สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ยานสตาร์ดัสต์เฉียดโลก

ยานสตาร์ดัสต์เฉียดโลก

7 ม.ค. 2544
รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด (wo)
เป็นเวลาเกือบสองปีหลังจากที่ยานสตาร์ดัสต์ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ยานได้เดินทางเข้ามาใกล้โลกอีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 มกราคม เวลาประมาณ 18.13 น. ตามเวลาในประเทศไทย เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกในการปรับวงโคจรเพื่อเดินทางไปเก็บตัวอย่างจากดาวหางวิลด์ ยานสตาร์ดัสต์เดินทางเข้ามาใกล้โลกด้วยระยะห่าง 6,000 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก บริเวณเหนือชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา ขณะที่ยานมีความเร็ว 36,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

หลังจากผ่านเฉียดโลกไปแล้ว ยานสตาร์ดัสต์โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 2.5 ปี และไปพบกับดาวหางวิลด์ ในเดือนมกราคม 2548 จากนั้นในวันที่ 15 มกราคม 2549 ยานจะเดินทางกลับมายังโลก และลงสู่พื้นโลกบริเวณทะเลทรายของรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา พร้อมกับตัวอย่างอนุภาคที่ได้จากดาวหางวิลด์ 2

เชื่อกันว่า ดาวหางเก็บความลับของสสารที่เกิดขึ้นมาในระหว่างการก่อตัวของระบบสุริยะ มันอาจเป็นผู้นำน้ำมายังโลก และเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบของการก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิต ยานสตาร์ดัสต์จะเป็นยานอวกาศลำแรกที่เก็บอนุภาคจากดาวหางกลับสู่โลก โดยจะเดินทางเข้าไปภายในระยะ 150 กิโลเมตรจากหัวดาวหาง ซึ่งประกอบด้วยหมอกของน้ำแข็งและฝุ่น

ติดตามความคืบหน้าของสตาร์ดัสต์ได้จาก http://stardust.jpl.nasa.gov
ภาพเส้นทางของยานสตาร์ดัสต์ ขณะผ่านเข้าใกล้โลก ถ่ายด้วยกล้องขนาด 0.3 เมตร ของหอสังเกตการณ์คามาริลโล ในแคลิฟอร์เนีย โดยจอห์น โรเจอร์

ภาพเส้นทางของยานสตาร์ดัสต์ ขณะผ่านเข้าใกล้โลก ถ่ายด้วยกล้องขนาด 0.3 เมตร ของหอสังเกตการณ์คามาริลโล ในแคลิฟอร์เนีย โดยจอห์น โรเจอร์

ที่มา: