สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ดาราจักรชนกันกลายเป็นเควซาร์

ดาราจักรชนกันกลายเป็นเควซาร์

1 ม.ค. 2542
รายงานโดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งได้รายงานเมื่อวันอังคารที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมาว่า การชนกันของดาราจักรกับเควซาร์มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด แนวคิดนี้อาจสามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดจึงมีการพบเควซาร์ในบริเวณใกล้เคียงกับดาราจักรทางช้างเผือก นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้ได้สำรวจโดยใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ VLA (Very Large Array) ที่อยู่ในนิวเม็กซิโกสำรวจและทำแผนที่แสดงการกระจายตัวของก๊าซไฮโดรเจนรอบ ๆ ดาราจักร ดาราจักรในละแวก 670 ถึง 830 ล้านปีแสงรอบ ๆ โลก 

ผลจากการสำรวจดาราจักรทั้งสามให้ข้อมูลตรงกันว่า เมื่อดาราจักรเหล่านี้มีการชนกับดาราจักรอื่น จะคล้าย ๆ กับว่าก๊าซไฮโดรเจนในดาราจักรจะสลายตัวไป ก๊าซที่สลายตัวไปนี้อาจเกิดจากการที่มันูกหลุมดำขนาดยักษ์ที่อยู่ในใจกลางของดาราจักรสวาปามเข้าไปในช่วงที่มีการเข้าชน ในขณะที่หลุมดำกำลังดูดกลืนก๊าซเหล่านี้ มันจะปล่อยพลังงานออกมามหาศาล หรืออยู่ในรูปที่เราเรียกว่า เควซาร์ นั่นเอง