรับภาพคือชิปซีซีดีคุณภาพสูงที่มีความละเอียดถึง 2028x2028 พิกเซล เลนส์แต่ละตัวให้มุมภาพ 7.8x7.8 องศา เมื่อประกอบภาพจากเลนส์ทั้งสี่แล้วจะได้ภาพที่มีพื้นที่รวมมากกว่ากลุ่มดาวนายพรานทั้งกลุ่ม หลักการหาดาวเคราะห์ของอุปกรณ์นี้คือ ตรวจหาการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์ ซึ่งสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงความสว่างของดาวฤกษ์เป็นคาบ เป้าหมายหลักของการค้นหาแบบนี้คือ ดาวเคราะห์ขนาดประมาณดาวพฤหัสบดี คาดว่าอุปกรณ์ใหม่นี้จะช่วยให้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ ๆ หลายร้อยดวงเลยทีเดียว 

  

ขณะนี้มีโครงการค้นหาดาวเคราะห์กว่า 20 โครงการจากทั่วโลกที่คาดว่าจะใช้อุปกรณ์แบบนี้ เช่นโครงการโอเกิล-3 (OGLE-III) และโครงการโมอา (MOA) สองโครงการนี้เน้นไปที่ดาวฤกษ์จางจำนวนมากภายในมุมภาพแคบ ๆ นอกจากนี้ยังมีโครงการอื่นที่ใช้การสำรวจมุมกว้างเช่นโครงการสแตร์ โครงการพีเอสเอสทีของหอดูดาวโลเวลล์ โครงการสลูทของหอดูดาวพาโลมาร์ โครงการวัลแคนในแคลิฟอร์เนีย โครงการวัลแคนเซาท์ที่ขั้วโลกใต้ และโครงการแฮตของหอดูดาววิปเพิล

ซอฟต์แวร์ของซูเปอร์วอส์ปที่ใช้วัดความสว่างของดาวแต่ละดวงมีความแม่นยำสูงมาก สามารถวัดอันดับความสว่างได้ตั้งแต่ ถึง 13 โดยมีความคลาดเคลื่อนเพียง เปอร์เซ็นต์ (0.01 อันดับ) ในแต่ละคืน กล้องนี้จะสามารถถ่ายภาพได้ประมาณ 800 ภาพ รวมปริมาณข้อมูลดิบมากถึงราว 60 กิกะไบต์ หลังจากภาพผ่านการประมวลผลแล้ว จะมีการเผยแพร่ทางอินเทอร์เนตเพื่อให้บุคคลทั่วไปเอาไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นอีกด้วย

นอกจากการค้นหาดาวเคราะห์แล้ว ซูเปอร์วอส์ปยังสามารถนำไปใช้ในการสำรวจด้านอื่นอีก เช่นค้นหาและติดตามดาวแปรแสง ดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ซูเปอร์โนวา และแสงวาบรังสีแกมมาอีกด้วย 

กล้องซูเปอร์วอส์ป อุปกรณ์ล่าดาวเคราะห์แบบใหม่ล่าสุด ประกอบด้วยเลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 111 มิลลิเมตรสี่ตัว แต่คาดว่าจะสามารถค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ได้เป็นจำนวนมาก (ภาพจาก SuperWASP project)

กล้องซูเปอร์วอส์ป อุปกรณ์ล่าดาวเคราะห์แบบใหม่ล่าสุด ประกอบด้วยเลนส์ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 111 มิลลิเมตรสี่ตัว แต่คาดว่าจะสามารถค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ได้เป็นจำนวนมาก (ภาพจาก SuperWASP project)

ที่มา: