สมาคมดาราศาสตร์ไทย

โอซิริส-เร็กซ์ค้นหาดาวเคราะห์น้อยทรอยของโลก

โอซิริส-เร็กซ์ค้นหาดาวเคราะห์น้อยทรอยของโลก

9 ก.พ. 2560
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ยานโอซิริส-เร็กซ์ ได้ออกเดินทางจากโลกไปเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว จุดหมายปลายทางของภารกิจนี้คือดาวเคราะห์น้อยเบนนู ซึ่งมีกำหนดจะไปถึงดาวเคราะห์น้อยดวงนี้ในปีหน้า

แต่ช่วงระหว่างวันที่ 9-20 กุมภาพันธ์นี้ โอซิริส-เร็กซ์มีภารกิจพิเศษภารกิจหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นคือการค้นหาดาวเคราะห์น้อยทรอยของโลก ช่วงวันดังกล่าวเป็นช่วงเวลาพิเศษเพราะยานเคลื่อนที่ผ่านจุด แอล 4 ของโลก ซึ่งตามทฤษฎีแล้วควรมีดาวเคราะห์น้อยอยู่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ในการนี้ศูนย์ควบคุมภารกิจซึ่งอยู่ที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาจะส่งคำสั่งเปิดใช้งานกล้องเพื่อค้นหาดาวเคราะห์น้อยในบริเวณใกล้เคียง

จุดแอล เป็นจุดหนึ่งในวงโคจรของดาวเคราะห์โดยอยู่นำหน้าดาวเคราะห์อยู่ 60 องศา ถือว่าเป็น "แอ่งความโน้มถ่วง" เพราะเป็นจุดที่มีวงโคจรมีเสถียรภาพดี วัตถุไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่ถูกจับมาอยู่ในจุดนี้จะไม่ถูกดูดเข้าหาดวงอาทิตย์และไม่ถูกดูดเข้าหาดาวเคราะห์ แต่จะคงอยู่ที่จุดนี้ตลอดไป โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปพร้อม ๆ กับดาวเคราะห์โดยนำดาวเคราะห์อยู่เสมอ วัตถุทั้งสามในระบบ ได้แก่ ดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ และวัตถุ จะเรียงกันเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าพอดี นอกจากจุด แอล แล้วก็มีจุด แอล ซึ่งอยู่ตามหลังดาวเคราะห์เป็นมุม 60 องศาเช่นกัน  

ดาวเคราะห์น้อยที่อยู่ที่จุดนี้จัดเป็นประเภทพิเศษเรียกว่า ดาวเคราะห์น้อยทรอย (Trojan Asteroid) ปัจจุบันพบดาวเคราะห์น้อยทรอยแล้วมากมาย ดาวเคราะห์น้อยทรอยของดาวพฤหัสบดีมีมากที่สุด พบแล้วกว่า 6,000 ดวง นอกนั้นมีดวงละนิดละหน่อย  ดาวศุกร์กับโลกมีกันดวงละหนึ่ง ดาวอังคารมีเจ็ดดวง ดาวยูเรนัสมีหนึ่งดวง และดาวเนปจูนมี 18 ดวง

ดาวเคราะห์น้อยทรอยของโลกมีชื่อว่า 2010 ทีเค (2010 TK7) ค้นพบเมื่อเดือนตุลาคม 2553 โดยกล้องนีโอไวส์

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าในความเป็นจริงจะต้องมีดาวเคราะห์น้อยทรอยของโลกมากกว่านี้ เพียงแต่ยังไม่พบ นี่คือเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์ประจำโครงการโอซิริส-เร็กซ์ต้องการค้นหาเพิ่มเติม

ในช่วง 12 วันที่ยานจะเข้าไปใน "ดง" ของดาวเคราะห์น้อยทรอยที่จุดแอล นี้ จะใช้กล้องแมปแคม (MapCam) และกล้องโอแคม (OCAMS)  นักวิทยาศาสตร์ออกแบบกล้องโอแคมเพื่อค้นหาดาวเคราะห์น้อยที่อาจโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยเบนนู ด้วยมีหน้าที่นี้กล้องจึงต้องความสามารถในการกวาดหาวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ได้ดี จึงเหมาะในการค้นหาดาวเคราะห์น้อยทรอยด้วย

ยานโอซิริส-เร็กซ์เป็นโครงการขององค์การนาซา มีภารกิจหลักคือการสำรวจดาวเคราะห์น้อยเบนนู (101955 Bennu) และมีการเก็บตัวอย่างหินจากผิวดาวและนำกลับมายังโลกอีกด้วย

เส้นทางการเดินทางไปสู่ดาวเคราะห์น้อยเบนนูของยานโอซิริส-เร็กซ์จะผ่านจุด แอล-4 ของโลกในเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงเวลานี้ยานจะเปิดกล้องเพื่อสอดส่ายหาดาวเคราะห์น้อยทรอยของโลก (จาก OSIRIS-REx/UA.)

จุดลากรันจ์ทั้งห้าในระบบ โลก-ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยที่ประจำอยู่ที่จุด แอล หรือ แอล เรียกว่าดาวเคราะห์น้อยทรอย
(จาก Wikimedia Commons)

ภาพจากยานนีโอไวส์ <wbr>จุดสว่างส่วนใหญ่ในภาพคือดาราจักรที่อยู่ห่างไกล <wbr>แต่จุดในวงสีเขียวคือดาวเคราะห์น้อย <wbr>2010 <wbr>ทีเค <wbr>7 <wbr>(2010 <wbr>TK7) <wbr>ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยทรอยเพียงดวงเดียวของโลกที่เคยค้นพบ<br />
<br />

ภาพจากยานนีโอไวส์ จุดสว่างส่วนใหญ่ในภาพคือดาราจักรที่อยู่ห่างไกล แต่จุดในวงสีเขียวคือดาวเคราะห์น้อย 2010 ทีเค (2010 TK7) ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยทรอยเพียงดวงเดียวของโลกที่เคยค้นพบ

(จาก NEOWISE)

ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงยานโอซิริส-เร็กซ์ขณะเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยเบนนู

ภาพในจินตนาการของศิลปิน แสดงยานโอซิริส-เร็กซ์ขณะเข้าใกล้ดาวเคราะห์น้อยเบนนู (จาก NASA)

ที่มา: