สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี

ดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี

1 ส.ค. 2543
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
วัตถุที่ดวงหนึ่งที่นักดาราศาสตร์เคยคิดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย กลับกลายเป็นดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี 

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม นักดาราศาสตร์ได้รายงานว่า ได้ค้นพบดวงจันทร์ดวงใหม่ของดาวพฤหัสบดี ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้ได้ถูกค้นพบเมื่อปลายปี 2542 ด้วยกล้องสเปซวอตช์ขนาด 0.9 เมตร บนยอดเขาคิตต์ พิก แอริโซนา ในขณะนั้น นักดาราศาสตร์คิดว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย จึงได้ชื่อแบบดาวเคราะห์น้อยว่า 1999 UX18 ในขณะนั้น นักดาราศาสตร์รู้สึกฉงนกับวัตถุดวงนี้พอสมควร เนื่องจากการเคลื่อนที่ของมันคล้ายกับดาวหางมากกว่าดาวเคราะห์น้อย 

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทิม สปาร์ จากศูนย์ดาวเคราะห์น้อย (Minor Planet Center) ในเคมบริดจ์ แมสซาชูเซตส์ต์ ได้สร้างแบบจำลองของวงโคจรด้วยคอมพิวเตอร์และได้พบว่า แบบจำลองที่ให้วัตถุดวงนี้เป็นดาวเคราะห์น้อยไม่ค่อยสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์ สปาร์ได้สังเกตว่า วัตถุนี้มีตำแหน่งใกล้กับดาวพฤหัสบดี จึงสันนิษฐานว่า การโคจรของวัตถุดวงนี้อาจถูกรบกวนจากดาวพฤหัสบดี หรือมันอาจเป็นบริวารของดาวพฤหัสบดีก็ได้ 

ภายหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมโดยใช้ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ในช่วงระหว่างวันที่ ตุลาคมถึงวันที่ พฤศจิกายน จึงได้รับการยืนยันว่า 1999 UX18 เป็นบริวารของดาวพฤหัสบดีจริง ๆ 

ดวงจันทร์ดวงนี้จึงได้ชื่อใหม่ว่า S/1999 J1 มีวงโคจรค่อนข้างรี รัศมีวงโคจรเฉลี่ย 24 ล้านกิโลเมตร โคจรถอยหลัง (โคจรในทิศทางกลับกับทิศทางของดาวเคราะห์) ด้วยคาบ 774 วัน 

ดวงจันทร์ดวงใหม่นี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง กิโลเมตรเท่านั้น นับว่าเป็นดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ และเป็นดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีดวงแรกที่ถูกค้นพบในรอบ 20 ปี 

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์ที่มีวงโคจรถอยหลัง ดวงรวมทั้งดวงใหม่นี้ด้วย (อีกสี่ดวงคือ อนันคี (Ananke), คาร์มี (Carme), พาสิฟี (Pasiphae) และ สิโนพี (Sinope)) นักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่า ดวงจันทร์ทั้งห้านี้ เป็นวัตถุแปลกปลอมจากที่อื่นที่ถูกดาวพฤหัสบดีคว้าจับเข้ามาเป็นบริวารในช่วงกำเนิดระบบสุริยะ 

การค้นพบนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ดาวพฤหัสบดีเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบ 12 ปี แต่ต่อจากนี้ดาวพฤหัสบดีจะอยู่ห่างจากโลกมากขึ้นดวงจันทร์ดวงใหม่ก็จะหรี่ลงด้วย ดังนั้นการติดตามสำรวจดวงจันทร์ใหม่ดวงนี้อาจจำเป็นต้องใช้กล้องที่ใหญ่ขึ้น 

การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ S/1999 J 1 (จุดสามจุดตรงกลางภาพ) ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์วีแอลทีของของหอสังเกตการณ์ซีกโลกใต้ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 (ภาพจาก ESO)

การเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ S/1999 J 1 (จุดสามจุดตรงกลางภาพ) ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์วีแอลทีของของหอสังเกตการณ์ซีกโลกใต้ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 (ภาพจาก ESO)

ที่มา: