สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดวงจันทร์ใหม่ของดาวพฤหัสบดี

ดวงจันทร์ใหม่ของดาวพฤหัสบดี

13 มิ.ย. 2545
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
หลังจากที่ปล่อยให้ดาวเสาร์และดาวยูเรนัสผลัดกันครองแชมป์ลูกดกมาเป็นเวลานาน คราวนี้ก็ถึงเวลาของดาวพฤหัสบดีเสียที เมื่อนักดาราศาสตร์ได้ค้นพบดวงจันทร์ใหม่ของดาวพฤหัสบดีคราวเดียว 11 ดวง เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา สก็อตต์ เอส. เชปเพิร์ด และเดวิด ซี. จีวิตต์ จากมหาวิทยาลัยฮาวายได้สำรวจดาวพฤหัสบดีด้วยกล้องโทรทรรศน์แคนาดา-ฝรั่งเศส-ฮาวายขนาด 3.6 เมตร และกล้องขนาด 88 นิ้วของมหาวิทยาลัยฮาวายที่หอสังเกตการณ์มานาเคอาในฮาวาย ภาพชุดแรกที่ค้นพบได้มาในเดือนธันวาคม 2544 หลังจากนั้นได้มีการสำรวจเพิ่มเติมในเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ และพฤษภาคม จึงสามารถยืนยันการค้นพบดังกล่าวนี้ได้ 

ข้อมูลทั่วไปของดวงจันทร์ดวงใหม่ทั้ง 11 ดวง
ดวงจันทร์ความสว่างปรากฏเส้นผ่านศูนย์กลางโดยประมาณ (กิโลเมตร)
S/2001 J1023.12
S/2001 J823.0
S/2001 J923.1
S/2001 J222.3
S/2001 J722.8
S/2001 J322.1
S/2001 J623.2
S/2001 J422.7
S/2001 J1122.7
S/2001 J523.0
S/2001 J122.0


จากการคำนวณวงโคจรโดย ไบรอัน จี. มารส์เดน จากศูนย์ดาราฟิสิกส์ฮาร์วาร์ด-สมิทโซเนียน และโรเบิร์ต เอ. จาคอปสันจากเจพีแอล พบว่าบริวารน้องใหม่ทั้ง 11 ดวงนี้โคจรรอบดาวพฤหัสบดีแบบถอยหลังทั้งหมด มีคาบอยู่ในช่วง 557 ถึง 773 วัน มีวงโคจรที่กว้างมาก รีมาก และมีระนาบเอียงมาก ทำให้เชื่อได้ว่าดวงจันทร์ทั้ง 11 ดวงนี้เป็นวัตถุจากภายนอกที่ถูกคว้าจับโดยดาวพฤหัสบดี 

นอกจากนี้ยังพบว่าดวงจันทร์น้องใหม่ที่ค้นพบนี้มีขนาดเล็กมาก แม้จะสันนิษฐานว่าพื้นผิวของดวงจันทร์เหล่านี้มืดมาก ดวงที่ใหญ่ที่สุดก็ยังมีขนาดไม่เกิน กิโลเมตร 

การค้นพบใหม่นี้ทำให้ดาวพฤหัสบดีมีบริวารที่ค้นพบและยืนยันแล้ว 39 ดวง  

ภาพชุดที่ค้นพบดวงจันทร์ S/2001 J3 ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี (ภาพจาก Scott Sheppard, David Jewitt)

ภาพชุดที่ค้นพบดวงจันทร์ S/2001 J3 ซึ่งเป็น 1 ใน 11 ดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี (ภาพจาก Scott Sheppard, David Jewitt)

ที่มา: