สมาคมดาราศาสตร์ไทย

วัตถุแถบไคเปอร์ดวงใหม่ ใหญ่กว่าคารอน

วัตถุแถบไคเปอร์ดวงใหม่ ใหญ่กว่าคารอน

25 ก.ค. 2544
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์จากหอสังเกตการณ์โลเวลล์ เอ็มไอที และจากหอสังเกตการณ์แอลบีที ได้รายงานการค้นพบวัตถุวงแหวนไคเปอร์ดวงใหม่อีกดวงหนึ่ง ซึ่งถูกค้นพบเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 โดยกล้องโทรทรรศน์บลันโคขนาด เมตรในชิลี 

นับตั้งแต่ที่มีการค้นพบครั้งแรกในปี 2535 จนถึงปัจจุบันมีวัตถุแถบไคเปอร์ที่พบแล้วถึงกว่า 400 ดวง จนข่าวการค้นพบเริ่มกลายเป็นเรื่องปรกติ แต่ความพิเศษของการค้นพบครั้งนี้คือ วัตถุที่พบใหม่ดวงนี้มีความสว่างมากผิดปรกติ ซึ่งหมายความว่าน่าจะมีขนาดใหญ่มากด้วย 

วัตถุแถบไคเปอร์ดวงนี้มีชื่อว่า 2001 KX76 เส้นผ่านศูนย์กลางที่แท้จริงยังไม่สามารถวัดได้เนื่องจากยังไม่ทราบระยะห่างที่แน่นอนเพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับวงโคจรน้อย นอกจากนี้ขนาดยังขึ้นกับดรรชนีสะท้อนแสงของพื้นผิวด้วย หาก 2001 KX76 มีดรรชนีสะท้อนใกล้เคียงกับนิวเคลียสของดาวหางทั่วไปซึ่งมีค่าประมาณ เปอร์เซ็นต์ วัตถุดวงนี้ก็น่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,270 กิโลเมตร หรือใหญ่กว่าคารอน ดวงจันทร์ของพลูโตถึง 70 กิโลเมตร และใหญ่กว่า วรุณ (20000 Varuna) วัตถุแถบไคเปอร์ยักษ์ที่ถูกค้นพบก่อนหน้านี้ไม่นาน ซึ่งมีขนาดประมาณ 900 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม การศึกษาในย่านความถี่อินฟราเรดพบว่า วรุณมีดรรชนีสะท้อน เปอร์เซ็นต์ ถ้าหาก 2001 KX76 สะท้อนแสงได้เหมือนกับวรุณ มันก็น่าจะมีขนาดประมาณ 960 กิโลเมตร แต่ก็ยังคงเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดอยู่นั่นเอง 

นักดาราศาสตร์คาดว่า ความเร้นลับของ 2001 KX76 จะถูกเปิดเผยได้เมื่อ เซอร์ทิฟ (SIRTF) ดาวเทียมสำรวจในย่านรังสีอินฟราเรดขึ้นสู่อวกาศในปีหน้านี้

ขณะนี้ 2001 KX76 อยู่ในกลุ่มดาวแมงป่อง ห่างจากดวงอาทิตย์ 43 หน่วยดาราศาสตร์ แม้ว่ายังไม่ทราบวงโคจรที่แน่นอน แต่คาดว่าวัตถุดวงนี้มีคาบการโคจรที่กำทอนกับคาบการโคจรของเนปจูนด้วยอัตรา ต่อ  

ภาพการค้นพบ 2001 KX<sub>76</sub> ถ่ายเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 สร้างจากการซ้อนภาพสองภาพที่ถ่ายต่างเวลากัน จุดสีแดงคือตำแหน่งของ 2001 KX<sub>76</sub>ที่ถ่ายในภาพแรก จุดสีฟ้าคือตำแหน่งที่ถ่ายได้ในครั้งหลัง(ภาพจาก Deep Ecliptic Survey Team/NOAO/AURA/NSF)

ภาพการค้นพบ 2001 KX<sub>76</sub> ถ่ายเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 สร้างจากการซ้อนภาพสองภาพที่ถ่ายต่างเวลากัน จุดสีแดงคือตำแหน่งของ 2001 KX<sub>76</sub>ที่ถ่ายในภาพแรก จุดสีฟ้าคือตำแหน่งที่ถ่ายได้ในครั้งหลัง(ภาพจาก Deep Ecliptic Survey Team/NOAO/AURA/NSF)

ที่มา: